โคราชแล้ง ลำตะคอง เริ่มวิกฤต เตรียมสูบน้ำบาดาลช่วยพืชศก.ป้องสูญนับพันล้าน

โคราชแล้ง ลำตะคอง เริ่มวิกฤต เตรียมสูบน้ำบาดาลช่วยพืชศก.ป้องสูญนับพันล้าน





Image
ad1

จากสภาพอากาศแปรปรวน พายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา เกิดฝนตกหนักแต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของชลประทานมิได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด มีเพียง อ.โชคชัย และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้รับผลกระทบจากน้ำไหลหลากกัดเซาะถนนซึ่งเป็นจุดก่อสร้างท่อระบายน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) นครราชสีมา ได้รับความเสียหายและอยู่ระหว่างดำเนินซ่อมแซม

สำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ 1.เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ปริมาณน้ำใช้การได้ 33.63 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 11.53 % ของพื้นที่เก็บกัก 314 ล้าน ลบ.ม 2.เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำ 69.28 ล้าน ลบ.เมตร คิดเป็น 45.20 % ของพื้นที่เก็บกัก 155 ล้าน ลบ.เมตร 3.เขื่อนลำมูลบน อ.ครบุรี ปริมาณน้ำ 50.47 ล้าน ลบ.เมตร คิดเป็น 37.67 % ของพื้นที่เก็บกัก 141 ล้าน ลบ.เมตร และ 4.เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี ปริมาณน้ำ 112.79 ล้าน ลบ.เมตร คิดเป็น 42.09 % ของพื้นที่เก็บกัก 275 ล้าน ลบ.เมตร ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 24 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 120.90 ล้าน ลบ.เมตร คิดเป็น 39.01 % ของพื้นที่เก็บกัก 335 ล้าน ลบ.เมตร

ด้านนายชัยวัฒน์  ชื่นโกสุม ผวจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ประเมินต้นทุนน้ำดิบในสถานเขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแชะและเขื่อนลำมูลบน หากปริมาณน้ำฝนตกไม่ถึง 1 พันมิลลิเมตร จนถึงช่วงฤดูฝน ทั้ง 3 เขื่อน ยังเหลือน้ำต้นทุนร้อยละ 80 สามารถใช้น้ำได้ตามความเหมาะสม ก่อนน้ำจะเข้ามาเติมในช่วงฤดูฝน ขอให้นายอำเภอ ฯ ชลประทานและเกษตรอำเภอ ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนและเกษตรกรถึงแนวทางการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้เขื่อนลำตะคอง ยังวิกฤต ต้องสงวนน้ำไว้ใช้รักษาระบบนิเวศน์และอุปโภค บริโภครอฝนตกลงมาเติม ภาคส่วนเกี่ยวข้องต้องลงพื้นที่สร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยืนต้น พืชสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน เงาะ ขนุน มะม่วง ฯลฯ ในพื้นที่ กว่า 1 หมื่นไร่ อ.ปากช่อง อ.หนองบุญมาก อ.เสิงสาง และอ.ครบุรี โดยแสวงหาน้ำบาดาลเตรียมสำรองใช้กรณีวิกฤต เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ลดความเสี่ยงเกิดความเสียหายกับผลผลิตที่มีมูลค่านับพันล้านบาท อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำที่มีอยู่ในขณะนี้ สามารถบริหารจัดการได้ มีใช้อย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลนในช่วงตลอดฤดูแล้งนี้