ยิ่งใหญ่อลังการ!งาน "๓๒ ปีอำเภอเบญจลักษ์ เทศกาลอาหาร พืชผักปลอดสาร หมู่บ้านยั่งยืน"

ยิ่งใหญ่อลังการ!งาน "๓๒ ปีอำเภอเบญจลักษ์ เทศกาลอาหาร พืชผักปลอดสาร หมู่บ้านยั่งยืน"





Image
ad1

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ลั่นฆ้องมงคลเปิดงาน"๓๒ ปีอำเภอเบญจลักษ์ เทศกาลอาหาร พืชผักปลอดสาร หมู่บ้านยั่งยืน" พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงาน โดยมี นายธนเดช พระอารักษ์ นายอำเภอเบญจลักษ์ กล่าวรายงานว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอเบญลักษ์ ให้เป็นเมืองหลักทางการเกษตรที่มีคุณภาพ โดยเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัย และเป้าหมายหลักในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดศรีสะเกษและอีสานตอนใต้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นแลผู้บริโภคมี ความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว

อนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

ทั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษท้องถิ่น มีพื้นที่ ๓๓๑.๓๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐๗,๐๖๒.๕๐ ไร่อำเภอเบญจลักษ์ มี ๕ ตำบล ๖๗ หมู่บ้าน ๕ ๕ องค์กรปกครองส่วน(สองแสนเจ็ดพันหกสิบสองจุดห้าสิบไร) ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนยางพารา อาชีพเสริมพืชผักสวนครัว การปศุสัตว์ เลี้ยงโคพันธ์เนื้อ เลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ - ไข่ เลี้ยงสกรมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ มีผลมถิดทางการเกษตรในพื้นที่เป็นจำนวนมาก รวมถึงการปศุสัตว์ มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการเกษตร

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเละสร้างกลไกการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ทั้ง ๗ ภาคี ให้เป็นไปตามหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน(Sustainable village) ยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีอาชีพ มีรายได้สร้างความเข้มแข็งและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อำเภอเบญจลักษ์จึงได้จัดทำกิจกรรม โครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมการเกษตร การท่องเที่ยว และการสืบสานประเพณีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๘ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้"ทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที" รู้เท่าทันความเป็นไปของโลกให้มากเพียงพอจะเปลี่ยนวิกฤติและสร้างโอกาสต้องมีความทันสมัย เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในสังคม อีกทั้งต้องมีความคล่องตัวว่องไว ตอบสนองต่อความต้องการของ พี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ธนเดช พระอารักษ์ นายอำเภอเบญจลักษ์

โดยได้กำหนด นโยบาย ๕ ข้อหลัก ดังนี้
๑. การจัดระเบียบสังคมปราบปรามผู้มีอิทธิพล
๒. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓. สร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้ประชาชน
๔. ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐานราก
๕. น้ำดื่มสะอาดบริการประชาชน

รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ ที่มุ่งเน้นให้ จังหวัดศรีสะเกษเป็น"ดินแดนเกษตรปลอดภัย การค้าและการท่องเที่ยวครบวงจร" โดยมีประเด็นการ พัฒนา ๕ ด้าน ดังนี้ ๑. ประเด็นการพัฒนาที่ ๑ คือ ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานอย่างครบวงจร ๒. ประเด็นการพัฒนาที่ ๒ คือ ส่งเสริมขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวและกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ๓. ประเด็นการพัฒนาที่ ๓ คือ พัฒนาเมืองน่าอยู่ สู่คุณภาพชีวิตประชาชนในทุกมิติ ๔. ประเด็นการพัฒนาที่ ๔คือ อนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืน๕. ประเด็นการพัฒนาที่ ๕ คือ การเสริมสร้างความมั่นคง และการค้าชายแดบเชื่อมโยงอาเชียน รวมถึงเป้าหมายของโครงการ คือ

๑. เพื่อตอบสนองต่อแผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษในประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ ๑"ด้านเศรษฐกิจ"
๒. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่สืบไปไปเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ
๓. เพื่อสร้างอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนในพื้นที่อำเภอเบญจลักษ์
๔เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพนีวัฒนธรรมท้องถิ่นถิ่นถิ่น

๕. เพื่อยกระดับงานเทศกาลประเพณีและส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ทั้ง ๗ ภาคีในระดับพื้นที่ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่สร้างความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชน มีอาชีพ มีรายได้ ให้มีความมั่นคง มังคั่ง ให้ ศรีสะเกษ ปลอดภัย สัมฤทธิผล ยั่งยืน
ภายในงานจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้ง ๗ วัน ของการจัดงาน ดังนี้

๑. การประกวดผลผลิตทางการเกษตร
๒. การประกวดส้มตำลีลาและอาหารพื้นถิ่น
๓. การประกวดไก่ชน/ไก่พื้นเมือง
๔. การประกวดขับร้องสรภัญญะ
๕. การประกวดรำประกอบดนตรี
๖. การประกวดกิจกรรม To be number one
๗. กิจกรรมรำวงย้อนยุค ฯลฯ
๘. การแข่งขันกีฬาฟุตบอล ๗ คน
๘. การออกบูทจำหน่ายสินค้าการเกษตร /สินค้า OTOP/ตลาดโบราณ/อาหาร/
สินค้าอุปโภคและบริโภค

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน