หมูหันกู้วิกฤตราคาตกต่ำสำเร็จ ใต้แห่ตัดวงจรลูกสุกรคึกคัก

หมูหันกู้วิกฤตราคาตกต่ำสำเร็จ ใต้แห่ตัดวงจรลูกสุกรคึกคัก





ad1

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ระบายหมูแปรรูปเป็นหมูหัน เพื่อลดวงจรการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพ คึกคัก เป้าหมายตัดวงจร 450,000 ตัว ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า จากโครงการตัดวงจรลูกสุกรทำหมูหันตามโครงการกรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมการค้าภายใน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ จัดขึ้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรขุน  ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายตัดวงจรลูกสุกรน้ำหนัก 3-7 กก. ไปทำหมูหัน จำนวน 450,000 ตัวทั่วประเทศ  ระยะเวลา 6 เดือน

ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงที่มีแม่พันธุ์ตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป ร่วมกันตัดวงจรในงวดแรกจำนวน 75,000 ตัว  และทางสมาคม ได้ขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงในพื้นที่ภาคใต้ เขต 8 และ 9 ร่วมกันตัดวงจรลูกหมูงวดแรก 7,000 ตัว
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่เขต 8 ประกอบด้วย บริษัท ฟาร์เมช จำกัด บริษัท ตรังวัฒนาฟาร์ม จำกัด บริษัท ก้าวหน้าปศุสัตว์ จำกัด และเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ส่งมอบลูกสุกรจำนวน 863 ตัว ให้กับผู้ประกอบการทำหมูหันเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม  

และในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนลูกสุกรจำนวน 1,000 ตัว จาก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยมีท่านสัตว์แพทย์ ดร.อนิรุท เนื่องแม๊ก ปศุสัตว์เขต 9  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ด่านกักสัตว์ นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ มาร่วมตรวจและให้คำแนะนำในการส่งมอบลูกสุกรให้เป็นไปหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสัตว์และสามารถส่งมอบลูกสุกรให้กับผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการหมูหันเป็นที่เรียบร้อย และเมื่อรวมกับเที่ยวแรก ทางผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ภาคใต้ เขต 8 และ 9 ได้ร่วมตัดวงจรลูกสุกรรวมแล้ว 1,863 ตัว

นายปรีชา กล่าวอีกว่า สำหรับในเที่ยวต่อไป บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) จะร่วมตัดวงจรลูกสุกรจำนวน 1,000 ตัว ทั้งนี้อยู่ระหว่างดำเนินการนัดหมายส่งมอบลูกสุกรในครั้งต่อไป  ซึ่งทางสมาคม คาดว่าผู้เลี้ยงสุกรในภาคใต้จะให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการดังกล่าวจนลุล่วงแล้วเสร็จตามเป้าหมายและถัดไป บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด(มหาชน) ที่จะสนับสนุนการตัดวงจรลูกสุกรในครั้งต่อไป  

“ทั้งหมดได้รับการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายลูกสุกรจากปศุสัตว์เขต 9 เจ้าปศุสัตว์จังหวัด ด่านกักกันสัตว์” นายปรีชา กล่าว

นายปรีชา กล่าวอีกว่า โครงการระบายสุกร เพราะจากเกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลาย จากที่มีการขยายตัวลงทุนเลี้ยงกันสุกรมาก พร้อมกับมีหมูเถื่อนเข้ามาในตลาด และในขณะเดียวกันประกอบกับกำลังซื้อที่อ่อนแรง ทั้งนี้เมื่อระบายออกแล้วต้องประเมินว่าหากไปได้กระเตื้องขึ้นก็จะมีการชะลอ แต่หากยังไม่กระเตื้อง ก็จะดำเนินการระบายในขั้นตอนต่อไป

“โครงการระบายสุกรเป็นผลิตภัณฑ์หมูหันเมื่อระบายแล้วยังไม่มีทิศทางที่ดีขึ้น แสดงว่าส่วนหนึ่งมีหมูอยู่ในตลาดมืดเคลื่อนไหวอยู่ เพราะโดยภาพรวมแล้วผู้บริโภคยังบริโภคเนื้อหมูเป็นอาหารหลักอยู่จะมากหรือน้อย”โดยประการสำคัญกำลังซื้อที่ไม่ดีคือการซื้อสุกรจากฟาร์มของเกษตรกรที่อ่อนตัวไปมาก แต่กลับกันในตลาดค้าขายเนื้อหมูยังไปได้ จึงเชื่อได้ว่าตลาดมืดเนื้อหมูยังมีการเคลื่อนไหว เพราะมีเส้นทางหลากหลายเดินทาง เช่น ทางท่าเรือ ทางชายแดน และทางเขตฟรีโซน “ตลาดสุกรของเกษตรกร ปัจจุบันตลาดที่พอไปได้แต่จะเป็นระยะสั้น ๆ เช่น ฤดูกาลการท่องเที่ยวพักผ่อน เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ เป็นต้น”

นายปรีชา กล่าวอีกว่า สถานการณ์เลี้ยงสุกรขณะนี้ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยรายเล็กมีสถานการณ์หนักมาก โดยเลิกไปแล้วเกินกว่า 50% ด้วย 3 ปัจจัย 1. โรคระบาดสุกร ASF จากที่ผ่านมาและปัจจุบันยังวนเวียนอยู่แต่ไม่รุนแรงที่สามารถควบคุมอยู่ 2. การเลี้ยงประสบภาวะขาดทุนสะสมมาร่วม 1 ปีครึ่ง และ 3. กระทบจากตลาดมืดหมูเถื่อน

นายปรีชา กล่าวว่า ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรได้เรียกร้องไปทุกช่องทางแล้วทั้งทางสำนักนายกรัฐมนตรี ทางกระทรวง ฯลฯ 1. เอาผิดหมูเถื่อนมาลงโทษ 2. ต้องมีการป้องกันปราบปรามหมูเถื่อนอย่างจริงจัง 3. ต้องสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรอย่างจริงจัง 4. ต้องดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้มีที่ยืนที่ประกอบอาชีพต่อไป หากว่าเกษตรกรราย่อยรายเล็กล้มเลิกไป ก็จะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ไปถึงเกตรกรไร่ข้าวโพด และชาวนา เพราะข้าวโพด กากถั่ว รำข้าว ปลายข้าว เป็นอาหารหลักของสุกร และ 5.ผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก จำเป็นต้องปรับตัวให้ยืนอยู่ได้ คือกจาก เลี้ยง 100 แม่ ให้มาเหลือ 20-30 แม่พันธ์ หากเลี้ยง 20 แม่พันธุ์ มาเหลืออยู่ที่ 2 แม่พันธุ์ ทั้งนี้เพื่อรอดูสถานการณ์การบริดภค และกำลังซื้อ เพราะแต่ละรายต่างมีควาพร้อมเรื่องคอกสุกร และแรงงานอยู่แล้ว

“สำหรับตลาดสุกรตอนนี้ราคามีหลากหลาย ตั้งแต่ 56 บาท และถึง 65 บาท / กก. ขณะที่ต้นทุนการผลิตเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 80 บาท / กก. เกษตรกรยังขาดทุนสุกรตัวละ 2,500 บาท” นายปรีชา กล่าว.

โดย....อัสวิน ภักฆวรรณ