ปัตตานีจัดกิจกรรม หญิงไทยสุขใจห่างไกลมะเร็ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติ


ปัตตานีจัดกิจกรรม หญิงไทยสุขใจห่างไกลมะเร็ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
วันนี้(26 สิงหาคม 2565 ) ที่ห้องประชุมศรีฟาฏอนี ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีนายสมพร เนติรัฐกร ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม หญิงไทยสุขใจห่างไกลมะเร็ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมในกิจกรรม นายอนุรักษ์ สารภาพ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานีกล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ และการอบรม กิจกรรม "หญิงไทยสุขใจห่างไกลมะเร็งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ในวันนี้ นอกจากเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพหุวัฒนธรรมที่ดูแลด้านสุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการอยู่ร่วมกันของประชาชน โดยพัฒนาศักยภาพโต๊ะบีแด (หมอดำแย) ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านให้มีทักษะความรู้ และปรับบทบาทให้สอดคล้องกับการสาธารณสุขสมัยใหม่ ทำงานร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อช่วยในการดูเแลสุขภาพโดยเฉพาะสตรีอายุ 30-60 ปี ในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อลดการเกิดโรค การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน
ซึ่งจากสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด การให้ความรู้การสร้างความตระหนัก และการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แต่การจะเชิญชวนให้คนเข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากนั้น เป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดขายเดนภาคใต้
ดังนั้น นอกจาก อสม. ยังมีโต๊ะบีแด หรือหมอดำแย ที่มีความสำคัญต่อชาวชุมชนในเชิงสาธารณสุข หากบุคลากรเหล่านี้ ร่วมใจกันเป็นคนกลาง สร้างความสัมพันธ์ที่ ดีในการกระตุ้นเดือน ชักชวน แนะนำ และให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีในชุมชน เพื่อเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ณ สถานบริ การสาธารณสุขใกล้บ้าน จะทำให้หญิงไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดการเจ็บป่วย ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป