ชลประทานศรีสะเกษเสวนาปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงทดแทนนาปรัง (มีคลิป)

ชลประทานศรีสะเกษเสวนาปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงทดแทนนาปรัง (มีคลิป)





ad1

ศรีสะเกษ-ชลประทานศรีสะเกษ ประชุม เสวนาหาแนวทางปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงในเขตชลประทาน ทดแทนนาปรังให้ใช้น้ำอย่างประหยัด

จำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ

ที่ห้องประชุม สำนักงานโครงการชลประทานศรีสะเกษนายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้จัดเสวนาการปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงในเขตชลประทาน ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยนายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ เป็นประธานในการเสวนา นายนที เกิดปั้น Yong Smart fammer ผู้แทนเกษตรกรเขตชลประทาน นายไพฑูรย์ฝางคำ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ ต .ผักไหม นายเชิดชัยจิณะแสน (ประธาน ศพก ระดับประเทศ) นายนาวินป้องกัน เกษตรและสหกรณ์ศรีสะเกษ ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นพิธีกร ผู้ร่วมรับฟังการเสวนา กอร์ปด้วย ส่วนราชการของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์การเกษตร คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมทั้งสิ้นประมาณ100 คน 

เชิดชัย จิณะแสน ประธาน คพก ระดับประเทศ

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ เริ่มต้นการเสวนา ได้กล่าวถึงสถานการณ์ทั่วไปด้านแหล่งน้ำและระบบชลประทานของจังหวัดศรีสะเกษว่าจังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5.5 ล้านไร่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3.4 ล้านไร่เป็นนาข้าวประมาณ 3 ล้านไร่ แห่งน้ำทั้งจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 3,700 แห่ง ลำห้วยคลองประมาณ 6,700 กม. ในจำนวนแหล่งน้ำดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำที่ดูแลรับผิดชอบของกรมชลประทานโดยตรงประกอบด้วยเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่งอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 16 แห่งและแหล่งน้ำที่เป็นโครงการราชดำริ 58 แห่งคลองส่งน้ำและระบบส่งน้ำความยาวประมาณ 244 กม. จังหวัดศรีสะเกษมีปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ 1,445 มม/ปีปริมาณน้ำท่าประมาณ 25 พันล้าน ลบ.ม/ปี จากการประเมินน้ำปริมาณน้ำที่เก็บกลับได้ในแหล่งน้ำทั้งจังหวัดณสิ้นสุดฤดูฝนปี 2563 ประมาณ 600 ล้าน ลบ.มในจำนวนนี้เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน 347 ล้าน ลบ.ม และอีกประมาณ 253 ล้าน ลบ.ม อยู่ในความดูแลของท้องถิ่นและส่วนราชการอื่น

นาวิน ป้องกัน เกษตรและสหกรณ์ศรีสะเกษ

ด้านพื้นที่ชลประทานกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจโดยตรงในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ชลประทานในจังหวัดศรีสะเกษรวมประมาณ 400,00 ไร่ ยังอยู่ในความดูแลของกรมชลประทานประมาณ 20000 ไร่พื้นที่อีกประมาณ 20000 ไร่เป็นพื้นที่ชลประทานที่ดูแลโดยท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นพื้นที่ปลูกในเขตชลประทาน 95% เป็นนาข้าวอีก 5% เป็นพืชไร่และพืชอื่นๆและจากการติดตามข้อมูลต่างๆพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นข้าวคุณภาพทั่วไปจะมีพื้นที่ชลประทานบางส่วนที่ผลผลิตข้าวคุณภาพ ประเภทข้าวพันธุ์ได้แก่บางส่วนของพื้นที่ชลประทานห้วยตามไม้เป็นต้นและนอกจากนี้ในฤดูแล้งเกือบ 100% จะปลูกข้าวนาปรัง ในการทำนาต้องใช้น้ำมาก จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนปลูกพืชอย่างอื่นที่มูลมูลค่าสูงกว่า เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด

ไพฑูร ฝางคำ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ ค.ผักไหม

นายจำรัส สวนจันทร์ กล่าวถายหลังเสร็จสิ้นดารเสวนาว่า....วันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในการเสวนาในวันนี้ ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์เชิดชัย ซึ่งท่านเป็นวิทยากรระดับประเทศในเรื่องของการเกษตร ที่เราได้เชิญมาจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรให้ข้อมูลทั้งหมด ที่เราจะทำในลักษณะศรีสะเกษโมเดล ซึ่งมีอยู่ 3 แนวทาง คือแนวทางที่ 1 ทางชลประทานศรีสะเกษจะต้องไปหาพื้นที่เป้าหมาย ที่เรามีพื้นที่เป้าหมายไว้แล้วจากการที่เราจะเลือกการเกษตรมูลค่าสูง ว่าเขาต้องการน้ำหรือเปล่า ส่วนเกษตรมูลค่าสูงมีด้วยกัน 2 แบบ คือแบบใช้น้ำและแบบไม่ใช้น้ำ แบบใช้น้ำมีพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งเราจะเสนอแผนให้กับทางกรมชลประทานต่อไปนั้นคือแนวทางที่ 1 ส่วนแนวทางที่ 2 เราจะเอางานที่มีอยู่แล้วหรือต้นทุนน้ำที่มีอยู่แล้วที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีอยู่ประมาณ 500 กว่าแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโครงการในพระราชดำริ โครงการขนาดเล็ก โครงการขนาดใหญ่ หรือว่าการขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึง ต่างๆ ที่มีน้ำอยู่แล้ว ประมาณ 347 ล้านลูกบาศก์เมตร จะต้องนำไปเสนอขายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์ให้กับราษฎรในพื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นที เกิดปั้น Yong Smart fammer

นั้นหมายความว่า การใช้น้ำของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีต้นทุนอยู่แล้วที่ไม่ใช้ประโยชน์ที่ไหลลงสู่แม่น้ำมูลที่เป็นน้ำเหลือเอามาใช้ประโยชน์ให้สูงสุด และแนวทางที่ 3 จะเป็นในรูปแบบแพคเกจ ก็คือหาแม่งานในกระทรวงตัวเองเพื่อจะได้ของบประมาณที่เป็นลักษณะว่า มีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุน เช่น ชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือผลิตน้ำต้นทุน จากนั้นหน่วยงานเกษตรที่เกี่ยวข้องจะทำการบูรณาการร่วมกันนั้นพื้นที่นั้น ๆ ให้เกิดมูลค่าสูงสุดแล้วก็อาจจะมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม ในการขนถ่ายสินค้า กระทรวงพลังงาน หรือ กระทรวงพาณิชย์ หรือว่าธนาคารต่าง ๆ มาบูรณาการร่วมกันในพื้นที่นั้น ๆ ก็จะเกิดประโยชน์สูงกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนในพื้นที่เขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน ซึ่งนอกเขตชลประทานเรายังมีพื้นที่อีก 3 ล้านไร่ อย่าลืมว่าในจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทั้งหมด 5 ล้านกว่าไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ 3 ล้าน 4 แสนไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานเพียง 4 แสนไร่เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นอีก 3 ล้านไร่เราต้องหาเป้าหมาย หรือว่า หางานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะทำการบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎร

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน