คนแก่พุ่ง แรกเกิดลด รพ.ศรีสะเกษ หนุนพ่อแม่มือใหม่มีบุตรเพิ่ม

คนแก่พุ่ง แรกเกิดลด รพ.ศรีสะเกษ หนุนพ่อแม่มือใหม่มีบุตรเพิ่ม





ad1

โรงพยาบาลศรีสะเกษ เปิดคลินิกส่งเสริมให้พ่อแม่มีบุตรเพิ่ม เพื่อเพิ่มแรงงาน เพิ่มผลผลิต เพิ่มภาษีหลังไทยประสบปัญหาเด็กเกิดใหม่ลดลง

เมื่อวันที่ 30 พฤจิกายน 2566 เวลา 8.30 น ที่ ห้องตรวจสูติ-นรีเวช อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 2โรงพยาบาลศรีสะเกษ นายแพทยฺ์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 10 เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดคลินิกส่งเสริมให้มีบุตรเพิ่มมากขึ้น

นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ กล่าวรายงานว่า ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเนื่องจากประชากรวัยทำงานและเด็กกำลังมีสัดส่วนลดลงเพราะเด็กเกิดน้อยลงโดยตลอดในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา สาเหตุหลักมาจากปัญหาเศรษฐกิจและค่านิยมที่มีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โรงพยาบาลมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโรงพยาบาลศรีสะเกษได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดตั้งส่งเสริมการมีบุตร(Fertility clinic)ขึ้น

นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ

โดยให้มีบริการดังนี้ การให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรการวางแผนครอบครัวประเมินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อเพิ่มการตั้งครรภ์ การประเมินสาเหตุ การกระตุ้นไข่และเหนี่ยวนำการตกไข่ การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก (CUI,:Intrauterine insemination)

นายแพทยฺ์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 10

ขณะที่นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน กล่าวว่า จากข้อมูลจากสติสาธารณสุขปี 2565 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงเหลือเพียง 485,085 คน ซึ่งเป็นจำนวนการเกิดที่ต่ำที่สุด และเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ตามกว่า 500,000 คน สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 มีประชากรผู้สูงอายุถึงกว่า 12 ล้านคน เด็กที่เกิดน้อยและสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น หมายถึงจำนวนแรงงานของประเทศที่ลดน้อยลง  ย่อมส่งผลต่อกำลังการผลิตที่ลดลง  ผลผลิตโดยรวมของประเทศที่ลดลงรายได้และการจัดเก็บภาษีที่ลดลง ดังนั้นจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างมากและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง

ทั้งนี้การส่งเสริมให้เด็กเกิดหรือเพิ่มประชากรต้องคำนึงถึงการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพสร้างระบบที่ดีและเอื้อต่อการเลี้ยงดูเด็กเพื่อยกระดับประชากรให้เติบโตเป็นแรงงานที่มีคุณภาพมีระบบที่ทำให้ประชาชนมีความมั่นคงทางการเงินเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมในสังคมที่ดีและเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุก็มีระบบการดูแลที่ดีไปจนกระทั่งเสียชีวิตทั้งหมดนี้นำมาสู่ความจำเป็นในการจัดทำนโยบายส่งเสริมการมีบุตรที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน