รำลึกถึงพ่อหลวงมาเที่ยวชมเขื่อนห้วยสโมง  ขนาดใหญ่ในระราชดำริแห่งสุดท้าย

เขื่อนห้วยสโมง

รำลึกถึงพ่อหลวงมาเที่ยวชมเขื่อนห้วยสโมง  ขนาดใหญ่ในระราชดำริแห่งสุดท้าย





ad1

เมื่อเวลา 17.30 น.วันนี้ 13 ต.ค.64  ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงาน  เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา-ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่อ่างเก็บน้ำห้วยสโมง หรือนฤบดินทรจินดา  อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เขื่อนห้วยโสมง) ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

 

พบในวันหยุดในโอกาสพิเศษวันนี้  นักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศต่างพากันมาร่วมรำลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ  พร้อมชื่นชมในพระอัจฉริยภาพ โดยเฉพาะ  ที่นี่เป็นโครงารชลประมานขนาดใหญ่ในพระราชดำริของพระองค์ท่าน!!

นายธเนศ  ยังจิตร อาย 60 ปี พร้อม ภรรยา  กล่าวว่า  “เดินทางมาจาก ต.วังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มารำลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ   โดยเฉพาะที่ จ.ปราจีนบุรี   เขื่อนห้วยโสมงเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งสุดท้ายในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และปัญหาน้ำเค็มหนุนลุ่มน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีในหน้าแล้งให้กับชาวอำเภอกบินทร์บุรี และชาวจังหวัดปราจีนบุรี

โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10 เสด็จฯเปิดเขื่อนนฤบดินทรจินดา หรือเขื่อนห้วยสโมง โครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งสุดท้ายในพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ทรงเปิดอ่างเก็บน้ำ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา

อนึ่ง ก่อนหน้า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการห้วยโสมงเป็นครั้งแรก พระองค์ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ถ้าทำแล้วจะเกิดประโยชน์กับประชาชน

ต่อมา ปี 2552 คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง 9 ปี โดยกรมชลประทานเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 เป็นต้นมา และแล้วเสร็จในปี 2560
สำหรับ อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา หรือที่คุ้นหูในชื่อโครงการห้วยโสมง เป็นอ่างเก็บน้ำที่ทำจากดิน มีความยาว 3,967 เมตร ความลึก 32 เมตร มีความจุที่ระดับเก็บกักน้ำ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่บนเนื้อที่ 16,250 ไร่ มีระบบส่งน้ำและระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่

ความโดดเด่นอีกประการของโครงการห้วยโสมง คือ การปฏิบัติตามแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด จนได้รับความชื่นชม "บันทึกด้วยความยินดี ที่มีการลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้างและร้องขอให้บูรณาการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง" จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 38 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์

กรมชลประทานได้ขอพระราชทานชื่ออ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่ออ่างเก็บน้ำว่า “อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา” อันมีความหมายว่า “อ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

นอกจากประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว “อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา” ยังจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งในเขตอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี รวมทั้งช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็ม น้ำเน่าเสีย ในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำบางปะกง ซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรและระบบน้ำประปาในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำเกือบทุกปี

ที่สำคัญ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ยังจะทำหน้าที่เป็น “แนวกันชน” ป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา อันเป็นพื้นที่ “มรดกโลกทางธรรมชาติ” รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำที่ช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ได้อีกประการหนึ่ง ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดปราจีนบุรีได้อีกด้วย

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล อันเกิดจากพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยราษฎรที่เดือดร้อน ในวันนี้ “อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา” ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นต่อพสกนิกรลุ่มน้ำปราจีนบุรีทุกคน ที่ความทุกข์ยากจากปัญหาน้ำได้รับการปัดเป่าให้หมดสิ้นไป  

ด้านนางหนูกี่   เกตุตากแดด อายุ 52 ปีกล่าวว่า  เป็นชาว จ.บุรีรัมย์ มาเยี่ยมบุตรสาวเป็นครูที่ จ.สระแก้ว  ในวันหยุดนี้บุตรสาวได้พามาชทความงดงามเขื่อนสุดท้ายของพ่อหลวง  เห็นแล้วสวยงาม บรรยากาศดีมาก ๆ”

ขณะที่น้องหนู  กล่าวว่า  เดินทางมาจากนิคมอุตสาหกรรม 304 รวม 3 คน และสุนัข 1 ตัว  มาชมวามงดงาม และบรรยากาศของเขื่อนนฤบดินทรจินดาในวันหยุดและได้ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธคุณของพ่อหลวงด้วย