กรมพัฒน์ฯจัดมหกรรมประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน

กรมพัฒน์ฯจัดมหกรรมประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน





ad1

ปทุมธานี -กรมพัฒน์ฯขยายช่องทางตลาดจับคู่ธุรกิจฟู้ดทรัคและแฟรนไชส์ จัดงาน"'มหกรรมหลักประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน"วันที่ 23 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนเทพปทุม 

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 ก.พ.2565 ณ สวนเทพปทุม จังหวัดปทุมธานี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์จัดงาน ‘มหกรรมประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน’ ระหว่างวันที่ 23 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมี นางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นายวีระพงศ์ สืบค้า พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี นายพิษณุ ประภาธนานันท์ นายอำเภอเมืองปทุมธานี นายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี นายสุรพงษ์ เป้ากลาง ประธานหอการค้าจังหวัดปทุมธานีนายสิทธิพล ภู่สมบุญ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีปทุมธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมงาน


ภายในงานพบกับงานแสดงและจำหน่ายสินค้าจากฟู้ดทรัคและแฟรนไชส์ กว่า 30 ร้านค้า พร้อมขอรับคำปรึกษาด้านการเงินจากสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง แนะ!! เมื่อกฎหมายเปิดทางแล้วเอสเอ็มอีและประชาชนควรเร่งใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเพื่อเข้าใกล้แหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

นางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่านายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ได้มอบหมายให้เป็นประธานเปิดงาน ‘มหกรรมหลักประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน’ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนเทพปทุม จังหวัดปทุมธานี การจัดงานครั้งนี้ เป็นการจัดมหกรรมหลักประกันทางธุรกิจครั้งแรก หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค. มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ โดยอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถจัดกิจกรรมได้ ซึ่งกรมฯ ได้ดำเนินการจัดงานฯ ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร) และความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดปทุมธานีเป็นอย่างดี”

“การจัดงาน มหกรรมหลักประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน เป็นการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีและประชาชน ได้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ โดยสามารถขอคำปรึกษาด้านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงานฯ (ธ.กรุงไทย ธ.กรุงเทพ ธ.ออมสิน ธ.ก.ส. SME D Bank และ บสย.) รวมถึง ขอรับคำแนะนำด้านการประเมินราคาทรัพย์สินจากสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทยก่อนการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ภาคธุรกิจใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้ : สถาบันการเงิน) ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ทรัพย์สินนั้นต่อยอดทางธุรกิจหรือผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไป”

“ภายในงานยังมีการแสดงและจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบฟู้ดทรัค แฟรนไชส์ และอื่นๆ กว่า 30 ร้านค้า เช่น กลุ่มผู้ประกอบการ Food Truck เฟร้นฟราย สแน็ก ดี  เตี๋ยวไก่ เปรี้ยวปาก แซ่บติดล้อ Grill lab super Black coffee  ป็อปคอร์นทรงโจร ทาโกะยากิ22 Kebab Monster กูมันแซ่บ สายไหม ขนมจีบจัมโบ้ กุยช่ายน้ำย้อย ติมเรโท ผัดไทยหอยทอดลูกนก กลุ่มผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ช่อลดา คอฟฟี่ ปังอัยยะ ไมโลรถโรงเรียน เตี๋ยวตุ๋นหม้อไฟอินดี้  เครปไส้แตก ปาป้าพิซซ่า กลุ่มผู้ประกอบการ Moc Biz club นิสากรผลไม้แปรรูป  น้ำส้ม socool กลุ่มสัมมาชีพบ้านบางนา ขนมไทย หมีป่วนนมปั่น วิสาหกิจชุมชนชมรมเพื่อนปาริชาติ shop chic กระเป๋าหนังวัวแท้แฮนเมด บานู เพิร์ล เครื่องประดับไข่มุก กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ธิริน กระเป๋าแก้ว City Herb *วิสาหกิจชุมชนขนมหวานบ้านคูคต บอล ดีไซน์  สุนิสา ผลิตภัณฑ์โครเชต์ แฮนด์เมด ฯลฯ”

 
“นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้เลือกซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการแล้ว ยังสามารถมองหาอาชีพทั้งหลักและเสริมได้ภายในงานฯ โดยกรมฯ พร้อมให้การส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการรายเดิมและผู้ประกอบการรายใหม่ให้เกิดการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างเครือข่าย สร้างคู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้ง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ผู้ที่กำลังมองหาอาชีพที่มั่นคงให้แก่ตนเองและครอบครัว”

“ทั้งนี้ การจับมือกันระหว่างฟู้ดทรัคและแฟรนไชส์เป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม เมื่อมีการควบรวมรูปแบบธุรกิจเข้าด้วยกัน จึงเป็นการเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจให้มีเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่พร้อมจะให้นักลงทุนเข้าร่วมลงทุน โดยอาจารย์ญาณเดช ศิรินุกูลชร ประธานและผู้ก่อตั้ง TBIC Food Truck Thailand ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน การขยายธุรกิจฟู้ดทรัครูปแบบแฟรนไชส์มีมากขึ้น เนื่องจากฟู้ดทรัคสามารถขายอาหารในพื้นที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน ใช้บุคคลากรทำงานน้อยกว่า ช่วงเวลาทำงานน้อยกว่า เคลื่อนย้ายร้านไปได้หลายพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ฟู้ดทรัคจึงเป็นรูปแบบที่ได้เปรียบในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ ที่อัตราการอยู่รอดในธุรกิจสูงกว่า ซึ่งมีฟู้ดทรัคหลายแบรนด์ที่เริ่มใช้รูปแบบการขยายธุรกิจในลักษณะแฟรนไชส์มาต่อยอดธุรกิจ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น”

“อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการฟู้ดทรัคที่มีศักยภาพ ส่วนใหญ่ยังต้องการความรู้ความเข้าใจ เรื่องการขยายธุรกิจฟู้ดทรัครูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การตรวจประเมินและปรับปรุงความพร้อมของธุรกิจ โครงสร้างราคาแฟรนไชส์ กลยุทธ์การตลาด การเฟ้นหาแฟรนไชส์ซีที่เหมาะกับธุรกิจตนเอง การเตรียมระบบไอทีมารองรับเพื่อลดขั้นตอน ลดข้อผิดพลาด ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้ เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถสร้างระบบแฟรนไชส์ที่ยั่งยืน สอดคล้อง เหมาะสมกับคนไทย โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบแฟรนไชส์ต่างประเทศมากเกินไป จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน”

“ข้อได้เปรียบต่างๆ ของฟู้ดทรัคทำให้แนวโน้มการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของผู้ลงทุน ในขณะที่ภาครัฐยังให้การสนับสนุนส่งเสริมผ่านการฝึกอบรม สัมมนา งานอีเว้นท์ และการโปรโมทธุรกิจฟู้ดทรัคอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการขยายตัวของรถฟู้ดทรัคในรูปแบบแฟรนไชส์ มีโอกาสเติบโตอย่างเป็นระบบและยั่งยืน สร้างเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี” “ขอเชิญชวนผู้ที่กำลังหาโอกาสทางอาชีพหรือธุรกิจและผู้สนใจ เข้าร่วมงาน “มหกรรมหลักประกันทางธุรกิจและการนำทรัพย์เข้าถึงแหล่งทุน” ระหว่างวันที่ 23 - 25 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนเทพปทุม จังหวัดปทุมธานี โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถใช้สิทธิโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร 0 2547 4939 e-Mail : [email protected] สายด่วน 1570 และ www.dbd.go.th” รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้าย