เครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ ถอนตัวเบ็ดเสร็จจาก สกท.เตรียมจัดตั้งใหม่ผลักดันนโยบายเกษตรกร


เครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ ถอนตัวเบ็ดเสร็จจาก สกท. มีสมาชิกจำนวนกว่า 2,000 คนทั่วภาคใต้ จัดตั้งใหม่เพื่อผลักดันนโยบายเกษตรกร ระบุ สิทธิชาวสวนยางเพียบ ทั้งเงินสงเคราะห์ เงินประกัน เงินกู้ สร้างโรงงาน ใช้งบซื้อปลาหมอคางดำ 70 จุด เพื่อแปรรูปทำปุ๋ยน้ำหมักคืนจ่ายชาวสวนยาง
นายดรณ์ พุมมาลี ผู้แทนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และผู้ประสานงานเครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ เปิดเผยว่า เครือข่ายคนกรีดยางฯภาคใต้ ได้ถอนตัวออกจากเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท) โดยมาจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะเป็นกลุ่มเครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้
ทั้งนี้วัตถุประสงค์ เป้าหมายเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้เข้าถึงสิทธิ์ทางกฎหมายตามที่กำหนด และสร้างสรรค์ความความรู้ความเข้าใจระหว่างกันถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ โดยจะมีการประชุมประจำทุกเดือน เพื่อจะได้นำปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆ
นายดรณ์ กล่าวว่า เครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ มีสมาชิกเครือข่ายคนกรีดยางทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ เบื้องต้นประมาณกว่า 2,000 คน โดยตนจะทำหน่าที่เป็นผู้ประสาน และสมาชิกเครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็น สมาชิก กฟก.
นายดรณ์ กล่าวว่า สำหรับ สกท. ได้รวมตัวกันเพื่อทำนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่ได้บทสรุปมาจากการประชุมสัมมนาถึงประเด็นต่างจากเกษตรกรทั่วประเทศ แล้วให้ สกท.ผลักดันนำเสนอต่อทางการ รัฐบาล
นายดรณ์ กล่าวว่า ในขณะเดียวกันเมื่อมาเป็นเครือข่ายคนกรีดยางฯ ภาคใต้ ก็สามารถประชุมสัมนนาเกษตรกรแล้วสรุปทำโครงการนโยบายจะสามารถนำเสนอต่อทางการและรัฐบาลเช่นเดียวกันได้โดยตรง
ทางด้านนายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ กรรมการและประชาสัมพันธ์สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ตามมาตรา 49 ที่ได้ให้สิทธิเกษตรกรชาวสวนไว้จำนวนมากมาก เช่น การของบประมาณลงทุนเกี่ยวกับยาง การปรับปรุงพัฒนา สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนยาง กลุ่มยาง โรงงานยาง โดยการของบประมาณประมาณ 300,000 บาท / ราย พร้อมมีเงินสวัสดิการสงเคราะห์ เช่น ค่าเสียชีวิต 30,000 บาท และให้สิทธิการประกันชีวิต สิทธิการขอกู้ยืม สิทธิการประชุม การดูแลงาน และสิทธิการศึกษา ฯลฯ
นายประยูสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สิทธิการศึกษาได้ให้ทุนการศึกษาจนจบ จำนวน 10 ทุน / ปี โดยปีนี้จบการศึกษาจำนวน 10 คน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.) คณะเทคโลโลยีการยาง ฯลฯ ส่วนสิทธิประกันชีวิตปีละหลายร้อยล้านบาท
“ในขณะเดียวกันปีนี้ทาง กยท. ได้ใช้งบประมาณซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเป็นอาหารเสริมให้พืชทุกชนิดนอกจากยาง ทั้งนี้เพื่อมาคืนและขายให้กับเกษตรกร สำหรับการเปิดรับซื้อปลาหมอคางดำจำนวน 70 จุด ที่เป็นจุดระบาดของปลาหมอคางดำทั้งสิ้น”.