ศรีสะเกษจัดกิจกรรมวันดินโลก World soil Day ปี 2564 -สัปดาห์วันพัฒนา (มีคลิป) 

ศรีสะเกษจัดกิจกรรมวันดินโลก World soil Day ปี 2564 -สัปดาห์วันพัฒนา (มีคลิป) 





ad1

ศรีสะเกษ- สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษจัดกิจกรรมจิตอาสา วันดินโลก World soil Day ปี 2564 และกิจกรรม สัปดาห์วันพัฒนา

 นางสาวชนมนัฏ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรณ พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลแปลงนา นายทวี ค่ำชู บ้านเลขที่ 171 บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 

ชนมนัฏ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

ในการจัดกิจกรรม ในครั้งนี้ ประกอบด้วย พิธีจิตอาสา การปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว คลุมฟางห่มดิน และพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่โคกหนองนาโมเดลโดยได้รับความร่วมมือในการจัดกิจกรรมจากนายอำเภอวังหิน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังหิน หัวหน้าส่วนราชการ

ผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมอาสา โดยให้ปฏิบัติติดตาม มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตามประกาศของ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขสาธารณสุข และข้อสั่งการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทรวงมหาดไทยอย่างเคร่งครัด

วริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ

นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรมบ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรดินในประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ในประเทศไทย อย่างต่อเนื่องและยาวนาน อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและนานาชาติ จนสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ ดินเพื่อมนุษยธรรมแก่พระองค์ท่าน การที่กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้จังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลถือเป็นการฟื้นฟูปรับปรุงคุณภาพของดินและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในทรัพยากรดิน ผ่านกิจกรรมต่างๆ สอดคล้องกับเป้าหมายของวันดินโลกและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษกล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษได้มอบหมายสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษดำเนินการประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ เข้าร่วมโครงการ การขับเคลื่อน แนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ)ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ ประเภทพื้น ที่ได้แก่ที่ดินของส่วนราชการเช่นพื้นที่ว่างของหน่วย งานภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ราชพัสดุ หน่วยงานด้านความมั่นคงเป็นต้น พื้นที่สาธารณะประโยชน์ พื้นที่ภาคเอกชน พื้นที่ภาควิชาการ สถาบันการศึกษาพื้นที่องค์กรศาสนาพื้นที่ภาคประชาชนเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดรูปแบบการพัฒนา ที่เหมาะสม

นางสาววริศรา โสภาค กล่าวตอนท้ายด้วยว่า ขณะนี้มีการประชาสัมพันธ์ไปยังส่วนต่างๆและมีข้อมูลจากที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษได้มีการสำรวจไว้แล้วกว่า 1,300 รายเป็นพื้นที่ระดับตำบลจำนวน 13 รายเป็นพื้นที่ระดับครัวเรือน 1,287 รายสำหรับพื้นที่ มีการสมัครเพิ่มเติม จะได้งานข้อมูลให้จังหวัดทราบภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เพื่อเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด

นายชัยยงค์ ผ่องใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริม การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้นำศาสตร์พระราชามาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย โดยทางในหลวงราชการที่ 10 ได้รักษาต่อยอดให้กับพระองค์ท่าน จากจุดเล็กๆ ในชุมชนที่เป็นหมู่บ้านครัวเรือน โดยทางกระทรวงมหาดไทยได้น้อมในพระราชดำริได้มาขจัดความทุกข์ยากให้กับพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชนบท พร้อมขยายไปสู่ในระดับเขต ตำบล อำเภอ และจังหวัด ทั้งหมดนี้เราใช้ในเรื่องของเขตเศรษฐ์กิจพอเพียง ซึ่งจะสามารถเริ่มต้นจากการ พอมี พอกิน พออยู่ พอใช้ ถ้าทั่วประเทศไทยสามารถจัดการในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ไม่ว่าประเทศไทยของเราจะวิกฤติขนาดไหนก็จะได้รับผลกระทบที่น้อยมาก นี่คือหลักการตามศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทั้งสองพระองค์มอบให้กับประชาชนของท่าน

สุดท้าย นายทวี ค่ำชู เกษตรกร กล่าวว่า มีพ่อแม่พี่น้องหลายคนถามผมว่า ทำไมจึงเปลี่ยนจากท้องทุ่งนา มาทำ โคก หนอง นา โมเดล เป็นเพราะว่าผมเกิดที่นี่และอาศัยอยู่มาหลายปี ซึ่งพ่อกับแม่ก็พาทำนา แต่ประสบปัญหาทุกครั้งก็คือความแห้งแล้ง ผลผลิตขายไม่ได้ราคา จึงเดินทางเข้าฝึกอบรม กับ พช.ที่จังหวัดอุบล จึงได้ความรู้มาและได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงที่นามาเป็น โคก หนอง นา โมเดล ซึ่งศาสตร์พระราชนี่แหละจะช่วยส่งเสริมและช่วยชาวบ้านเราได้  

เพราะนาเมื่อเราทำเสร็จก็จะปล่อยให้มันแห้งแล้ง เรามาเปลี่ยนเป็นหนองน้ำ เป็นบ่อปลา แล้วก็ปลูกพืช ผัก ต้นไม้ ตามศาสตร์แบบ สูง กลาง เตี้ย เลียดิน กินหัว ซึ่งอยู่ในแปลงของผมมีครบ ไม่ว่าจะเป็นการห่มฟาง การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง ซึ่งการทำโคก หนอง นา จะทำให้ชาวบ้านได้อยู่ดีกินดีได้ ได้นำพื้นที่นามาใช้ประโยชน์ได้ ผมคิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก ถ้าใครไม่เคยเรียนไม่เคยศึกษา ลองศึกษาดูจะรู้เลยว่า ศาสตร์พระราชาสามารถเห็นผลโดยแท้จริง

เสนาะ วรรักษ์/ศรีสะเกษ