จังหวัดชลบุรีประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาจังหวัดสร้างการรับรู้และเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางการพัฒนาจังหวัด

จังหวัดชลบุรีประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาจังหวัดสร้างการรับรู้และเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางการพัฒนาจังหวัด





ad1

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 11 กันยายน 2566  ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2566 - 2570 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อทบทวน ปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้มีความสอดคล้องกับโอกาสและศักยภาพของจังหวัด ปัญหาและความต้องการของประชาชนแผนระดับต่าง ๆ รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี ตลอดจนหลักเกณฑ์การจัดทำแผนฯ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อส่งเสริมพัฒนารูปแบบการทำงานแบบภาคีเครือข่ายของทุกภาคส่วนในจังหวัด ซึ่งมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดร่วมกันต่อไป โดยมีผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องประชุม ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่าการประชุมในวันนี้ เป็นการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกันกับบุคคลจากภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัด ก่อนที่คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) จะนำผลการประชุมปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของที่ประชุมมาปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นปีแรกที่กฎหมายได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดทำโครงการพัฒนาในเขตพื้นที่ เพื่อเสนอของบประมาณของจังหวัดได้ จึงทำให้เกิดความคล่องตัวและเป็นการลดขั้นตอนในการบริหารงบประมาณของจังหวัดได้อย่างด

ทั้งนี้ จังหวัดได้จัดทำโครงร่างฯ ดังกล่าว โดยยึดนโยบาย หลักเกณฑ์วิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 – 2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2570 ให้ความสำคัญกับการใช้ศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดของพื้นที่ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงบริบทแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกที่มีผลกระทบต่อพื้นที่มาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนฯ ควบคู่กับการพิจารณาความสอดคล้องกับปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางการพัฒนาจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมต่อไป