เกษตรกรพัทลุงเดือดร้อนหนักโรคระบาดใบร่วงลามสวนยางสร้างความเสียหายแล้ว 5 ล้านไร่

เกษตรกรพัทลุงเดือดร้อนหนักโรคระบาดใบร่วงลามสวนยางสร้างความเสียหายแล้ว 5 ล้านไร่





ad1

พัทลุง-ชาวสวนยางพารา “ครวญ” น้ำยางสดหาย  2 ใน 3 และ 3 ใน 4 จากรายได้กว่าวันละ 300 บาท เหลือถึง 100 บาท ยางจะหดหายราคาไม่สูง แต่ก็มีการซื้อขายและส่งออกได้ ส่วนไม้ยางก็จะชะลอซื้อ และบางรายต้องหยุดรับซื้อ จากสถานเศรษฐกิจโลก แถมธนาคารสหรัฐล้มลงอีก 2 แห่ง แต่ไม้ยางพารา กระอักต้องชะลอการซื้อ

  

จากการสำรวจกับชาวสวนยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง ต่างได้รับคำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่าภาวะยางพาราโดยน้ำยางสดได้หดตัวไปปริมาณมากจากที่เคยได้น้ำยางสดจำนวน 3 ลอน ลอนละ 40 กก. ปรากฏว่ามาระยะหลัง ๆ นี้มาหลายเดือนน้ำยางสดได้ลดเหลือประมาณ 1 ลอน หดหายไป 2 ลอน หดตัวไป 2 ใน 3 และบางรายหดหายไป 3 ใน 4  

สาเหตุจากที่ยางพาราน้ำยางสดหดตัวไปมาก เนื่องจากยางพาราเกิดโรคใบร่วงและขณะอยู่ระหว่างแตกใบอ่อน และบางสวนเริ่มออกดอก 

“ที่ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมมีนาคม จะเป็นช่วงน้ำยางสดจะออกมาปริมาณมากเต็มที่” เจ้าของสวนยางพารา กล่าวว่า 

เจ้าของสวนยางพาราหมู่ 3 บ้านด่านโลด 9 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ยางพาราผลัดใบ ทั้งผสมกับเกิดโรคยางใบร่วงซึ่งต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้น้ำยางสดปริมาณลดลงมากจาก 4 กก. เหลือประมาณ 1 กก.  

“ส่วนราคาน้ำยางสดตอนนี้ราคา 46 บาท / กก. จากที่มีรายได้กว่า 300 บาท / วัน ตอนนี้เหลือรายได้ไม่ถึง 100 บาท” เจ้าของสวนยางพารา กล่าว  

นายจิระวัฒน์ ภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกณรงค์ หมากไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำเอ็มโอยูกับการยางแห่งประเทศ ได้ทำการปลูกยางร่วมพืช และบริษัท เอกณรงค์ ได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกหมากร่วมกับยางพารา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

และในเดียวกันยางในภาคใต้ จากจำนวน 12 ไร่ ได้เกิดโรคยางใบร่วงแล้วประมาณ 5 ล้านไร่ ทางบริษัท เอกณรงค์ จึงได้ร่วมทำเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่  ทำการการวิจัยเกี่ยวกับโรคใบร่วง เพื่อป้องกันโรคยางใบร่วงแล้ว และคาดว่าจะเห็นผลในระยะ 6 เดือนนี้ หรือประมาณกลางปี 2566 นี้ 

ทางนายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ ผู้จัดการ กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรแปรรูปยางาราส่งออกต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคยางใบร่วงน่าจะกว่า 5 ล้านไร่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 1 ล้านไร่ที่เป็นโรคยางพาราใยร่วง ซึ่งส่งผลให้น้ำยางสดในกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ ได้หดหายไปประมาณถึง 50 เปอร์เซ็นต์   

นายกัมปนาท ยังกล่าวอีกว่า ทางด้านการตลาดยางพาราก็ยังเดินได้มีการบริภาคที่ต่อเนื่องและทางกลุ่มก็ส่งทำการส่งอยู่ตลอดระยะเวลา แต่ทางด้านราคาก็ไม่สู้จะดี จากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น น้ำยางสดที่นำไปแปรรูปเป็นน้ำยางข้นราคาก็หดตัวมาก จากที่โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง ได้ชะลอการซื้อน้ำยางข้นลงมาก จากสถานการณ์โควิด 19 ได้ผ่านไป จึงมีการใช้ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางปริมาณน้อยลง ได้กระทบต่อน้ำยางสดราคาเคลื่อนไหวลงที่ 45 บาท – 47 บาท / กก.  

ส่วนจำพวกยางแห้ง เอสที่อาร์ 20 ยางรมควันก็มีการใช้อยู่เพราะต้องนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ล้อยาง ส่วนยางแห้งเอสทีอาร์ 20 ราคาประมาณกว่า 1,300 เหรีญสหรัฐ / ตัน ยางรมควันประมาณกว่า 1,500 เหรียญสหรัฐ / ตัน  

“ยางเอสที่อาร์ 20 ที่แปรรูปผลิตจากยางก้อนถ้วย เศษยางยังไปได้ดีแต่ราคาก็ยังถูก และยางรมควันก็ยังพอไปได้ ยังมีการซื้อขายและส่งออกอยู่ เพราะต้องนำไปแปรรูปผลิตล้อยาง ล้อยางยังจำเป็นต้องใช้ แต่ราคาไม่สามารถปรับตัวสูงได้ จากเศรษฐกิจภาพรวมโลก และในขณะเดียวกันธนาคารในสหรัฐก็ล้มลง” นายกัมปนาท กล่าว 

นายกัมปนาท กล่าวอีกว่า ในส่วนไม้ยางพาราการส่งออกก็ชะลอตัว การซื้อขายราคาได้ลดลงเช่นกัน จาก 1.70 บาท / กก. ถึง 1.80 บาท / กก. มาเหลือที่ 1.40 บาท / กก. และบางรายได้ชะลอตัว และบางรายก็หยุดรับซื้อ. 

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ ผู้สื่อข่าวจังหวัดพัทลุง