ศรีสะเกษ เปิดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม 6D

ศรีสะเกษ เปิดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม 6D





ad1

ศรีสะเกษ - ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4  เปิดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม 6D ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมชั้นสูงแบบ CMT ที่ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 4 เมบายน 2565  ที่วิทยาลัยสารพัดช่างศรีสะเกษ นายลิขิต  พลเหลา  ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ได้เป็นประธานเปิดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม 6D ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมชั้นสูงแบบ CMT  โดยมีนายบัณฑิต อมรสิน ผู้แทนสมาคมครูและผู้ประกอบการวิชาชีพช่างเชื่อม นายสุระภี ผกาพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการวิทยลัยสารพัดช่างศรีสะเกษ  และนายธนกร  เตชะแก้ว ที่ปรึกษาการตลาด นำอาจารย์สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะจากสถานศึกษาต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ารรับการฝึกอบรม จำนวน 35 คน

ลิขิต  พลเหลา  ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4

และได้รับการสนับสนุนคณะวิทยากรและเครื่องมืออุปกรณ์การจัดอรมรมสัมมนาในครั้งนี้จากบริษัท ซีเทค ไดแด็คติด จำกัด เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรมให้แก่ครูผู้สอนสาขาวิชางานเชื่อมโลหะ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางด้านหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม ของสถานศึกษาต่างๆให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการเชื่อมชั้นสูงของภาคอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการช่างเทคนิคหุ่นยนต์เชื่อมของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ  และเพื่อให้ครู-อาจารย์ที่ผ่านการอบรมหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรมได้นำความรู้และทักษะไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อพัฒนาครู-อาจารย์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้มีความรู้และประสบการณ์ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ และความต้องการภาคอุตสาหกรรมยุค 4.0 ต่อไป  ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ได้ดำเนินการภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด

นายลิขิต  พลเหลา  ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4   กล่าวว่า  สมาคมครูและผู้ประกอบการวิชาชีพช่างเชื่อม วิทยาลัยสารพัดช่างศรีสะเกษและบริษัท ซีเทค ไดแด็คติด จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาครูที่ทำการสอนสาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีความรู้ และทักษะทางด้านหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมชั้นสูงได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และเพื่อสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในด้านการพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษายุคใหม่ และปรับวิสัยทัศน์ในการทำงานรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการพัฒนาคุณภาพแหล่งเรียนรู้อาชีวศึกษา การสร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอนระหว่างภาครัฐกับเอกชน และเป็นการประชาสัมพันธ์วิธีการเรียนการสอนสาขาวิชางานเชื่อมโลหะให้สถานประกอบการและประชาชนได้รับทราบมากยิ่งขึ้น

ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กล่าวต่อไปว่า  ตามโครงการจะได้จัดให้มี การอบรมสัมมนา รวม 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2565 ณ วิทยาลัยสารพัคช่างศรีสะเกษ ครั้งที่2 ในระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2565 ณ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม และครั้งที่3 ในระหว่างวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2565 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน