โครงการชลประทานศรีสะเกษ เฝ้าสังเกตน้ำท่วม (จุดสุดท้าย) บริเวณเขื่อนหัวนา อำเภอกันทรารมย์ (M182)


นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง(เขื่อนราษีไศล) พร้อมด้วย นายณัทเศรษฐ์ ถิรวัฒน์ธนกร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา( เขื่อนหัวนา) ได้ลงพื้นที่เฝ้าสังเกตุและตรวจสอบระดับน้ำบริเวณหน้าเขื่อนหัวนา ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งของจุดตรวจวัด (M182) พบว่าระดับน้ำบริเวณหน้าเขื่อนหัวนาลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยวันละ 15-20 ซม. สำหรับจุดวัดดังกล่าว มีระดับตลิ่งอยู่ที่ 10.40 ม. เมื่อเวลา 13:00 น. ระดับน้ำอยู่ที่ 11.78 ม ยังคงสูงกว่าระดับตลิ่งประมาณ 1.38 ม. ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นี้ เป็นไปตามคาดการณ์ของโครงการชลประทานศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่เกิดภาวะน้ำท่วม ในปี 2565
ทั้งนี้เขื่อนหัวนาดังกล่าว เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในโครงการ โขง ชี มูล ก่อสร้างโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี พ.ศ. 2533 และต่อมาได้ถ่ายโอนภารกิจให้กรมชลประทาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2545 ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน โดยเขื่อนหัวนาดังกล่าวมีช่องบานระบายจำนวน 14 ช่อง เป็นชนิดแบบบานโค้ง( Radail Gate) มีขนาด 12.50 x 8.00 เมตร ปัจจุบันแขวนบานระบายทั้งหมด ระดับน้ำเก็บกัก +112.00 ม.รทก. อัตราการระบายน้ำสูงสุด 5,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบัน (วันที่ 4 พ.ย. 2565 เวลา 06.00 น ) ระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ +116.20 ม.รทก. อัตราการระบายน้ำ 1,993.81 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
เสนาะ วรรักษ์/รายงาน