มติ กสม.ให้ยุติ-ยกเครื่องใหม่ “โครงการอ่างเก็บน้ำ-ขุดลอกคลองพัทลุง”ออกแบบใหม่เสนอรัฐบาล

มติ กสม.ให้ยุติ-ยกเครื่องใหม่ “โครงการอ่างเก็บน้ำ-ขุดลอกคลองพัทลุง”ออกแบบใหม่เสนอรัฐบาล





Image
ad1

มติ กสม.ให้ยุติโครงการ-ยกเครื่องใหม่ “โครงการอ่างเก็บน้ำ-ขุดลอกคลองพัทลุง” ออกแบบใหม่เสนอรัฐบาล ระดมตั้งกลุ่มอนุรักษ์น้ำพร้อมตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดภาคประชาชน 50/50  

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 รายงานข่าวจากจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการประชุมรับฟังข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของประชาชน ภาคประชาสังคม และจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 หน่วย เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.พัทลุง ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 

โดยมีนางปรีดา คงแป้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน นายไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาและคณะ กสม. โดย รศ.ดร.ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณพัทลุง กล่าวเปิดงาน โดยระบุว่า สภาพการมีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะชุดความจริงได้ที่ได้ศึกษาวิจัย จึงต้องมีความเปลี่ยนไป ดังนั้นที่สุดชุดความจริงจึงมีทางเลือกในการจัดทำ ศึกษา วิจัยโดยเฉพาะชุดความจริงเรื่องทรัพยากรก็สามารถดำเนินการพัฒนาได้ ทั้งองค์ความรู้ชุมชน พร้อมทำการศึกษา วิจัย ซึ่งในส่วนนี้ทางมหาวิทยาลัยทักษิณพัทลุง ก็มีความพร้อมที่จะเข้าในการดำเนินการได้ 

นายไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษา กสม. กล่าวว่า จ.พัทลุง มีคลองสายน้ำจำนวน 7 สาย จากต้นน้ำเทือกเขาบรรทัดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า  ดังนั้นในการจัดทำจัดการการบริหารน้ำจะต้องมาพูดคุยกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคประชาชนภาคประชาสังคม 

ทั้งนี้เรื่องสิทธิชุมชน กรณีร้องเรียนว่าโครงการขุดลอกลำน้ำในพื้นที่ จ.พัทลุง ดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้านและอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมวิถีชุมชน   เนื่องจากทางกรมชลประทานได้มีโครงการขุดลอกคลองส้านแดงจำนวน 17 กิโลเมตรเขตเทศบาลตำบลควนเสาธง  ต.แม่ขรี คลองหัวข้าง 6 กิโลเมตร เขตเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง เพื่อระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง ซึ่งมีพื้นที่ 3,500 ไร่ บรรจุน้ำได้ 30 ล้าน ลบ. 
โครงการระบายน้ำโดยการขุดลองคลองโดยใช้งบประมาณจำนวน 750 ล้านบาท พร้อมค่าเวนคืน ฯลฯ  ในโครงการได้มีความเห็นคัดค้านจากประชาชน ทั้งนี้เพื่อคงอนุรักษ์ไว้จากสภาพสายคลองยังมีความอุมดมสมบูร์ทางระบบธรรมชาติ ภูมินิเวศน์ และหากมีการขุดลอกแล้ววิตกจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต 

นอกนั้นยังมีจำนวนถึง 20 โครงการที่อยู่ในแผนที่สามารถจะดึงจะพัฒนาแหล่งน้ำการสร้างอ่างเก็บน้ำการขุดลอกได้ เมื่อคราวมีความจำเป็น และสำหรับอ่างเก็บน้ำได้สร้างเสร็จแล้วและมีการใช้น้ำอุปโภค บริโภค เช่น  อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน อ.ป่าพะยอม และโครงการอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่ยังจะดำเนินการในโครงการต่อไปก็ได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ เช่น อ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว ต.หนองธง อ.ป่าบอน ฯลฯ  

“ที่ผ่านมาประเด้นสำคัญการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐที่จะได้เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ประชาชนจึงไม่ได้รับรู้ข้อเท็จจริง ข้อดีข้อเสียผลกระทบที่ได้และเสีย  ทั้งนี้โครงการที่ผ่านมาที่ได้ดำเนินการแล้ว แต่ประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์บางส่วนในพื้นที่  นอกนั้นยังได้สร้างความเสีหายทางระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต่างได้ถอดบทเรียน จึงมีให้มีการคัดค้านเกิดขึ้น”

ทาง กสม.จึงได้ดำเนินการตามคำร้องของประชาชนในพื้นที่ที่มีการขุดลอกคลองสายน้ำ จึงได้รับข้อมูลว่าประชาชนไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงรอบด้านทุกมิติ ถึงผลกระทบถึงข้อดีข้อเสีย จึงมีการนำเสนอการจัดการบริหารน้ำจะต้องกระทำทุกด้านทุกมิติจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายครบถ้วน และร่วมร่วมกันออกแบบระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน

ทั้งนี้ในที่ประชุมรับฟังคามคิดเห็นยังได้มีข้อเสนอว่า ให้มีการจัดตั้งอนุคณะกรรมการทรัพยากรจังหวัด โดยให้ภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการ 50 / 50 สำหรับอ่างเก็บน้ำขุดลอกคลองสายน้ำ ให้มีการยุติโครงการไปก่อน ส่วนที่ความจำเป็นเร่งด่วนดังความต้องการของประชาชนเนื่องจากมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ เรื่องปากท้องในพื้นที่ เช่น การขุดลอกสายน้ำในพื้นที่ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง  

ในการับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทุกหน่วยรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน ทาง กสม.จะจัดทำแล้วเสร็จะนำเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไป พร้อมทำเป็นเอกสารถึงผู้เข้าร่วมทุกคน เพื่อนำไปศึกษาพิจารณา ทางน้ำสมาชิกสภาน้ำจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สำหรับการผลการประชุมรับรับฟังฯ จากทุกฝ่ายโครงการอ่างเก็บน้ำการขุดลอกคองเมื่อทาง กสม.ได้นำเสนอไปยังรัฐบาลแล้ว หากว่ารัฐบาลตีกตกหรือไม่รับไปดำเนินการ กลุ่มประชาชน สภาน้ำ จ.พัทลุง และเครือข่าย ก็จะเดินทางไปทวงถามที่หน้าทำเนียบรัฐบาลต่อไป

รายงานข่าวว่า ผลจากการโครงการรับฟัง ซึ่งทางสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 ได้ให้รายละเอียดเรื่อทรัพยากรน้ำ โดยประชาชนสามารถที่จะรวมตัวกันกลุ่มละ 30 คน จะสามารถขดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์น้ำในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์น้ำรักษาไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และยังสามารถประสานงานทำข้อเสนอแนะ  ฯลฯ

สำหรับการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์น้ำ ส่งผลให้ประชาชนมีความตื่นตัว ซึ่งถัดไปก็จะมีการเคลื่อนไหวจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์น้ำในพื้นที่กันอย่างกว้างขวางทั่วทั้ง จ.พัทลุง.

หมายเหตุ ในการประชุมรับฟังคามคิดเห็นข้อมูล ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน มีเข้าร่วมประมาณกว่า 100 คน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เลิกประมาณ 16.00 น. ภายในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเข้มข้นมากระหว่างฝ่ายรัฐ โดย กอ.รมน.จังหวัดพัทลุง และภาคประชาชน แต่ คณะ กสม.สามารถควบคุมการประชุมรับฟังได้ดี จนทุกฝ่ายเข้ารูปเข้ารอย รับฟังและข้อเสนอแนะที่ดี  ฝ่าย กอ.รมน.ทำท่าจะขึ้นเสียง