ม.เกริก เคาะแคมเปญ “การศึกษาไร้พรมแดน” พร้อมส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยในอาเซียน - จีน - อาหรับ อย่างน้อย 1 เทอม

ม.เกริก เคาะแคมเปญ “การศึกษาไร้พรมแดน” พร้อมส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยในอาเซียน - จีน - อาหรับ อย่างน้อย 1 เทอม





ad1

มหาวิทยาลัยเกริก โดยวิทยาลัยนานาชาติอิสลากรุงเทพ ให้การต้อนรับการมาเยือนของ คณะผู้แทน จาก Universitas Islam Negeri, Yokyakata นำโดย Dr. Mochamad Sodik,S.Sos,M.Si  คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, Dr. Sulistyaningsih,S. Sos,M.Si  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาสถาบัน , Lisnawati,S.Psi,M.Psi, Psikolog หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา, Dr. Muryanti,S.Sos,M.A  หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยา, Dr. Diah Ajeng Purwani,M.Si เลขานุการภาควิชานิเทศศาสตร์ เพื่อหารือและลงนามความร่วมมือ MOU ทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเกริก และ Universitas Islam Negeri ประเทศอินโดนีเซีย

ในการนี้ รศ. สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก ได้ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย ศ.ดร.จรัญมะลูลีม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ กรุงเทพ อาจารย์ชนิดาภา หนูนวลวุฒิวงศ์ หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกริก อาจารย์สราวุธ และซัน รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ดร.บัณฑิต อารอมัน ผู้ช่วยคณบดี ดร.ปริญญา ประหยัดทรัพย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ดร.สมีธ อีซอ ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม  อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับ อาจารย์สมศักดิ์ ซูโอ๊ะ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ อาจารย์ซารีฮาน ขวัญคาวิน อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ

โดย รศ. สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเกริก และกล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยเกริกที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนานกว่า 70 ปี ที่เปิดให้ศึกษาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยเกริกถือเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มีนักศึกษาหลายสัญชาติทั้งไทย จีน พม่า อินโดนีเซีย บังกลาเทศ ยังรวมไปถึงชาวไทยที่เกิดและเติบโตที่ประเทศซาอุดีอาระเบียที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาสื่อสารอีกด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยเกริกถือเป็นอีกมหาวิทยาลัยชั้นนำในหลายแขนง และเปิดการสอนในหลายคณะซึ่งถูกเป็นที่รู้จัก รวมถึงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้วยการรวมซึ่งพหุวัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยมีความยินดีที่จะทำความร่วมมือด้านวิชาการร่วมกับ Universitas Islam Negeri ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมกันพัฒนาด้านการศึกษาของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เจริญร่วมกันอย่างยั่งยืน

ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม คณบดี ได้กล่าวแนะนำวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ถึงการเป็นวิทยาลัยการศึกษาด้านการบูรณาการอิสลามแห่งแรกละแห่งเดียวใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพนั้นเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่บูรณาการวิชาในบริหารธุรกิจเข้ากับหลักการของศาสนาอิสลามเข้าด้วยกัน โดยมีทั้ง 3 ด้าน ซึ่งเป็นด้านที่ประเทศไทยขาดทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก แบ่งออกเป็น 3 วิชาเอก ที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
1. กลุ่มการเงินอิสลาม (Islamic Finance)
2. กลุ่มอุตสาหกรรมฮาลาล (Halal Industry)
3. กลุ่มการบริการจุดการฮัจย์และอุมเราะห์ (Haj and Umrah Services and Management )
โดยในระดับปริญญาเอกนั้นนั้นมีการเพิ่มวิชาเอกเข้าไปอีก 2 วิชาเอก คือ  
1.กลุ่มนวัตกรรมธุรกิจ ไทย ตะวันออกกลาง (Thai-Middle East Business Innovation)
2.กลุ่มการจัดการการบริการธุรกิจสุขภาพฮาลาล (Halal Tourism and Health Business Management)
อีกทั้งยังมีการเปิดสอนหลักสูตรบริหารการศึกษาอิสลามในระดับปริญญาโท ที่เป็นหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการศึกษาอิสลามในประเทศไทยให้เป็นระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกับนานาชขาติได้

ต่อมา Dr. Mochamad Sodik,S.Sos,M.Si  คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้กล่าวถึงการร่วมมือด้านวิชาการที่จะมีร่วมกันระหว่าง Universitas Islam Negeri และมหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งการเดินทางมาเยือนในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเดินทางมาเพื่อทำความร่วมมิเพียงเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีที่จะมีร่วมกันในหลายภาคส่วนด้านวิชาการ และยังกล่าวชื่นชมการบริหารจัดการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกริกโดยเฉพาะการบริหารด้านวิชาการได้อย่างดีเยี่ยมในทุกแขนง อันเป็นสิ่งที่มาย้ำเตือนความมั่นใจในการทำความร่วมมือระหว่างสองสถาบัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถาบันอุดมศึกษาสองสถาบันนี้จะร่วมกันสร้างความก้าวหน้าทางการศึกษา อันเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่จะทำให้ประชาคมอาเซียนเติบโตไปด้วยกัน
 
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกริก โดย รศ. สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก และ Universitas Islam Negeri โดย Dr. Mochamad Sodik,S.Sos,M.Si  คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นผู้แทนในการทำข้อตกลงความร่วมมือท่างวิชาการระหว่างสองสถาบัน อันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษา