นักวิชาการมข.ห่วงการเมืองเล่นตุกติก-ดึงเกมยื้อเวลากระตุ้นมวลชนลุกฮือทั้งประเทศแน่

นักวิชาการมข.ห่วงการเมืองเล่นตุกติก-ดึงเกมยื้อเวลากระตุ้นมวลชนลุกฮือทั้งประเทศแน่





ad1

นักวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นห่วงการเมืองเล่นตุกติก ดึงเกมยื้อเวลา รอศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดพ้นสภาพการเป็นส.ส. "พิธา" พร้อมแนะหากเป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตยจะไม่เกิดปัญหา แต่ถ้ายังดื้อมวลชนลุกฮือทั้งประเทศแน่นอน

บรรยากาศที่จังหวัดขอนแก่นขณะนี้มวลชนต่างๆยังคงเก็บตัวเงียบ ยังคงไม่มีความเคลื่อนไหวผใดๆหลังผิดหวังสภาโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ไม่ผ่าน เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2566 ที่ผ่าน

รศ.ดร.พรอัมรินทร์ พรหมเกิด อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. กล่าวว่า ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนคนไทยเท่านั้นที่จับตาดูการโหวตนายกรัฐมนตรีแต่เป็นที่จับตามองของทุกคนทั่วโลกเนื่องจากส่งผลต่อการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งหากกระบวนการทางประชาธิปไตยเป็นไปอย่างถูกต้องเรื่องมวลชนเรื่องปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้คือผักกระบวนการเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยไม่เกิดความถูกต้องเป็นธรรมมีการดึงเกมยื้อเวลา เพื่อรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดปมนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือหุ้นสื่อไอทีวี จนต้องพ้นสภาพขาดจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

"ถ้าวันนี้การโหวตนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ นายพิธา เชื่อว่ามวลชนต่างๆจะพากันออกมาลงสู่ถนนอย่างแน่นอน และในมุมความรุนแรงนั้นหากมีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้นมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมการสลายการชุมนุมเองก็ไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายและเชื่อว่าทางเจ้าหน้าที่ที่มีอาวุธจะไม่ทำให้ประวัติศาสตร์ที่มีการสูญเสียเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนเพราะตอนนี้คงจะรู้แล้วว่าประชาชนไม่ต้องการเผด็จการหรือการสืบทอดอำนาจ สิ่งที่ต้องการตอนนี้คือต้องการคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องมองหน้ามองหลังสามารถ เข้ามาแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและตรงไปตรงมาโดยไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง"

รศ.ดร.พรอัมรินทร์ กล่าวต่ออีกว่า  การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศวางมือจากการเมือง ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ   กรณีนี้แม้ว่าจะมีเบื้องลึกเบื้องหลังแต่ก็คงทำอะไรไม่ได้มากเพราะที่ผ่านมาประชาชนทุกคนเห็นแล้วว่าการเมืองที่มีทหารมาบริหารเป็นอย่างไร ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ที่เผด็จการทหารเข้ามาบริหารก็เป็นตัวชี้วัดอยู่แล้ว ว่าประชาชนยังต้องการอยู่หรือไม่ ซึ่งก็มีหลายคนจับตา อาจเป็นเหมือนที่อินโดนีเซียซึ่งซึ่งจากเดิมที่เคยมีการปกครองแบบทหารและมีประชาชนออกมาขับไล่จนกระทั่งปัจจุบันสามารถเอาทหารออกจากการเมืองการปกครองไปได้

ขณะที่ น.ส.อัญชลีพร อ่ำเอี่ยมศรี อายุ30 ปี ชาว จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ส่วนตัวมีคาดหวังว่าในการโหวตนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากที่ประชาชนตัดสินเลือกกันมาตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยประเทศไทยรอความเป็นประชาธิปไตยมานาน อยากให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ อยากให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นคนที่เข้าใจประชาชนจริงๆ เข้าถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการ และยังเห็นด้วยกับพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะถูกเลือกมาจากประชาชนที่จะให้เป็นตัวแทนและเอาประชาธิปไตยคืนคนไทย อยากให้คนที่มีสิทธิ์โหวดนายกรัฐมนตรีเข้าใจถึงบริบทคนรุ่นใหม่อย่ายึดติดให้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเคารพในการตัดสินของประชาชน ตอนนี้ขอเพียงให้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วและมีนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ได้ทำงานก่อนจึงจะรู้ว่าดีหรือไม่ดีซึ่งตอนนี้เองไม่มีใครสามารถตอบได้เพราะเป็นเรื่องของอนาคต