สธ.แถลงยกระดับการป้องกันโรคระบาดโควิด-19
โควิด19


เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 สธ.แถลงยกระดับการป้องกันการระบาดของ โควิด 19 โดยระบุว่า สธ. มีความจำเป็นต้องยกระดับการเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยมีมาตรการดังนี้
- งดเข้าสถานที่เสี่ยง
- งดทานอาหารร่วมกัน ดื่มสุราในร้าน
- เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง
- เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน
- งดร่วมกิจกรรม กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ
- มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-80
- ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว
- เลี่ยงไปต่างประเทศ
หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน
ระดับเตือนภัยป้องกันโควิด19 ของประเทศไทย จะมีทั้งหมด 5 ระดับ คือ
ระดับ 1 ใช้ชีวิตได้ปกติ แบบ COVID-19 Free Setting ประชาชนสามารถ โดยสารขนส่งสาธารณะได้ การเดินทางเข้าประเทศโดยปกติ
ระดับ 2 เร่งเฝ้าระวัง คัดกรอง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 1,000 คนขึ้นไป งดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ปิด/แออัด เลี่ยงร่วมกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มจำนวนมาก เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท
ระดับ 3 จำกัดการรวมกลุ่ม ทำงานจากที่บ้าน 20 – 50% เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 200 คนขึ้นไป เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท งดไปต่างประเทศ
ระดับ 4 ปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50 – 80% งดไปรับประทานร่วมกัน งดดื่มสุราในร้าน งดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท เลี่ยงเข้าใกล้ผู้อื่นนอกบ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ
ระดับ 5 จำกัดการเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ทุกคนงดออกนอกบ้าน หากจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ตรวจ รักษา ซื้ออาหาร ของใช้ งดรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน งดใกล้ชิดกันในบ้าน รวมถึงเคอร์ฟิว ซึ่งจะมีการกำหนดมาตตรการตามระดับเตือนภัยทั้ง 5 ระดับด้วย
สถานการณ์เตียงว่างสำหรับรองรับผู้ติดเชื้อโควิด
-จำนวนเตียงทั่วประเทศ 173,736 เตียง
-อัตราการครองเตียง 85,389 เตียง
-อัตราเตียงว่าง 88,347 เตียง
เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยอาการหนัก
-จำนวนเตียงทั้งหมด 2,160 เตียง
-อัตราการครองเตียง 383 เตียง
-อัตราเตียงว่าง 1,777 เตียง
เตียงสำหรับผู้ป่วยระดับ 2.2 (Oxygen high flow)
-จำนวนเตียงทั้งหมด 5,612 เตียง
-อัตราการครองเตียง 673 เตียง
-อัตราเตียงว่าง 4,939 เตียง
เตียงผู้ป่วยระดับ 2.1 (Oxygen low flow)
-จำนวนเตียงทั้งหมด 23,910 เตียง
-อัตราการครองเตียง 4,679 เตียง
-อัตราเตียงว่าง 19,231 เตียง
เตียงรองรับผู้ป่วยระดับ 1 (กลุ่มที่ไม่ใช้อ็อกซิเจน)
-จำนวนเตียงทั้งหมด 142,054 เตียง
-อัตราการครองเตียง 79,654 เตียง
-อัตราเตียงว่าง 62,400 เตียง
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคทั่วโลก เปิดเผยอีกวว่าอัตราการติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละ 12 ล้านคน และเสียชีวิตเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6.6 หมื่นคน ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา การระบาดลดลง ทำให้หลายประเทศเริ่มลดมาตรการป้องกัน เรื่องการสวมหน้ากากอนามัย แต่สถานการณ์ในเอเชีย รวมถึงประเทศไทยการติดเชื้อกำลังเป็นขาขึ้น
.
สำหรับสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.1 และ BA.2 พบว่าความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน แต่ BA.2 ทำให้ติดเชื้อเร็วกว่าประมาณ 1.4 เท่า ในประเทศไทยจึงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อในครอบครัวและติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ โดยขณะนี้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว 27.% คาดว่าเมื่อฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะช่วยลดการเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุลงได้ ส่วนกลุ่มเด็กเล็ก 5-11 ขวบ ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว 394,727 คน คิดเป็น 7.7%
.
สำหรับผู้ป่วยในประเทศไทย ส่วนใหญ่ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน มีอาการไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ แต่กลุ่มเสี่ยง 608 เมื่อติดเชื้ออาจทำให้เป็นผู้ป่วยอาการหนักได้ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13-19 กพ.65 พบผู้ติดเชื้อ 115,917 คน เป็นคนไทย 104,404 คน หรือ 96.1% ติดเชื้อจากตลาด โรงเรียน สถานประกอบการ และร้านอาหาร บุคลากรทางการแพทย์ 907 คน