วันนักข่าว–สื่อท้องถิ่นต้องหลอมรวมกับแพลตฟอร์มใหม่-เก่าในการนำเสนอ-รายงานข่าวให้อยู่รอดได้

วันนักข่าว–สื่อท้องถิ่นต้องหลอมรวมกับแพลตฟอร์มใหม่-เก่าในการนำเสนอ-รายงานข่าวให้อยู่รอดได้





ad1

วันนักข่าว–สื่อท้องถิ่นต้องหลอมรวมกับแพลตฟอร์มใหม่-เก่า  ในการนำเสนอ-รายงานข่าวให้อยู่รอดได้   ขณะสื่อส่วนกลางปรับแนวทางการสื่อสาร-รายได้ให้สัมพันธ์ที่ดีระหว่างส่วนกลางกับสื่อตามภูมิภาค

ในโอกาวสันนักข่าว นายมานิตย์  สนับบุญ ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า  พบทั้งสื่อมวลชนทั้งส่วนกลาง และ สื่อส่วนท้องถิ่นต่างพยายามปรับกลยุทธ์  ในการทำงานในองค์กร – พัฒนาแนวทางให้สามารถดำรงอยู่รอด

อาทิใน สื่อส่วนกลาง  AMARIN  TV.  ได้จัดสัมมนาให้ สื่อส่วนภูมิภาค ภาคกลาง และภาคตะวันออก ได้เรียนรู้  นโยบาย - ระบบ – บุคลากร -  แนวทางในการทำงาน ของฝ่ายข่าว   ในภาคข่าวต่าง ๆ ของทางสถานีที่นำเสนอข่าวสารสู่ประชาชน  เพื่อให้เกิดการประสานงานรวดเร็ว รอบด้าน  ในการนำเสนอสู่ประชาชน  ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทีมงาน หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน   ที่จะได้รับความร่วมมือ  การสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและแนวทางการนำเสนอแบบใหม่ ๆ ...

ขณะที่    นายจักรกฤชณ์. แววคล้ายหงษ์. อายุ 63 ปี  นายกสมาคมสื่อสารมวลชน จ.ตราด  กล่าวว่า   ในโอกาสวันนักข่าว  นี้  ตนเองมีอาชีพทำข่าว   มายาวนานตั้งแต่เรียนในมหาวิทยาลัย และ  เริ่มทำเป็นอาชีพในปี 2526 จนถึงปัจจุบัน  

โดยปัจจุบัน   เป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จ.ตราด  ชื่อหนังสือพิมพ์ประชามติ  ซึ่งวันนี้ครบ 32 ปีแล้ว  และ ยังเป็นสื่อส่วนภูมิภาค (สตริงเกอร์)  ให้กับทั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และ หนังสือพิมพ์ หลายสื่อ  โดยหลัก ๆ อาทิ  หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์  หนังสือพิมพ์มติชน  ข่าวสด  สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี   เป็นต้น  

จากประสบการณ์ทำข่าวในท้องถิ่น  ตนเองนั้นเกิดจากสื่อเก่า (วิทยุ หนังสือพิมพ์ เคเบิลทีวี.)  แต่หลังการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโยทางการสื่อสาร  ต้องปรับตัวเข้ากับ  -  สื่อโซเชี่ยลให้ก้าวทันเทคโนโลยี   เพราะสื่อแบบเก่าทำให้ - สื่อเก่าไม่สามารถตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่ได้   หลายสื่อ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ  ต้องยกเลิกกันไปเลย   แล้วพากันไปยกระดับ  สร้างแบบออนไลน์ อาทิ เพจข่าว   เวปไซต์   พัฒนายกระดับเป็นสื่อยุคใหม่ได้

แต่พบรายได้สื่อแบบออนไลน์ในท้องถิ่นนั้น    ไม่สามารถตอบสนองให้ยืนอยู่ได้    เพราะออนไลน์เป็นข้อเท็จจริงในการรับรู้   คนกดไลค์แชร์ไม่มากพอ คนที่จะมาลงโฆษณาหากกดไลน์-แชร์น้อยไม่มาลงโฆษณา ผู้ประกอบการตัดสินใจลงไม่ลง ทำให้รายได้จากออนไลน์สื่อท้องถิ่นอยู่ไม่ได้     หลายสื่อต้องหลอมรวม  พร้อม ๆ ทำส่งขายข่าวส่วนกลางด้วยในตัว  

การเป็นสื่อเก่าจะน่าเชื่อถือมากกว่าสามารถเก็บรายละเอียดเจาะลึกได้  ไม่อยากให้ทิ้ง    แต่ออนไลน์ช่วยสื่อเก่าได้  นำไปออกรายวัน แล้วนำมาออกสื่อเก่า   จะลดต้นทุนได้  ดำรงชีพได้ระดับหนึ่ง

แต่ปัญหาคือ จริยธรรม  อันมาหลัก ๆ   ท้องถิ่นรายได้ไม่เพียงพอ  อาทิ การโฆษณา  การทำข่าวแล้วรับซอง การไปขอรับผลประโยชน์จากนักธุรกิจ  นักการเมือง   เป็นการสร้างปัญหาติดตามมา เช่น การร้องเรียน  ทำให้สื่อไม่สามรถสร้างความน่าเชื่อถือได้  วันนี้จะมีการควบคุมสื่อแบบนี้อย่างไรได้บ้าง   ที่จะสร้างปัญหากับองค์กรวิชาชีพที่จะกระทบอาชีพในอนาคต

อยากให้เพื่อน ๆ สื่อมวลชน  โดยเฉพาะในท้องถิ่น   พัฒนาความรู้ เครื่องไม้เครื่องมือให้ตอบสนองผู้บริโภคข่าวได้   เพื่อความอยู่รอดในอนาคตต่อไป   นายจักรกฤชณ์. กล่าว

โดย...มานิตย์ สนับบุญ