ยกระดับความร่วมมือพัฒนาศักยภาพแข่งขันด้านยาพาราเหนือเพื่อความยั่งยืน

ยกระดับความร่วมมือพัฒนาศักยภาพแข่งขันด้านยาพาราเหนือเพื่อความยั่งยืน





ad1

การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือ MOU กับบริษัทเอกชน เดินหน้าส่งเสริมความร่วมมือพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านยางพาราเพื่อความยั่งยืน ขณะที่กรรมการการยางแห่งประเทศไทย วอนรัฐบาลดัน "โฉนดต้นยางพารา"

นายไสว นารีพล ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือ พร้อมด้วย นายศุภชัย แข่งขัน ผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดเชียงราย  นายสวัสดิ์ ลาดปาละ ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดลำปาง จำกัด และ นายเทพกุล พูลลาภ กรรมการบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านยางพารา ร่วมกับผู้ประกอบกิจการยางเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน   โดยมีนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  มีสมาชิกและเครือข่ายเข้าร่วมในพิธีการบันทึกข้อตกลงกว่า 900 คน  เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมืองน่าน

โดยบันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าว เป็นความร่วมมือด้านการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูปและการตลาดยางพารา ให้มีความเข้มแข็งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน  ซึ่งในโอกาสนี้ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ได้มอบรถตักยาง 5 คัน และงบสร้างลานตากยาง ขนาด 4,000 ตร.ม. ให้เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือ จังหวัด พะเยา  น่าน  ลำปาง และ เชียงราย มูลค่ารวม 16.45 ล้านบาท  และสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดลำปาง จำกัด  ได้ส่งมอบยางก้อนถ้วยในโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 6,000 ตัน

ดร.เพิก  เลิศวังพง  ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า นโยบายในการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืนที่สำคัญ คือ การสร้างปัจจัยการผลิตแบรนด์การยางเพื่อลดต้นทุนและการติดอาวุธทางความรู้และเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถอยู่ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ด้านการสร้างความพอใจให้กับพี่น้องเกษตรกร คือ การบริหารจัดการโรคใบร่วงอย่างจริงจัง และเร่งออกโฉนดไม้ยางทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และ สร้างตลาดยางมาตรฐานเดียวกัน 500 ตลาด ทุกท้องถิ่นทั่วไทย รองรับ EU Deforestation – free Products Regulation (EUDR)   การผลิตยางล้อแบรนด์การยาง  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง ดูดซับปริมาณผลผลิตยางออกจากตลาด 4000,000 ตัน/ปี และ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของสถาบันเกษตรกร เน้นการทำตลาดแบบจริงจัง ทั้งนี้เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง

โดยเฉพาะ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ลและบริการที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่จะต้องสามารถแสดงหลักฐานยืนยันแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ระบุให้ทราบว่าไม่ได้มาจากแหล่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่มรดกโลก หรือ พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นกรรมการการยางแห่งประเทศไทย   จึงผลักดันการรับรองและเร่งออกโฉนดไม้ยางทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กว่า 10 ล้านไร่  ให้ขึ้นทะเบียนต้นยางและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางให้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นเอกภาพ  และ การยางแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ ธ.ก.ส. เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่จะใช้โฉนดไม้ยางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอรับบริการสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 

เช่นเดียวกับไม้ยืนต้น 52 ชนิด และโฉนดไม้ยาง ยังทำให้กระบวนการรับซื้อยางพาราสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปได้ถึงสวนยางที่ปลูก สอดรับกับ EU Deforestation – free Products Regulation (EUDR) เพิ่มมูลค่ายางพาราไม่ต่ำกว่า 3 บาท / กิโลกรัม  รวมถึงการเข้มงวดการนำเข้ายางเถื่อนอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ  การเข้มงวดในการตรวจสอบสต๊อกในประเทศ เพื่อควบคุมการนำเข้าหรือกักตุนและเก็งกำไร และการทำสวนยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยหลัก BCG และ คาร์บอน เครดิต