SCB EIC คาด กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง อีก 2 ครั้ง และคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2% ตลอดปี 2023

SCB EIC

SCB EIC คาด กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง อีก 2 ครั้ง และคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2% ตลอดปี 2023





ad1

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.5% ต่อปีเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงส่งต่อเนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่การส่งออกสินค้าชะลอตัวในปีนี้ แต่จะกลับมาขยายตัวดีขึ้นในปีหน้าตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้น ส าหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กนง. เห็นว่าการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึงเป็นแนวทางการด าเนินนโยบายที่สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและมีแนวโน้มดีขึ้นภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเร็วขึ้นตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการจ้างงานและการกระจายรายได้ของลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีจ านวนมาก รวมทั้งเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชนขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลงในปีนี้ แต่จะฟื้นตัวในปี 2024 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงด้านต ่าลดลง ตามแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักรวมถึงจีนที่ปรับดีขึ้น

กนง. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้อจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานทยอยคลี่คลายตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงอีกระยะหนึ่งก่อนจะทยอยปรับลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญภาวะต้นทุนสูงต่อเนื่อง อีกทั้ง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้น

กนง. ประเมินว่า ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ภาวะการเงินผ่อนคลายลดลงความสามารถในการช าระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ฐานะการเงินของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางและอ่อนไหวต่อค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการสิ้นสุดมาตรการปรับลดอัตราเงินน าส่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF fee) แต่ปริมาณสินเชื่อและการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยังขยายตัว ขณะที่ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ชะลอลง และการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางของจีนที่จะส่งผลบวกต่อการท่องเที่ยวไทย

SCB EIC คาด กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง สู่ระดับ 2% ในปีนี้กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในการประชุมเดือนมีนาคมและเดือนพฤษภาคม 2023 ครั้งละ 0.25%และคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2% ตลอดปีนี้ เพื่อให้นโยบายการเงินค่อย ๆ กลับสู่ระดับที่เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดย SCB EIC คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2023 จะขยายตัวได้3.4% จากแรงส่งส าคัญของภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน โดยการเปิดประเทศที่เร็วกว่าคาดของจีนส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง และจะท าให้การบริโภคมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้มีแนวโน้มไม่สดใสนัก โดยเริ่มเห็นการหดตัวของมูลค่าการส่งออกไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี2022 (รูปที่ 1) ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งการส่งออกในปีนี้อาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากการจัดเก็บภาษีน าเข้าใหม่ของประเทศคู่ค้าส าคัญ1ได้แก่ ยุโรปและอินเดีย ซึ่งจะเริ่มมีผลบางส่วนตั้งแต่ปีนี้ ท าให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าไทยอาจขยายตัวต ่าเหลือเพียง 1.2% ในปี 2023

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2023 มีแนวโน้มชะลอลง แต่จะยังอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2022 ขยายตัวที่ 6.1% (รูปที่ 2) โดย SCB EIC คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยปรับลดลงสู่ระดับ 3.2% ในปี 2023 ซึ่งยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ 1-3% จากราคาพลังงานในประเทศและราคาอาหารที่ยังสูง รวมถึงการเร่งตัวของเงินเฟ้อพื้นฐาน โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้อาจเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย เป็น 2.7% จาก 2.5% ในปี 2022 จากผลของเงินเฟ้อที่ได้ขยายวงกว้างไปยังราคาสินค้าและบริการหมวดอื่นมากขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตได้ทยอยส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าของผู้บริโภคตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์มากขึ้นได้นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น การเปิดประเทศของจีน สภาพอากาศโลกแปรปรวน การแพร่ระบาดของโควิด รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก ซึ่งอาจส่งผลให้มีUpside risk ต่ออัตราเงินเฟ้อได้

ค่าเงินบาทในปี 2023 มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปีนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วน าประเทศอื่นในภูมิภาค จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีนมาก โดยเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น 5.6% นับตั้งแต่ต้นปี(รูปที่ 3) และมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องในปีนี้ตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลเข้าตลาดการเงินไทยต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับดีขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในปีนี้ ตามการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยค่าเงินบาทในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 32.5-33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะแข็งค่ามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังสู่ระดับ 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

บทวิเคราะห์โดยhttps://www.scbeic.com/th/detail/product/policy-rate-250123Disclaimer:                                    วิชชุดา ดวงพรหม /รายงาน