'ธรรมนัส'รับปากเร่งแก้วิกฤติหมูราคาตกต่ำ-หนุนส่งออกมาเลเซีย

'ธรรมนัส'รับปากเร่งแก้วิกฤติหมูราคาตกต่ำ-หนุนส่งออกมาเลเซีย





ad1

รมต. เกษตรฯ ลงพื้นที่จังหวัดพัทลุง รับหนังสือจากสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ รับปากจะดำเนินการให้ทันที    ชื่นชมโมเดลแก้จน ม.ทักษิณ พร้อมเปิดเสวนา “สร้างนวัตกรรมด้วยแรงบันดาลใจ เพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรไทยในเวทีโลก”

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยมีนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวรายงาน  และร่วมต้อนรับ ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชน สำหรับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชน ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 เป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านยางพาราแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตยางพาราขั้นต้นน้ำและจนถึงปลายน้ำมีนักวิจัยนักวิชาการและบุคลากร โดยได้รับงบประมาณจากรัฐในการก่อตั้งโรงงานต้นแบบและศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถแปรรูปยางธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งเครื่องอัดขึ้นรูป และเครื่องฉีดขึ้นรูป เป็นต้นแบบ

ปัจจุบันที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชนแห่งนี้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อาทิ แผ่นยางปูพื้น หลังจากนั้นได้เดินทางไปยังอาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเปิดงานเสวนา “สร้างนวัตกรรมด้วยแรงบันดาลใจ เพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรไทยในเวทีโลก”และกล่าวปาฐกถา หัวข้อ “เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” พร้อมทั้งมอบเอกสารสิทธิ์ สปก.4-01 จำนวน 10 ราย

หลังจากนั้นได้เยี่ยมชมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้จัดแสดงนิทรรศการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงของมหาวิทยาลัยทักษิณ และนิทรรศการโครงการสำคัญด้านการเกษตร โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง และได้เดินทางไปยังวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ต.พนางตุง จ.พัทลุง โดยได้เข้าเยี่ยมชม “โมเดลแก้จนมหาวิทยาลัยทักษิณ” ณ วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ได้มีการปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่และการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เหมาะสม ด้วยรูปแบบการพัฒนา “พัทลุงโมเดล” ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 

การพัฒนาโมเดลดังกล่าวภายใต้ชื่อโครงการ “กระจูดแก้จน” เปิดโอกาสให้คนจนเข้าสู่กระบวนการของโครงการด้วยการสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้ คุณภาพชีวิต และสร้างรายได้เพิ่ม โดยมีศูนย์หัตถกรรมกระจูดวรรณีเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดพัทลุง

โดยมีหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สนับสนุนทุนวิจัย ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผนวกกับองค์ความรู้ทางด้านศิลปกรรมการออกแบบโดยคณาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ใช้วิธีการ Coaching เน้นการเพิ่มทุนมนุษย์จากกระจูด จัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้เชิงทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจริง การพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืน และการพัฒนาการตลาดในยุคดิจิทัล เพิ่มทุนสังคม ด้วยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนจน เป็นวิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ (Lenoi Craft Community Enterprise) เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน 

นอกจากนี้ ยังได้เข้าเยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก Globally Important Agricultural Heritage Systems (GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย  ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร นับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และนำภาคเกษตรสู่ความยั่งยืน

ด้าน นายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ตัวแทนสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ นายชธิตถ์ ภักดีบุรี เลขาธิการสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ และตัวแทนสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ ได้เข้าพบเพื่อยื่นหนังสือถึง รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เดินมาพร้อมด้วยรองอธิบดีกรมปศุสัตว์  ถึงผลการดำเนินการของสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ จ.พัทลุง โดยกลุ่มสมัชชาให้รัฐบาลดำเนินการสนับสนุนช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เช่น  

จากนั้นนายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ตัวแทนสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ นายชธิตถ์ ภักดีบุรี เลขาธิการสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ และตัวแทนสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ ได้เข้าพบเพื่อยื่นหนังสือถึง รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เดินมาพร้อมด้วยรองอธิบดีกรมปศุสัตว์  ถึงผลการดำเนินการของสมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ จ.พัทลุง โดยกลุ่มสมัชชาให้รัฐบาลดำเนินการสนับสนุนช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เช่น  ว่า ทางสมัชชาฯ ได้รวมตัวกันเพื่อเสนอแนวคิดและข้อเรียกร้องต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสุกรในพื้นที่เขตภาคใต้ เป็น 3 ระยะ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ระยะสั้น อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยผลักดันราคาขายสุกรในพื้นที่ให้เป็นไปตามโครงสร้างการผลิต สุกรและการสมดุลกับการซื้อขายในตลาด เพื่อลดปัญหาการขาดทุนสะสมของกลุ่มผู้เลี้ยงเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันต้นทุนการผลิตขายสุกรขุน ณ.ปัจจุบันอยู่ที่ 75 - 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ขายได้เพียงราคา 50 - 55 บาท ต่อกิโลกรัม

ระยะกลาง อยากให้ภาครัฐช่วยเพิ่มช่องทางการส่งออกสุกร ไปยังประเทศเพื่อนบ้านในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดการสะสมของสต็อกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เนื่องจากในเขตภาคใต้จะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลฝนในช่วงปลายปี ซึ่งจะส่งผลให้กําลังซื้อขายสุกรลดลงเป็นอย่างมาก จะเป็นผลให้ปริมาณสุกรมีชีวิตในพื้นที่จะเกิดการสะสมสต็อกขึ้นเป็นจํานวนมากและในระยะยาว อยากให้ภาครัฐเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลการผลิตสุกรในพื้นที่เขตภาคใต้ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเกิดความสมดุลระหว่างผู้เลี้ยงรายย่อยและผู้เลี้ยงรายใหญ่

นายชธิต  เปิดเผยอีกว่า ในปี 2566 สุกรภาคใต้ในส่วนแม่พันธุ์มีปะมาณ 100,000 แม่พันธุ์ ลูกสุกรขุนประมาณ 700,000 ตัว ขณะนี้สุกรเกินโควตาล้นตลาดประมาณ 30,000 ตัว / เดือน และยังมีสุกรผ่าซีก สุกรชิ้นส่วน ไหลออกสู่ตลาดช่องซึ่งทางการตลาดสุกรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง จนส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ส่งผลให้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ กว่า 50 – 57 บาท / กก. ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 70-85 บาท / กก. เวลานี้ขาดทุนตัวละ 2,000 บาท
แนวทางที่รัฐบาลต้องสนับสนุนคือการส่งออกสุกรต่างประเทศคือประเทศมาเลเซีย ที่ถือว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านและเส้นทางระยะใกล้สุด ส่วนประเทศเวียดนามหากมีการส่งออกต้นทุนการผลิตก็จะเพิ่มขึ้นอีก

“สำหรับประเทศมาเลเซียจะสามารถส่งออกได้ถึงประมาณ 5,000 ตัว / เดือน ถือว่าจะเกิดความล่องตัวกับผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยไปในทิศทางที่ดี”

ในส่วนแนวทางการปรับลดพื้นที่การเลี้ยงสุกรเพื่อสร้างความสมดุลดีมานด์ซัพพลาย และจะต้องปรับโครงสร้างราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต เพราะที่สำคัญราคาอาหารสุกรจะสูงมากสาเหตุภาคใต้ ไม่มีโรงงานผลิตอาหารสุกร
นายชธิต กล่าวอีกว่า สถานการณ์สุกรทางภาคใต้ สุกรช่วงโลว์มีประมาณ 4 เดือน คือตั้งแต่เดือนกันยายน - พศจิกายน และจะถึงสิ้นปี เพราะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน  และเทศกาลกิเจ ช่วงหน้าฝนนั้นส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกอันดามัน
จะถดถอยลง ได้ส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายสุกรจะลดลงประมาณ 30 % และจะถึง 50 %.

“ในรอบ 30-40 ปีก็ว่าที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรได้รับผลกระทบหนักมาก”. 

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ