“ธารา”จี้รบ.ตั้งกองทุนเยียวยาชาวระยองเหตุน้ำมันรั่ว หวั่นซ้ำรอย ปี’56

“ธารา”จี้รบ.ตั้งกองทุนเยียวยาชาวระยองเหตุน้ำมันรั่ว หวั่นซ้ำรอย ปี’56





ad1

“ธารา” ส.ส. ระยอง จี้รัฐบาล ตั้งกองทุนเยี่ยวยาพี่น้องน้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันดิบ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รั่วกลางทะเล พร้อมทั้งการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อย่างเร่งด่วน ก่อนปัญหาจะบานปลายซ้ำรอยปี 56 ที่ชาวบ้านออกมาฟ้องเอง 

นายธารา ปิตุเตชะ รองประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน และ ส.ส.จังหวัดระยอง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จังหวัดระยองเป็นพื้นที่สำคัญทางอุตสาหกรรมของประเทศไทย ขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีชาวประมงทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน ประมงเรือเล็กตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมงน้ำจืดและน้ำกร่อย รวมเนื้อที่ทำการประมงทะเลประมาณ 1,500,000 ไร่ มีท่าเรือประมง 45 แห่ง มีเรือประมงทั้งหมดกว่า 3,000 ลำ สามารถสร้างผลผลิตสัตว์น้ำที่จับได้ จับขายได้ให้แก่พี่น้องชาวระยองปีละหลายร้อยล้าน ด้วยประการดังกล่าว ชาวบ้านได้ร่วมกันดำเนินมาตรการส่งเสริมการทำประมงแนวอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ไปยังฐานราก

วันนี้จังหวัดระยองมีชาวประมงพื้นบ้านกว่า 1,800 คน รวมตัวกันเป็นสมาคมและกลุ่มชาวประมงเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านสวนสน เป็นกลุ่มประมงที่มีความเข้มแข็งในการจัดการทั้งการรักษามาตรฐานของผลผลิตที่สด สะอาด รวมทั้งร่วมใจกันอนุรักษ์ท้องทะเล เป็นหนึ่งในชุมชนที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ที่มีมูลค่ากว่า 3.7 หมื่นล้านบาทต่อปี

ในอนาคตจังหวัดระยอง จะกลายเป็นพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมของประเทศ  ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด  สูงถึง 1,045,697 ล้านบาท อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร สูงที่สุดในประเทศไทย คือ 1,067,449 บาทต่อปี

อย่างไรก็ตามนั้นเป็นภาคอุตสาหกรรม ที่จะเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง หากเรามองย้อนไปถึงพื้นเพของคนระยองแล้ว ภาคการเกษตร และการประมง ถือเป็นอาชีพดั้งเดิมที่หล่อเลี้ยงประชาชนมาเป็นเวลานาน ด้วยพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศซึ่งมีทะเลชายฝั่งระยะทางยาวประมาณ 105  กิโลเมตร จึงเพียบพร้อมด้วยทรัพยากรทางทะเลอันหลากหลาย

ปัจจุบัน จังหวัดระยองมีการทำประมงทั้งในเชิงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน ประมงเรือเล็กตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมงน้ำจืดและน้ำกร่อย รวมเนื้อที่ทำการประมงทะเลประมาณ 1,500,000 ไร่ มีท่าเรือประมง 45 แห่ง มีเรือประมงกว่า 3,000 ลำ กลุ่มผู้ประกอบการประมงทะเลชายฝั่ง หรือ ประมงพื้นบ้านจังหวัดระยองที่ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับกรมประมง รวม 1,831 คน จำนวนเรือประมง 2,443 ลำ แบ่งเป็นอำเภอเมืองระยอง จำนวน 29 องค์กร มีสมาชิกจำนวน 1,193 คน อำเภอแกลง จำนวน 11 องค์กร มีสมาชิกจำนวน 438 คน และอำเภอบ้านฉาง จำนวน 4 องค์กร มีสมาชิกจำนวน 200 คน

ด้วยประการดังกล่าวภาครัฐ และเอกชน มีการส่งเสริมให้องค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งการทำเขตอนุรักษ์ 200 เมตรจากฝั่ง สอดคล้องกับกฎหมายของกรมประมงที่ห้ามประมงพาณิชย์เข้ามาในเขต 3,000 เมตรจากฝั่ง เพื่อสร้างเขตอนุรักษ์นี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ อนุบาล และหลบภัย ทำให้จำนวนสัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาในการทำประมง ถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เข้าจังหวัดระยองไม่ว่าจะเป็นตลาดชุมชน ที่มีการตั้งแผงขายอาหารทะเลโดยชุมชนประมงพื้นบ้านสวนสน อันเป็นผลผลิตจากการจับและการเพาะเลี้ยงของสมาชิก ซึ่งได้ออกทำการประมงในช่วงเช้ามืดและกลับเข้าฝั่งในช่วงเช้า-สายของวันเดียวกัน จึงได้ผลผลิตสัตว์น้ำที่มีความสดแบบวันต่อวัน  ไม่มีการเก็บค้างคืน วางจำหน่ายในรูปแบบอาหารสด อาหารแห้ง และบริการอาหารปรุงสุก ในราคายุติธรรม จึงเป็นตลาดอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนในพื้นที่และกลุ่มนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม การประมงเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ที่ผ่านมา มีชาวประมงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมประมง ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล พอสถานการณ์ดังกล่าวกำลังจะผ่านพ้นไป ก็เจอกับปัญหา สถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึก หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ในท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง เมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 25 ม.ค. 2565 ซ้ำเติมเข้าไปอีก แน่นอนที่สุด ชาวประมงพื้นบ้านต่างต้องคอยติดตามข่าวสารสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานราชการ พร้อมกับหยุดการหาปลา สร้างความสูญเสียให้แก่พี่น้องชาวประมง ทำให้ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัว ทั้งยังสร้างความเสียหายให้สัตว์น้ำ และชีวภาพทางทะเลตามมา  

สถานการณ์น้ำมันรั่วครั้งนี้ นอกจากชาวประมงจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวอย่างหาดแม่รำพึง เกาะเสม็ด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจะได้รับผลกระทบตามมา น้ำทะเล และสัตว์ทะเลจะปนเปื้อนสารพิษ ถึงแม้ว่าว่าหลายๆ หน่วยจะเร่งกำจัดคราบน้ำมัน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว แต่ผลกระทบมีเกิดตามมาอย่างแน่นอน 

เพราะฉะนั้น การตั้งกองทุนเยียวยาพี่น้องชาวประมง และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเล สัตว์น้ำ ควรมีการจัดเตรียมแต่ความพร้อม เอกชนโดยเฉพาะ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ควรแสดงออกมาเป็นเจ้าภาพหลัก อย่าให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเหมือนเมื่อปี 2556 ที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพลิกฟื้นวิถีชีวิต นำมาสู่การฟ้องร้องของชาวบ้าน มีชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยว ในพื้นที่อ่าวระยองกว่า 400 ราย ยื่นฟ้องแพ่งต่อ PTTGC เรียกค่าเยียวยาจากความเสียหาย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและความเป็นจริงอย่างเป็นธรรม ซึ่งได้มีการฟ้องร้อง 2 คดี ในทางแพ่งศาลอุทธรณ์ตัดสินเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 สั่งให้บริษัทที่ทำผิดชดเชยชาวประมง 150,000 บาท จากเดิม 90,000 บาท และผู้ประกอบการท่องเที่ยว 120,000 บาท

สำหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ รัฐบาลควรแร่งดำเนินการจัดตั้งกองทุนขึ้นมากำกับดูแลเยียวยาพี่น้องน้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อย่างเร่งด่วน ก่อนปัญหาจะบานปลายซ้ำรอยปี 56