ธุรกิจ “แพ-เรือ ตกปลา” ทะเลสาบสงขลาคึกคักหล่งเศรษฐกิจสำคัญภาคใต้

ธุรกิจ “แพ-เรือ ตกปลา” ทะเลสาบสงขลาคึกคักหล่งเศรษฐกิจสำคัญภาคใต้





ad1

ธุรกิจ “แพ-เรือ ตกปลา” ทะเลสาบสงขลา ตกปลา กุ้ง ท่องเที่ยว ไม่ตำกว่าวัน 200 คน / วัน แหล่งเศรษฐกิจสำคัญจาก จ.ตรัง นครฯ พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส

ชาวประมงลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  เปิดเผยว่า ธุรกิจแพตกปลา เรือตกปลา ลุ่มน้ำทะเลสาบ และทะเลสงขลา ค่อนข้างจะขยายตัวที่ดี หลังจากโควิด 19 ได้คลี่คลายลงโดยบางรายได้ลงทุนสร้างแพตกปลาประมาณ 10 ลำ และยังได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมขึ้นเพื่อไว้บริการให้เช่าเหมาลำกับผู้ตกปลา ตกกุ้ง ทอดแห พร้อมกับการท่องเที่ยวพักผ่อนทางทะเล 

แพตกปลา เรือตกปลา จะให้เช่าเหมาลำวันละ 600 บาท ขนาดจุ จำนวน 10 คน โดยผู้ตกปลา ตกกุ้ง ทอดแห และท่องเที่ยวต่างแชร์กันออกคนละ 60 บาท โดยแพตกปลา เรือตกปลา จะมีมากในเขต อ.สิงหนคร และ อ.เมือง จ.สงขลา
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ตั้งแต่ฝั่ง จ.นครศรีธรรมราช สงขลา จ.พัทลุง เป็นแหล่งสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ตอนนี้กุ้งก้ามกราม จะมีปริมาณมากโดยเฉลี่ยนักตกกุ้ง จะจับกันได้ประมาณ 4-5 กก. / วัน โดยถ้าเป็นกุ้งขนาดไซซ์รวม ราคาขายประมาณ 200 บาท / กก. เมื่อแยกคัดไซซ์ตัวขนาดใหญ่ประมาณ 400 บาท / กก.

“สำหรับผู้ตกปลา ตกกุ้ง และทอดแห จะมาจากพื้นที่ จ.สตูล สงขลา นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง และนอกจากให้เช่าตกปลา ยังมีนักท่องเที่ยวประเภทตกปลา ตกกุ้ง ท่องเที่ยวตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย ประมาณว่าจะกว่า 200 คน / วัน”

นายชาตรี กรดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและผู้ประสานงานสมาคมส่งเสริมการตกปลาเชิงอนุรักษ์จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า กลุ่มตกปลา ตกกุ้ง ได้ก่อตั้งชมรมตกปลาหัวเขื่อนสงขลา และถัดมาได้จดทะเบียนเป็นสมาคมส่งเสริมการตกปลาเชิงอนุรักษ์จังหวัดสงขลา ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์รวมแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของนักตกปลา ตกกุ้ง และได้ดำเนินการเป็นปีที่ 3 มีสมาชิกเริ่มต้นกว่า 10,000 คน และตอนนี้มีสมาชิกประมาณ 38,000 คน โดย จ.สงขลา กว่า 20,000 คน และจาก จ.นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี จ.นราธิวาส 

“แต่เดิมนั้นจะเดินทางไปตกปลา ตกกุ้ง กันย่านฝั่งทะเลอันดามัน จ.สตูล จ.ตรัง และ จ.ภูเก็ต โดยเฉพาะ จ.สตูล”

นายชาตรี กล่าวว่า ซึ่งขณะนั้นได้เริ่มขยายตัวเติบโตขึ้น แต่ปรากฏว่ามาเจอสถานการณ์โควิด 19 จึงต้องชะงักลง และตอนนี้สถานการณ์โควิด 19 เข้าสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ได้ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้ขยายผลให้เศรษฐกิจตัวอื่น ๆ ตามไปด้วย รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านค้า ร้านอาหารร้านเครื่องดื่ม และจำพวกอาหารที่จะนำไปตกปลา 

และโดยเฉพาะกิจการลงทุนแพตกปลา เรือตกปลา โดยในกลุ่มสมาคม มีแพ และเรือไว้บริการให้เช่าเหมาลำถึง 400 ลำ ทั้งเรือหัวโทง เรือกอและ เรือสปีดโบ๊ท เรือไฟเบอร์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่ได้ปรับปรุงตกแต่งเป็นเรือตกปลา ตกกุ้ง พร้อมท่องเที่ยวเชิงสันทนาการ โดยเรือมีการซื้อขายเรือกันตั้งแต่ราคาตั้งแต่ 50,000 บาท 200,000 บาท และ 300,000 บาท / ลำ โดยมีมูลค่าการลงทุนตรงนี้หลายสิบล้านบาท 

โดยแพตกปลา เรือตกปลา มีการการขึ้นทะเบียน จัดทำประวัติ ทำการอบรมการใช้แพ ใช้เรือจากทางราชการกรมประมง มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้อง


นายชาตรี กล่าวอีกว่า มีนักตกปลา ตกกุ้งท่องเที่ยวเข้ามายังลุ่มน้ำทะเลสาบและทะเลสงขลา แต่ละวันนับร้อย ๆ คน ซึ่งเปิดบริการตลอดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ไปจนถึงเดือนตุลาคม ส่วนเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม จะเป็นหน้าฝนแต่หากเกิดฝนเกิดทิ้งช่วงก็เปิดบริการลุ่มน้ำทะเลสาบและทะเลสงขลา เป็นแหล่งธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตกปลา ตกกุ้ง เป็นเศรษฐกิจสำคัญของ จ.สงขลา ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างมากต่อปี โดยบางรายในช่วงก่อนโควิด 19 จะมีรายได้ประมาณ 2,000 บาท 3,000 บาท / วัน จากการทำธุรกิจให้เช่าเรือตกปลา 

“ลุ่มน้ำทะเลสาบ และทะเลสงขลา พร้อมท่องเที่ยวทั้งตกปลา กุ้ง ปลาบึก ปลากะพง และยังมียังมีปลาหายาก ปลากุเลา ปลาอินทรีย์ ปลาโฉมงาม ฯลฯ   โดยแหล่งใหญ่รอบ ๆ ทะเลเกาะยอ หาดแก้ว สวน 2 ทะเล บ่ออิฐ นาทับ และจรดถึง เกาะหนู เกาะแมว ฯลฯ”

สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำ มีการปล่อยพันธุ์ปลา พันธุ์ปู พันธุ์กุ้ง การสร้างบ้านปลา ให้ปลาได้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ และปลูกป่าโกงกาง ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเอกชน เช่น ธนาคารปู ฯลฯ และหน่วยงานหลักกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนักวิชาการ นักวิจัย และจากภายในสมาคมท่องเที่ยวทางทะเลทะเลสาบ และทะเลสงขลา ยังได้รับความสนใจจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา  พร้อมที่จะให้การสนับสนุน” นายชาตรี กล่าว

นส.พรทิพย์ หมัดสุข เลขานุการกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำฟาร์มทะเล หมู่ 2 บ้านท่าเสา ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผย ว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้เกิดอาชีพขึ้นมาอีกหลายพื้นที่ โดยขึ้นทะเบียนกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและท่องเที่ยวชุมชนเขตอนุรักษ์ เปิดทำธุรกิจการค้า ร้านค้าขาย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ฯลฯ.

อัสวิน ภักฆวรรณ ผู้สื่อข่าวสงขลา