พัทลุงเข้าสู่ยุค “สังคมผู้สูงวัย”เต็มตัว พบผู้มีอายุทะลุ 100 ปี กว่า 250 คน


พัทลุงแห่เข้าสู่ “ยุคคนผู้สูงวัย”พัฒนาสังคมพัทลุง ตะลึงมี อายุทะลุ 100 ปี กว่า 250 คน นั่งไม่ได้ร่วมสนธิกำลังเทศบาลตำบลควนเสาธง ลุยเปิดเกมรณรงค์แจงที่ถึงสิทธิที่ได้รับจากรัฐบาล พร้อมลุยเทให้กู้ทำทุนต่อยอดในการประกอบอาชีพ มีวงเงินกู้เป็นกลุ่ม 100,000 บาท เป็นรายบุคคล 30,000 บาท เทศบาลเปิดชมรมผู้สูงอายุรองรับ ชมรมเริ่มสยายปีกจากผู้สูงอายุในโซนประมาณ 1,200 คน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 ตุลาคม 2567 นายหร้อเหม นวลดำ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2567 ที่สำนักงานเทศบาลตำบลควนเสาธง มีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.พัทลุง และชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลควนเสาธง.
นายหร้อหีม กล่าวว่า โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลควนเสาธง สำนักงานพัฒนาสังและพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลควนเสาธง โดยมีสมาชิกชมรมกว่า 100 คน ซึ่งได้ก่อตั้งและได้ขับเคลื่อนมาแล้วร่วม 3 ปี ซึ่งขณะนี้ในเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง มีผู้สูงอายุประมาณ 1,200 คน จาก 11 หมู่บ้าน และทางเทศบาลกำลังได้จัดโครงการต่าง ๆ เพื่อนำผู้สูงอายุออกนอกพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานจากพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้นำมาประยุกต์พัฒนาใช้ในพื้นที่ และนอกนั้นจะยังโครงการกิจกรรมที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะได้ดำเนินการกันต่อไป
ทางด้านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.พัทลุง (พม.) ระบุ ว่า จ.พัทลุง ในประเด็นเรื่องผู้สูงอายุนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเป็นจังหวัดแรกของ 14 จังหวัดภาคใต้ จึงจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้มีจากข้อมูลของวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ว่ามีประชากรจำนวน 520,598 คน และปรากฏว่าต่อมา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยข้อมูลของสำนักงาน พม.พัทลุง ได้มีผู้สูงอายุถึงประมาณ 110,156 คน หรือเท่ากับประมาณ 21 %.16 ซึ่งเป็นชายประมาณ 47,000 คน และเป็นหญิงกว่า 60,000 คน
อีกทั้งยังมีผู้สูงอายุถึง 100 ปี ถึงจำนวน 269 คนด้วย ส่วนผู้สูงอายุประเภทติดเตียงมีประมาณ 780 ราย ประเภทอยู่บ้านอีกกว่า 2,400 ราย และนอกนั้นจะเป็นผู้สูงอายุประเภทติดสังคมกว่า 82,000 ราย ซึ่งผู้สูงอายุต่างได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 97,862 คน
“สำหรับ จ.พัทลุง เรื่องผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวเป็น 100 ปี ยังมีอยู่จำนวนมากนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง”
พัฒนาสังคม ยังกล่าวอีกว่า พูดถึงผู้สูงอายุปัจจุบัน รัฐบาลจะให้สิทธิต่าง ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือ โดยมีทั้งเงินสงเคราะห์ และสนับสนุนสิ่งของ เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน ฯลฯ และยังมีมาตรการการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกจำนวนหนึ่งประมาณ 2,000 - 3,000 บาท
และตลอดจนถึงเงินสนับสนุนในการต่อยอดในการประกอบอาชีพ โดยให้กู้ยืมไม่มีดอกเบี้ยหรือปลอดดอกเบี้ยคือดอกเบี้ยเป็น 0 % ทั้งนี้สามารถจะจัดตั้งกลุ่มก้อนเพื่อกู้เงินเป็นกลุ่มก็จะได้จำนวน 100,.000 บาท และถ้าเป็นกู้รายบุคคล ก็จะกู้ได้จำนวน 30,000 บาท
พัฒนาสังคม ยังกลาวอีกว่า และยังมีโครงการสนับสนุนช่วยเหลือในการปรังปรุงซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้เปราะบางคนยากจน รายละ 40,000 บาทอีก นอกนั้นยังมีรายการช่วยเหลืออีกมาก ฯลฯ
“ผู้สูงอายุในส่วนต้องการจะกู้เงินเพื่อต่อยอดในการประกอบอาชีพ สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้สูงอายุใช้บริการอยู่จำนวนหนึ่ง คือยอดสะสมลูกหนี้ขณะนี้มีประมาณ 236 ราย โดยมีลูกหนี้ที่มีความสามารถชำระได้ตามปกติอยู่ จำนวน 95 ราย ส่วนลูกหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ประมาณ 141 ราย และก็เกิดมีลูกหนี้ใหม่ในปี 2567 จำนวน 32 ราย ทั้งเมื่อกู้แล้ว ก็จะต้องทยอยชำระคืนภายใน 3 ปี”