ในสถานการณ์ที่เทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME (Small and Medium Entrepreneurs ) จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเร็วเพื่อที่จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคง และเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แนวทางที่จะช่วยในการปรับตั
วสำหรับธุรกิจ SME ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงสู
งและรวดเร็ว คือ การผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยตระหนักถึง SME หลายแห่งยังมีข้อจำกัดด้านองค์
ความรู้และปัจจัยต่างๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถ ซีพีเอฟ หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จึงได้ดำเนินโครงการ SMEx ต้นทุนต่ำ นำรักษ์โลก ช่วยพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าธุรกิ
จ SME ในห่วงโซ่อุปทาน ผ่านการถ่ายทอดความรู้การเพิ่
มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญของบริษั
ทช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึ
กษาเจ้าของกิจการลงมือปรับปรุ
งกระบวนการดำเนินงาน ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ เพื่อให้มีผลผลิตที่สูงขึ้น ต้นทุนลดลง ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า SME เป็นพาร์ทเนอร์ของซีพีเอฟในการผลิตและส่งมอบสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการ SMEx จะช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดความเชี่ยวชาญความรู้ของซีพีเอฟช่วยให้ SME มีศักยภาพปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ทันกระแสโลก โดยเฉพาะการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โครงการ SMEx ที่ดำเนินการมาถึงรุ่นที่ 4 ในปีนี้ ซีพีเอฟยังได้จับมือกับพันธมิ
ตรชั้นนำอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มพูนความรู้
การพัฒนาที่ยั่งยืน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรื
อนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. สนับสนุนให้ SME สามารถคำนวณการปล่อยก๊าซเรื
อนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั
ล หรือ ดีป้า ช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิ
จิทัล และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ที่ให้ความช่วยเหลืออุดหนุนด้
านเงินทุนแก่ ช่วยให้ SME เข้าถึงแหล่งทุ
นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลบริ
หารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรื
อนกระจกจากกระบวนการผลิตได้อย่
างมีประสิทธิภาพ ช่วยเตรียมความพร้อม SME ได้รับการรับรองเครื่
องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์
กร มีส่วนร่วมขับเคลื่อนสู่เป้
าหมาย Net-Zero ด้วยกัน

นายจุลนภ ศานติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า ดีป้ามองคาร์บอนฟรุตปริ้น เป็นความท้าทายต่อผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นกำลังสำคัญหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โครงการ SMEx ช่วยให้ SME ปรับตัวให้พร้อมรับความท้าทายต่างๆ สามารถแข่งขันได้บนเวทีระดับประเทศและระดับโลก
นางนภาสิริ ใจแสง บริษัท อินทราพรแพค จำกัด คู่ค้าผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก กล่าวว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็กจำเป็นต้
องมีความรู้และปรับปรุงด้านต่
างๆ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเพิ่
มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตควบคู่
กับการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ซึ่
งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่
วโลกต้องการ โครงการ SMEx ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กมีความรู้
และสามารถปรับตัวได้เร็วก่
อนคนอื่น และสามารถผลิตสินค้าได้สอดคล้
องกับความต้องการของลูกค้าทั้
งในแง่คุณภาพ มาตรฐาน และดูแลสิ่งแวดล้อม

นายณัฐพงศ์ สหชัยพัฒนา บริษัท สหชัยกิจการพิมพ์ จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร กล่าวว่า บริษัทร่วมกับซีพีเอฟพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการ SME เป็นองค์กรขนาดเล็ก การร่วมโครงการ SMEx สร้างโอกาสให้ SME ได้เรียนรู้จากองค์กรขนาดใหญ่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน อย่างเช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดเวลาในการทำงานที่ เป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยธุรกิจมีเวลาไปพัฒนาองค์กรและบุคลากรมากขึ้น
นางสุภาวดี วชิระเธียรชัย บริษัท เอื้ออารีฟู้ด โปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า เอื้ออารีฟู้ดเป็นผู้ผลิ
ตและจำหน่ายสินค้าเครื่องปรุ
งรสวัตถุดิบในการผลิตอาหารของซี
พีเอฟมากว่า 25 ปี SME รุ่นใหม่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้
อม การเข้าร่วมโครงการ SMEx จะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กลดต้นทุ
น มีกำไรเพิ่มขึ้น และได้ดำเนินงานดีต่อสิ่งแวดล้
อมด้วย สามารถตอบโจทย์จัดการปัญหาได้
ตรงจุด ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก

โครงการ SMEx เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของซี
พีเอฟภายใต้โครงการ "Partner to Grow" มีเป้าหมายเสริมสร้างความร่วมมื
อกับคู่ค้า SME ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่
งขัน ดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่
อสังคมและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการเติบโตไปด้วยกัน
