9 ปี พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

9 ปี พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557





ad1

สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจ หลังกม.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2557

ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) เปิดเผยว่า สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย  (TSPCA) และองค์กรเครือข่าย ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการบังคับใช้ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557  โดยได้สำรวจความคิดเห็น จากผู้เข้าร่วมสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน เช่น สมาคมสงเคราะห์สัตว์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ล้านนาด็อกเวลแฟร์ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)  วุฒิสภา สโมสรลูกเสือสวัสดิภาพสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปศุสัตว์จังหวัดปราจีนบุรี

สำนักนิติการ กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ มูลนิธิเพื่อนช้าง มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ชมรมคนรักช้างป่า ชมรมรักสัตว์ OCD ชมรมปลาทะเลไทย สมาคมเครือข่ายโคเนื้อ จำกัด บ้านรักสัตว์บางพลี กลุ่มรักษ์คลองสาน สมาคมแมวไทยจดทะเบียน FOUR-PAWS International-Thailand) มูลนิธิศักยภาพชุมชน กลุ่มสิทธิและโอกาสสัตว์ โรงเรียนเมืองปราจีนบุรี โรงเรียนบ้านคลองสิบสอง โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์ สำนักกฎหมายเพื่อสังคม ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ (ปราจีน) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เป็นต้น

ทั้งนี้ มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นอกจากนั้น ยังได้มีการระดมสมอง (Brainstorm) จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งด้านกฎหมาย การสัตวแพทย์ เพื่อรวบรวมสรุปเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมาย ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร เพื่อให้การทำงานด้านการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์มีประสิทธิภาพประสิทธิผลการบังคับใช้กฎหมายสูงสุดต่อไป

ผลการสำรวยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ควรเสนอเพิ่มเติมสัตว์ที่อาศัยในธรรมชาติให้คุ้มครองมากกว่าสัตว์ 5 ชนิด  เห็นด้วย 96.7 % เช่น ควรเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าบางชนิดที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและใช้ประโยชน์และสัตว์ในธรรมชาติที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ เช่น ลิง  ช้าง เต่า นก วาฬ โลมา รวมทั้งสัตว์นำเข้าด้วย เช่น อุรังอุตัง สิงโตทะเล ฯ และสัตว์นำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ไม่เห็นด้วย 3.3 %  เช่น กรมอุทยานฯ มีบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าทั้งหมดและได้รับการคุ้มครองอยู่แล้ว เกรงว่าจะซ้ำซ้อนและไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ข้อเสนอแนะ ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ พ.ศ.2561 (ฉบับที่ 2 เพิ่มเติม)

2. การระบุความชัดเจนของความเป็นเจ้าของสัตว์  ในกรณีสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ แต่อาจมีบุคคลที่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูสัตว์เป็นประจำ รวมทั้งการเสนอความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์ ในการสร้างความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น   เห็นด้วย 55 % เช่น เจ้าของต้องมีความชัดเจน ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควรมีระเบียบปฏิบัติ และช่วยเหลือที่ชัดเจนจากภาครัฐ  ถ้าเป็นเจ้าของควรให้เจ้าของนำสัตว์ไปจดทะเบียน ฝังไมโครชิพ ถ้าไม่จดแสดงว่าไม่ใช่เจ้าของ ผู้ให้อาหารกับสัตว์จรจัด ควรดำเนินการประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำหมัน ฉีดวัคซีน อื่นๆ เพื่อควบคุมจำนวนประชากรด้วย  ไม่เห็นด้วย 45 % 

เช่น เป็นการเพิ่มภาระความรับผิดชอบให้กับผู้ที่ให้อาหารสัตว์ สัตว์ที่ถูกทอดทิ้งต้องเคยมีเจ้าของแล้วถูกทอดทิ้ง ผู้ให้อาหารและที่พักเป็นเพียงผู้ช่วยสงเคราะห์เพราะมีเมตตาต่อสัตว์ร่วมโลก ผู้ให้อาหารเพราะสงสาร ซึ่งถือว่าเป็นความเมตตาและช่วยไม่ให้สัตว์หิวกระหาย สำหรับแนวความคิดที่ให้ผู้ให้อาหารสัตว์ประจำควรรับผิดชอบในฐานะเจ้าของเป็นแนวคิดที่ negative เพื่อลงโทษผู้ให้ ไม่ใช่ทางออก ซึ่งทางที่ดี อาจจะขอความร่วมมือ ให้คนกลุ่มนี้ช่วยจับสัตว์เพื่อนำไปทำหมัน และจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า ข้อเสนอแนะ เช่น ควรจัดระเบียบ จัดฝึกอบรม ลงทะเบียนผู้ให้อาหารสัตว์และกำหนดขอบเขตของหน้าที่ ที่สามารถทำได้อย่างเป็นระเบียบและมีการตรวจสอบได้ ไม่ควรห้ามให้อาหารแต่ควรลงทะเบียนจัดฝึกอบรม และส่งเสริมผู้ให้อาหารสัตว์ที่ลงทะเบียนแล้ว เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะช่วยดูแลความเรียบร้อย

3. เจ้าของสัตว์ที่มีเจตนาและพฤติกรรมในการปล่อยปละละเลย ปล่อยให้สัตว์ของตนไปสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น ควรต้องรับผิดชอบตาม พระราชบัญญัตินี้ด้วย เห็นด้วย 100 % เช่น เจ้าของสัตว์ต้องเลี้ยงสัตว์ตนเองอย่างรับผิดชอบ เพื่อสวัสดิภาพของตัวสัตว์เอง และไม่ควรละเมิดผู้อื่น เพราะเวลาเกิดเหตุ เจ้าของสัตว์มักหลบหนี หรือไม่แสดงตน  เจ้าของสัตว์จึงต้องรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น ต่อสัตว์ และสังคมส่วนรวมตามสมควรแก่เหตุที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะ นำกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบปรับใช้

4. เจ้าของสัตว์หรือผู้ครอบครองสัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น สุนัขดุร้าย ต้องนำสุนัขไปจดทะเบียน เพื่อควบคุมการเลี้ยงและสร้างความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายให้กับผู้อื่น เห็นด้วย 82 % เช่น  สัตว์เลี้ยงที่ดุร้ายจะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของ ตัวสุนัข และผู้อื่น  ควรทำคู่มือการดูแลสัตว์ดุร้ายพร้อมบทกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับผู้ที่เป็นเจ้าของสัตว์ที่ดุร้าย ต้องมีข้อบังคับให้จดทะเบียนเป็นเจ้าของสัตว์ทั้งหมดและจะต้องรับผิดชอบต่อสัตว์ และควรเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ขายสุนัขนั้นๆ  ไม่เห็นด้วย 18 % เช่น อาจเป็นการเพิ่มขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพิ่มภาระและอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรมีออกประกาศเรื่อง การจัดสวัสดิภาพสุนัขดุร้าย เจ้าของสัตว์ ต้องนำสัตว์เลี้ยงของตนบางชนิด จดทะเบียน เช่น สัตว์เลี้ยงควบคุมพิเศษ สัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายหรือสัตว์อื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด การขึ้นทะเบียนสัตว์บางชนิด  นำการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี สารสนเทศร่วม สนับสนุน

5. ควรเพิ่มเติม ข้าราชการตำรวจ เข้าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พระราชบัญญัตินี้  เห็นด้วย 86.7 %  เช่น ข้าราชการ ตำรวจมีความรู้ความเข้าใจและมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้อย่างเข้าใจ สามารถตัดสินใจเข้าไปแก้ไขได้ทันที ตำรวจสามารถบังคับใช้กฎหมายและจับกุมได้โดยตรง ไม่เห็นด้วย 13.3 % เช่น ควรให้เป็นอำนาจของปกครองและท้องถิ่น ควรเพิ่มอาสาหรือองค์กรที่มีคุณภาพเข้ามีส่วนร่วม ตำรวจมีงานอื่นๆเยอะ และไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทรมานสัตว์ รับแจ้งความได้แต่ปฏิบัติอย่างอื่นนั้นไม่ควร เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์รับผิดชอบอยู่แล้ว จะเป็นการทำงานที่ทับซ้อน

6. ควรเพิ่มข้าราชการกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแล เรื่องสัตว์ป่า เห็นด้วย 80.7 % เช่น เพราะพื้นที่กรมอุทยานฯ มีขนาดใหญ่และเชื่อมต่อกับพื้นที่เพื่อนบ้าน ที่ลักลอบเข้ามาล่าสัตว์  และที่สำคัญสัตว์ป่าออกมานอกพื้นที่ป่ามากยิ่งขึ้น และมีการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เช่น เสือ จระเข้ งู ลิง ช้าง เป็นต้น ถ้าเป็นสัตว์น้ำควรเพิ่มเจ้าหน้าที่กรมประมงด้วย  ไม่เห็นด้วย 19.3 % เช่น เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานมีภาระหน้าที่งานปัจจุบันจำนวนมากอยู่แล้วอาจเกิดการทับซ้อนของอำนาจและการปฏิบัติรวมทั้งกฎหมาย  ข้อเสนอแนะ เช่น ควรใช้เทคโนโลยีเข้าไปแทนที่  ใช้กล้อง ใช้โดรนแล้วระบุพิกัด ชาวบ้านใช้ App สื่อสาร ควรเพิ่มอาสาหรือองค์กรที่มีคุณภาพเข้ามีส่วนร่วม  มีทีมงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ และสามารถดำเนินการได้ ควรมีการอบรมความรู้ความเข้าใจ ให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ถึงคุณค่าของสัตว์ป่า

7. ควรมีการแต่งตั้งบุคคลที่ผ่านการฝึกอบรม เข้าเป็นผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งสามารถดำเนินการทางคดี ร้องทุกข์กล่าวโทษได้  เห็นด้วย 93.3 % เช่น จะได้มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ มาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดทำคู่มือต้องมีการคัดเลือกบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม จะได้ช่วยเป็นหูเป็นตาและช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่  ไม่เห็นด้วย 6.7 % เช่น ไม่จำเป็น บุคคลทั่วไปสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้อยู่แล้ว

8. ควรมีการระบุให้ชัดเจนถึงการกระทำที่สมควร ในการตอบโต้ ในกรณีบุคคลหรือบุคคลอื่น มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายจากการทำร้ายของสัตว์  เห็นด้วย 70.5 % เช่น เพื่อประโยชน์ของมนุษย์และตัวสัตว์ ในการระบุการป้องกันอันตรายได้ในลักษณะต่างๆที่เกิดขึ้น อาจระบุเพิ่มเติมว่า ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า เนื่องจากอาจเกิดเหตุโดยไม่ทันระวังถึงความรุนแรงที่จะเกิดจากการป้องกันตัว จะได้มีความชัดเจนในการปฏิบัติ โดยเป็นการสมควรแก่เหตุ ไม่เห็นด้วย 29.5 % เช่น ไม่จำเป็นเพราะมีหลักการของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว

นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น  การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่วัยเรียนจนถึงวัยทำงานในทุกๆภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเกี่ยวกับสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย การปฏิบัติใช้กฎหมาย ควรมีจัดทำคู่มือภาคประชาชน เพื่อให้รับทราบและตระหนักถึงขอบข่ายของกฎหมายฉบับนี้ สัตว์ที่นำเข้าและที่มีอยู่ในประเทศ มีหลากหลายชนิด จะช่วยเหลือหรือดูแลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เวลาไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับบุคคลที่ทารุณสัตว์ มักจะไม่ค่อยได้รับความสะดวก ไม่เข้าใจกฎหมาย ทำให้การดำเนินคดีไม่เกิดขึ้น ควรมีการอบรม ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และพิจารณาบทลงโทษ ให้สอดคล้องกับเจตนาและวิถีทางในการดำรงชีวิตของประชาชน ปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกรักสัตว์อย่างรับผิดชอบ ควรใช้ระบบภาษี เข้ามาบริหารจัดการ ควรเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ของกลางที่ถูกตรวจยึด เนื่องจากการกระทำความผิดและรอผลของการตัดสินพิพากษาคดี โดยให้เอกชนที่มีความพร้อมหรืออาสารับไปดูแลเลี้ยงดูจัดสวัสดิภาพได้ ตามความเหมาะสม เป็นต้น

สำหรับ ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับมาตรการอื่นทางสังคม เช่น ปัญหาการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ นับวันจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ ควรมีหน่วยงาน ทำงานเฉพาะเรื่องสัตว์โดยตรง ในการให้คำปรึกษา รับข้อร้องเรียน ดำเนินคดี ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ควรให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาและส่งเสริมกฎหมายลำดับรอง ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุน ในการจัดสวัสดิภาพสัตว์ชุมชนเพิ่มขึ้น ที่สำคัญควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และควรมีกรรมการที่มีสัดส่วนจากภาคเอกชนมากขึ้น ในคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ถึงจะขับเคลื่อนคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

อย่างไรก็ตาม ปัจุบันองค์กรภาคเอกชนค่อนข้างจะตื่นตัว ควรจะมีการฝึกอบรม สัมมนาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้องค์ความรู้ด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ รวมทั้ง one health สุขภาพหนึ่งเดียว ที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะสัตวแพทย์ สัตวบาล เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ แต่มีภาคส่วนอื่นๆ เช่น สื่อมวลชน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นต้น ควรจะมีการผลักดันให้จัดตั้งคณะกรรมการในระดับท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล ตำบล อบต. มีความใกล้ชิดกับชุมชน ในพื้นที่ ควรจะมีการกระจายอำนาจให้ อบต. เทศบาล สามารถจัดงบ หรือมีงบในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ การดูแลสัตว์ในพื้นที่ เป็นต้น

ดังนั้น ตลอดระยะเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า สำหรับตัวบทรายมาตราตามพระราชบัญญัติปัจจุบันนั้น ค่อนข้างครอบคลุม ชัดเจน และปกป้องการทารุณกรรมและการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีแล้ว  แต่ขาดการนำสู่ปฏิบัติบังคับใช้ที่จริงจัง  การเพิ่มเติมหรือขยายองค์ป