อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินตรวจสถานการณ์เหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร้อมติดตามปฏิบัติการฝนหลวงโค้งสุดท้าย ตั้งเป้าเติมน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล สำหรับรองรับพื้นที่เกษตรในช่วงหน้าแล้งที่จะถึงนี้

อธิบดีกรมฝนหลวง

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินตรวจสถานการณ์เหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร้อมติดตามปฏิบัติการฝนหลวงโค้งสุดท้าย ตั้งเป้าเติมน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล สำหรับรองรับพื้นที่เกษตรในช่วงหน้าแล้งที่จะถึงนี้





ad1

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมคณะ ได้ขึ้นบินตรวจสถานการณ์น้ำเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก พร้อมประชุมติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน/อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมี นายรังสรรค์ บุศย์เมือง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่  นายวรพจน์ วรพงษ์ ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล นางสาวจิตรา ราชแก้ว เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตาก ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสายชล เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

โดยนายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่จากข้อมูลพบว่าแม้ที่ผ่านมาจะฝนตกอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณน้ำต้นทุนยังต่ำกว่าเกณฑ์ จำเป็นที่กรมฝนหลวงฯจะต้องเร่งปฏิบัติการฝนหลวงในโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเพิ่มเติมปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิพล ให้ได้ตามเป้าหมายเพียงพอกับการองรับการใช้น้ำในพื้นที่ภาคเกษตร อุปโภค บริโภคในพื้นที่ภาคเหนือ โดยจากการสำรวจปริมาณน้ำในเขตลุ่มน้ำเขื่อนหลักๆ ในภาคเหนือ ยังมีปริมาณน้ำต้นทุนค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น การปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำพื้นที่ภาคเหนือ จึงถือเป็นภารกิจหลักของกรมฝนหลวงในการหาแนวทางการาช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที 

สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีความจุน้ำที่ระดับกักเก็บ 13,462 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ย 4,000-5,000 ล้าน ลบ.ม. บางปีมีปริมาณน้ำน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 30 ส่งผลต่อปริมาณน้ำใช้การได้ในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอปีละ 2,000-3,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะความต้องการใช้น้ำลุ่มเจ้าพระยาประมาณ 20,415 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี แต่ละปีขาดแคลนอยู่ประมาณ 1,230 ล้าน ลบ.ม. ในขณะข้อมูล ณ วันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณน้ำ 7,831.35 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณ 58.2 % น้ำใช้งานได้ 4,031.35 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 41.07 % มีน้ำไหลเข้าอ่างฯ 38.88 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำ 1.0 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำเพิ่มอีก 5,640 ล้าน ลบ.ม. หรือ 41.8 %  ซึ่งปีนี้มีปริมาณน้ำมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา 2,415.82 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับผลดำเนินงานปฏิบัติการทำฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือมีแผนปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ประจำปี 2564 ที่ผ่านมานั้น รับผิดชอบดูแลพื้นที่การเกษตร 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก และเขื่อนขนาดใหญ่ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1. พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล 2.เขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล 3.เขื่อนแม่กวงอุดมธารา 4. เขื่อนกิ่วลม 5.เขื่อนกิ่วคอหมาและ6. เขื่อนแม่มอก โดยผลปฏิบัติการระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 24 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา(หน่วยงานปฏิบัติการฝนหลวงเชียงใหม่และตาก) หน่วยฯเชียงใหม่ทำการบิน 142 วันส่วนหน่วยฯตากทำการบิน 110 วันรวม 706 เที่ยวบินช่วยเหลือครอบคลุมในพื้นที่เชียงใหม่ ตาก ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงรายและแม่ฮ่องสอน ส่วนผลปฏิบัติการฝนหลวงการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรที่ประสบภัยแล้ง พบว่าบริเวณที่มีฝนตก 10 จังหวัด 76 อำเภอ) ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา ตาก แม่ฮ่องสอน แพร่ กำแพงเพชร สุโขทัย “ แม้จะเหลือเวลาอีกไม่กี่วัน แต่กรมฝนหลวงได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ พร้อมติดตามสภาพอากาศและวางแผนปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ก่อนสิ้นสุดฤดูฝนนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิภาพและเขื่อนอื่นๆที่ยังมีปริมาณต้นทุนยังไม่ถึงเป้าให้มากที่สุด