เกษตรกรใต้เชือดลูกสุกรทำหมูหันล็อตแรกกว่า 800 ตัวรักษาเสถียรภาพราคา

เกษตรกรใต้เชือดลูกสุกรทำหมูหันล็อตแรกกว่า 800 ตัวรักษาเสถียรภาพราคา





ad1

สมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ระบายลูกหมูทำหมูหันล็อตแรก กว่า 800 ตัว เป้าหมาย 450,000 ตัว เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า  กรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมการค้าภายใน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ จัดโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรโดยการตัดวงจรลูกสุกรทำหมูหัน ปี 2567 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสุกรในประเทศให้มีราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนการเลี้ยง เพื่อช่วยเหลือและสร้างความยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงสุกรของเกษตรกร

โดยการลดปริมาณ supply ส่วนเกินออกจากระบบ ซึ่งกำหนดเป้าหมายตัดวงจรลูกสุกรน้ำหนัก 3-7 กิโลกรัมไปทำหมูหัน จำนวน 450,000 ตัวทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงที่มีแม่พันธุ์ตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป ทั้งนี้งวดแรกจะดำเนินการตัดวงจรลูกสุกรจำนวน 75,000 ตัว ทั่วประเทศ ซึ่งผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ภาคใต้ให้ความร่วมมือตัดวงจรลูกสุกรงวดแรกประมาณ 7,000 ตัว

เริ่มเที่ยวแรกวันนี้ (20 มีนาคม 2567)  ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ฟาร์เมช จำกัด บริษัท ตรังวัฒนาฟาร์ม จำกัด บริษัท ก้าวหน้าปศุสัตว์ จำกัด และเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ รวบรวมลูกสุกรได้จำนวน 863 ตัว ส่งมอบให้กับผู้ประกอบการทำหมูหันเรียบร้อยแล้ว  เที่ยวที่ 2 วนที่ 26 มีนาคม 2567จำนวน 1,000 ตัว สนับสนุนจาก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ส่วนที่เหลือจะทะยอยดำเนินการให้ครบ 7,000 ตัวตามเป้าหมายที่วางไว้

โดยบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ฟาร์เมช จำกัด บริษัท ตรังวัฒนาฟาร์ม จำกัด บริษัท ก้าวหน้าปศุสัตว์ จำกัด เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในพื้นที่ภาคใต้ ที่ได้สนับสนุนการตัดวงจรลูกสุกรเที่ยวที่ 1 และ 2 รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ 

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ