กรมชลประทานโชว์ผลงานสร้างประตูระบายน้ำ4แห่งในแม่น้ำยมงบ1,826 ล้าน คาดปี67แล้วเสร็จประโยชน์มหาศาล

กรมชลประทานโชว์ผลงานสร้างประตูระบายน้ำ4แห่งในแม่น้ำยมงบ1,826 ล้าน

กรมชลประทานโชว์ผลงานสร้างประตูระบายน้ำ4แห่งในแม่น้ำยมงบ1,826 ล้าน คาดปี67แล้วเสร็จประโยชน์มหาศาล





ad1

 สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมทั้ง 4 แห่งในเขตพิษณุโลก-พิจิตร ที่รัฐบาลทุ่มงบกว่า 1,826 ล้านบาทเศษ ในการก่อสร้าง มุ่งหวังสร้างความอุดมสมบูรณ์แบบยั่งยืนมั่นคงให้กับเกษตรกรงานคืบหน้าเป็นไปตามแผน คาดปี 67 แล้วเสร็จ นาข้าว 2 แสนไร่ ได้ประโยชน์


 วันที่ 29  กรกฎาคม 2565 นายธนบดี  รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พาผู้สื่อข่าวดูความคืบหน้าของการก่อสร้างประตูระบายน้ำ 4 แห่ง ที่กำลังก่อสร้างในแม่น้ำยมในเขตพื้นที่ จ.พิษณุโลก  จ.พิจิตร 

  แห่งที่ 1   คือ  ปตร.ท่านางงาม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2562  ใช้งบ 515 ล้านบาท อยู่ในระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้ประโยชน์ได้ในปี 2566 ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 51,375 ไร่ ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างได้ 80% แล้ว 


 แห่งที่ 2   คือ  ปตร.ท่าแห  ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม  จ.พิจิตร เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2562 ใช้งบ 500 ล้านบาท อยู่ในระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้ประโยชน์ได้ในปี 2567 ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 81,111 ไร่ ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างได้ 51% แล้ว 

  แห่งที่ 3 คือ  ปตร.วังจิก  ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2559  ใช้งบ 231.4 ล้านบาท อยู่ในระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้ประโยชน์ได้ในปี 2567 ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 37,397 ไร่ ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างได้ 59% แล้ว


 แห่งที่ 4 คือ  ปตร.โพธิ์ประทับช้าง ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2564  ใช้งบ 580 ล้านบาท อยู่ในระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้ประโยชน์ได้ในปี 2568 ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 28,863  ไร่ ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างได้ 29% แล้ว


 ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมในเขต จ.พิษณุโลก-จ.พิจิตร ซึ่งการก่อสร้าง ปตร.ทั้ง 4 แห่ง งานคืบหน้าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมนี้ เป็นการสร้างประตูระบายน้ำแบบเป็นช่วงๆ หรือเรียกว่า แบบขั้นบันได เป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำให้เกษตรกรใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งลุ่มน้ำยมในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด ดังกล่าว ทั้งหมดนี้คือความพยายามและความตั้งใจจริงของรัฐบาลและกรมชลประทานที่ทำเพื่อพี่น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง