เกษตรกรควนขนุน หันปลูก “ข้าวสังข์หยด” พันธุ์ดีสร้างชื่อ-รายได้งาม

เกษตรกรควนขนุน หันปลูก “ข้าวสังข์หยด” พันธุ์ดีสร้างชื่อ-รายได้งาม





Image
ad1

"สุจินทร์ สุขวิน" หนึ่งเกษตรกรอาชีพทำนาและกลุ่มวิชชาลัยรวงช้าว อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ผู้ผลิตข้าวสังข์หยดพัทลุงอินทรีย์ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 47 ที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ให้การสนับสนุนและอบรบมอบความรู้ สอบวิธีการทำนานแบบเกษตรอินทรีย์  มอบพันธุ์ข้าว เสมือนกับเป็นโรงเรียนชาวนา เพื่อให้เรียนรู้วิธีการทำนา ปลูกข้าวอย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการเกษตร จนสามารถทำนาปลูกข้าวขายกัน สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวสังข์หยดที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วภาคใต้และภาคอื่นๆ

จนกระทั่งปี 60 ชาวนาประสบอุทกภัยอย่างหนัก สร้างความเสียหายให้เกษตรกรผู้ทำปลูกข้าว จากนั้นต่อมาเริ่มขยายพันธุ์ข้าวมาปลูกข้าว กข.43 เพิ่มเติม พอชื่อเสียงข้าวสังข์หยดเป็นที่นิยมรับประทานของผู้บริโภคกันมาก เริ่มหันมาต่อยอดนำวัตถุดิบจากข้าวสังข์หยด หันมาแปรรูปทำสบู่ข้าว จมูกข้าว ข้าวยำกรอบ ขนมทองม้วน เพื่อที่สร้างรายได้เพิ่มนอกเหนือขายข้าวสารบรรจุถุงทั่วไป ชาวนาและแม่ค้าในชุมชนจะมีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอีกทางหนึ่ง

“ช่วงหลังๆมานี้ พอข้าวสังข์หยดมีชื่อเสียงขึ้นมา เกษตรกรหันมาปลูกกันมากขึ้น ไม่เพียงแค่จ.พัทลุง แถบจังหวัดใกล้เคียงนำไปปลูกกันมาก บางท้องที่ได้ผลิตดี  แต่สิ่งสำคัญ สายพันธุ์ที่ดีต้องมาจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงรับรอง เนื่องจากข้าวพื้นบ้านประเภทนี้ แหล่งทำนาปลูกข้าวจะต้องมาจากแหล่งพัทลุง เนื่องสภาพดิน อากาศ น้ำ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการปลูกข้าวให้ได้ข้าวสังข์หยดพันธุ์ดี  มีคุณค่าทางอาหารที่สูง” สุจินทร์กล่าว
     
สำหรับเกษตรกรปลูกข้าวสังข์หยดที่มีการรวมตัวสร้างกลุ่มขึ้นมา เพื่อที่ลดความเหลื่อมล้ำ สามารถควบคุมราคาได้ และยังเป็นระบบการเชื่อมโยงถึงผู้บริโภคกับชาวนาโดยตรง  ซึ่งช่วงหลังๆมานี้ ชาวนาที่ปลูกข้าวค่อนข้าวได้ราคาดี ปีนี้ขายกันเกวียนละ 2 หมื่นบาท   แต่ต้องยอมรับว่าปีหลังๆมานี้ ชาวนาประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมเกิดขึ้นเกือบทุกปี ส่งผลกระทบต่อการทำนาของเกษตรกรอย่างมาก

“ข้าวสังข์หยด” ที่มาจากแหล่งพื้นที่พัทลุง ได้รับสิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แสดงถึงเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตเจาะจง ที่มีคุณภาพและชื่อเสียงของข้าวสังข์หยด เป็นตราของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งข้อดี ของข้าวสังข์หยด กลุ่มวิชชาลัยรวงข้าว คือ ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก อีกทั้ง ยังรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรจังหวัด ,กรมพัฒนาชุมชน และมูลนิธิเกษตรยั่งยืนร่วมมือกัน 
    
สุจินทร์  กล่าวตอนท้ายว่า ในอนาคตจะพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น อย่างข้าวเล็บนกดำ เป็นข้าวสายพันธุ์ท้องถิ่น และยังมีสายพันธุ์อื่นๆอีกมากมาย อย่างในปัจจุบันยังมีสายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อย่าข้าวดอกพะยอม จนพัทลุงกลายเป็น วิชชาลัย รวงข้าว ตั้งอยู่ที่อ.ควนขนุน ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการทำกสิกรรม จนกลายเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแถบนี้คือ การทำนา เน้นวิธีการเพาะปลูกเพื่อขาย