กศน.ต.แม่ขรีอบรมซ่อมบำรุงเครื่องตัดหญ้าแกนนำเกษตรกรแห่งแรกที่ด่านโลด

กศน.ต.แม่ขรีอบรมซ่อมบำรุงเครื่องตัดหญ้าแกนนำเกษตรกรแห่งแรกที่ด่านโลด





ad1

พัทลุง-เกษตรกรกระหึ่ม “ซ่อมปัจจัยสำคัญประจำครัวเรือนเครื่องตัดหญ้า” จุดประกายแห่งแรกที่ “ด่านโลด” เป้าหมายเพื่อเกษตรกร

เมื่อวันที่ 22 มิย. 65 เวลา 13.00 น. ที่ศาลาประชาคมหมู่ 3 บ้านด่านโลด  เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นายมโณศักดิ์ ทักษิณาวาณิชย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เทศาบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ร่วมกับ กศน.ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ได้ทำการฝึกอบรมซ่อมบำรุงเครื่องตัดหญ้าเบื้องต้น ให้กับแกนนำเกษตรกรหมู่บ้านเพื่อไปขยายต่อไปในหมู่บ้านและพื้นที่อื่น ๆ ขึ้นโดยประสบความสำเร็จด้วยดีจนเป็นที่พอใจของเกษตรกร

นายมโณศักดิ์ ทักษิณาวานิชย์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 กล่าวว่า  เนื่องจากเครื่องตัดหญ้าปัจจัยคู่บ้านครัวเรือนโดยเฉพาะเกษตรกรมีไว้ประจำเพื่อประกอบอาชีพหลักที่จะต้องตัดหญ้าตามสวนต่าง ๆ ยางพารา สวนมังคุด สวนลองกอง สวนปาล์มน้ำมัน สวนทุเรียน ฯลฯ  และส่วนงานตัดหญ้ารับจ้างจำนวนมากในแต่ละหมู่บ้านและมีทั่วทั้งจังหวัด

“ทั้งนี้ในการฝึกอบรมได้รับการสนับสนุนจาก กศน.ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรประชาชนโดยทั่วไป ที่จะได้ลดทุนการผลิตการยังชีพได้เป็นจำนวนมาก”

นายช่างยนต์เครื่องตัดหญ้า กล่าวว่า สำหรับเครื่องตัดหญ้าเมื่อเกิดเสียขึ้นมาจะต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 250 บาท / ครั้ง โดยเฉลี่ย สำหรับราคาเครื่องตัดหญ้ามีหลายราคาหลายรุ่นตั้งแต่ราคา 1,500 บาท – 9,000 บาท โดยเฉลี่ยจะใช้กันที่ราคา 3,000 บาท / เครื่อง  เครื่องตัดหญ้าในหมู่ 3 บ้านด่านโลด จะมีประจำครัวเรือนไม่ต่ำกว่า 200 เครื่อง ซึ่งเกษตรกรประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ที่ทำการเกษตร จึงเป็นปัจจัยหลักของครัวเรือน”

นอกจากนั้นยังมีอาชีพตัดหญ้าซึ่งเป็นการแรงงานได้อีกที่มีอยู่ทุกหมู่บ้านในภาคการเกษตร ซึ่งมีรายได้ประมาณ 1,000 บาท / คน / วัน  โดยตัดหญ้าราคา 400 บาท – 450 บาท / ไร่ โดยเฉพาะ จ.พัทลุง เป็นเมืองการเกษตรจะมีรายได้จำนวนมาก

“ไม่เฉพาะการทำการเกษตร ในการทำปศุสัตว์ก็ต้องมีเครื่องตัดหญ้าเพื่อตัดหญ้าเป็นอาหารของ โค แพะ แกะ ฯลฯ”

นายวิทยา ไชยโยธา  อาจารย์ กศน. ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า โครงการซ่อมบำรุงเครื่องตัดหญ้า เป็นโครงการแรกของ กศน.ต.แม่ขรี เพราะเล็งเห็นแล้วว่า เครื่องตัดหญ้าเป็นปัจจัยหลักประจำครัวเรือนเกษตรกร และมีกับทุกครัวประมาณว่าไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์  จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นในการดูและรักษา ซ่อม ฯลฯ

จึงได้อบรมศึกษาเบื้องขึ้นเพื่อให้เกษตรกร ได้ลดต้นทุนการผลิตการยังชีพ และเสริมสร้างรายได้ และจะดำเนินการโครงการต่อไป เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับเกษตรกร การเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนถึงส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้.