ผู้ว่าฯปราจีนบุรีลุยแก้ปัญหาช้างป่าขัดแย้งกับชาวบ้าน-กำหนดแนวทางจัดพื้นที่ป่าอนุรักษ์และช้างป่า

ผู้ว่าฯปราจีนบุรีลุยแก้ปัญหาช้างป่าขัดแย้งกับชาวบ้าน-กำหนดแนวทางจัดพื้นที่ป่าอนุรักษ์และช้างป่า





ad1

วันนี้ 19 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า  ที่ห้องประชุมทวารวดี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี ต.ไม้เค็ด อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ ฯลฯ เพื่อติดตามสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้งกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และช้างป่า เช่น ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัย,แหล่งน้ำ,แหล่งอาหารช้างป่า การเคลื่อนย้ายและควบคุมช้างดุร้าย การสร้างแนวป้องกันช้างออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ การจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครด้านการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า การช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัย ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมปัญหาช้างป่าออกนอกผืนป่าของ จ.ปราจีนบุรี ที่มีประกอบด้วยพื้นที่หลักๆได้แก่ อ.นาดี แถบ ต.ทุ่งโพธิ์,ต.วัแก่งดินสอ เป็นช้างป่าจากอุทย่นแห่งชาติทับลานมรดกโลก  พื้นที่ อ.กบินทร์บุรี ต.วังท่าช้าง ,ต.เขาไม้แก้ว  พื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ เป็นช้างป่าออกนอกพื้นที่ข้ามจังหวัดมาจากผืนป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ลุ่มต่ำผืนสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา,จังหวัดสระแก้ว,จังหวัดชลบุรี,จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง)ซึ่งปัญหาช้างป่า  โดยเฉพาะช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนนั้น   มีมาเนิ่นนานนับ 30 ปี ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ระยะแรกมีเพียงแค่ในพื้นที่ ที่ช้างป่าออกจากพื้นที่มานอกเขตอำเภอสนามสนามชัยเขต,อำเภอท่าตะเกียบจนต้องมีการสร้างคู-รั้วกั้นช้างป่า แต่ไม่สามารถยับยั้งได้ เนื่องจากสาเหตุหลักๆคือ จำนวนประชากรของช้างป่าที่เพิ่มทวีสูงมากขึ้น แต่แหล่งอาหาร ที่อยู่ แหล่งน้ำ มีจำกัดมีการแก้ไข ปิด-เปิด เส้นทางผ่านผืนป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน หลังจากมีปัญหาช้างป่าถูกรถชน สัตว์ป่าดักปล้นรถขนอ้อย-มันสําปะหลัง-สับปะรด ช้างทำร้ายคน

แต่ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ช้างป่า พากันออกนอกพื้นที่มากขึ้นและกระจายโดยรอบผืนป่าทั้ง 5 จังหวัด และพากันมาแบบทั้งยกโขลงเป็นร้อยตัว,มาเดี่ยว และมีแนวโน้มกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่น มาแล้วไม่กลับคืนที่เดิมเนื่องจากในพื้นที่หากินใหม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งสวนผลไม้, ไร่มันสําปะหลัง, ไร่อ้อย, ไร่ข้าวโพด, นาข้าว, ป่ากล้วย ตลอดจนแหล่งน้ำ

โดยสภาพปัญหา ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่มักยกโขลงมากันสม่ำเสมอได้แก่ ตำบลวังท่าช้าง, ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอศรีมหาโพธิ โดยจะพากันข้ามฝั่งจากถนนสายสระแก้วตัดใหม่ (สระแก้ว-พนมสารคาม) หรือสาย 359 ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกันทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับชาวบ้านในพื้นที่ อาทิ ช้างป่าถูกรถชนบาดเจ็บ-ตาย ขณะข้ามถนน,ช้างบุกรุกพืชสวนไร่นาพื้นที่การเกษตร,การพังบ้านเรือน,การทำร้ายประชาชน-เจ้าหน้าที่รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต,ช้างถูกไฟช็อตตาย เป็นต้น

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี รายงาน