เทศกาลถือศิลอดชาวไทยมุสลิมดันยอดขายเนื้อวัวพุ่ง-ราคาขยับ 10 บาท/กก.

เทศกาลถือศิลอดชาวไทยมุสลิมดันยอดขายเนื้อวัวพุ่ง-ราคาขยับ 10 บาท/กก.





ad1

เดือน “รอมฎอน” ชาวไทยมุสลิมถือศิลอด วัวยอดขายพุ่งราคาปรับตัว 10 บาท / กก. ระบุต้มซุปยอดขายพุ่งเท่าตัวโคยอดขายเพิ่มเท่าตัว 

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 นายอิสมาแอล ช่วยพริก เกษตรกรเลี้ยงโคพื้นบ้าน หมู่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เดือนรอมฎอนซึ่งจะมีการถือศิลอดไปจนครบ 1 เดือน เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา ส่งผลให้บรรยากาศการค้าขายคึกคัก โดยเฉพาะการค้าขายโคพื้นบ้าน ปรากฏว่าราคาโคพื้นบ้าน โคเนื้อ ได้ปรับตัวขึ้นมา 10 บาท / กก. จากราคา 85 บาท ปรับเป็น 95 บาท / กก. สำหรับโคมีมีชีวิต ส่วนเนื้อชำแหละราคาประมาณ 250 – 260 บาท / กก. 

นายอิสมาแอล กล่าวอีกว่า ในเดือนรอมฎอน พ่อค้าโคพื้นบ้านเฉพาะ 1 ราย ที่เคยนำส่งชำแหละให้เขียงเนื้อวันละ 1 ตัว และ หรือ 2 วัน  1 ตัว ปรากฏว่าในเดือนอรมฎอนต้องส่งเป็นประจำทุกวันจากที่เคยส่ง 1 ตัว ได้ปรับขึ้น 2 ตัว / วัน  เท่ากับปรับขึ้นเท่าตัว

“โคพื้นบ้านที่นำไปเป็นอาหารหลักในเดือนรอมฎอน โดยเฉพาะซุปเนื้อวัว เป็นดับต้น ๆ  ซึ่งแม่ค้าพ่อค้าอาหารจะแปรรูปเป็นเมนูหลักโดยบางร้านขายเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าตัว จาก 1 หม้อ เป็น 2 หม้อ” 

ทางด้าน นายวิรัตน์ รอดนวล ประธานวิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงวัวลังกาสุกะพัทลุง- ประธานกรรมการ บริษัท ลังกาสุกะฟาร์ม จำกัด  เปิดเผยว่า ในปี 2567  คนเลี้ยงโคพื้นบ้านปรับดีขึ้นจากที่ได้ตกต่ำสุด ราคามาอยู่ที่ 70 บาท / กก.  โดยเมื่อต้นปี 2567 ราคาได้ปรับตัวขึ้นมาเป็น 80 บาท / กก. ปรับตัวขึ้นมา 10 บาท / กก. แลบะทยอยปรับตัวขึ้นอีก และมีแนวโน้มว่าปี 2567 นี้ราคาจะดีขึ้นประมาณครึ่งปี

เหตุจากจะมีกิจสำคัญศาสนาอิสลาม ทั้งในเดือนรอมฎอนถือศิลอด จะต้องมีการบริโภคเนื้อโคแทบจะทุกครัวเรือนและถัดไปอีกระยะ 2 เดือน จะมีการทำพิธีกุรบันต้องใช้โคพื้นบ้านเช่นกัน

“ในห้วงระยะนี้โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิม จะบริโภคเนื้อโคกันทั่วประเทศ ในส่วนภาคใต้ในเดือนรอมฎอนขั้นต่ำกว่า 2,000 ตัว”  นายวิรัตน์ นายวิรัตน์ กล่าว 
และเฉพาะที่ผ่านมามีการเคลื่อนย้ายโคเข้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ไม่ต่ำกว่า 1,500 ตัวอยู่แล้ว / เดือน และถัดจากนั้นอีก 2 เดือน ก็จะมีการทำพิธีกุรบันอีกต้องมีโคหลายหมื่นตัว โดยปีที่ผ่านมา  ๆ จะไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัว
 
“ตอนนี้การซื้อขายโคเพื่อนำไปเลี้ยงขุนเพื่อออกจำหน่ายในเดือนรอมฎอนและในพิธีกุรบัน ได้ขับเคลื่อนการซื้อขายนำไปเลี้ยงขุนกันแล้วกันมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567”.

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ