สพป. ยะลา เขต 3 เปิดโครงการอารยเกษตรตาเนาะแมเราะ (มีคลิป)

สพป. ยะลา เขต 3 เปิดโครงการอารยเกษตรตาเนาะแมเราะ (มีคลิป)





ad1

ยะลา – สพป. ยะลา เขต 3 เปิดโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง“โครง หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”อารยเกษตรตาเนาะแมเราะ สร้างนวัตกรรม ร้อยรัดวัฒนธรรมชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.65 ที่โรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ดร.สุชาติ เอกปัชชา ผอ.สพป.ยะลาเขต3 มอบหมายให้ นางจารุนันท์ นาคุณทรง รอง ผอ.สพป.ยะลาเขต3 พร้อมด้วย ดร.ละเอียด เอี่ยมศรี นายพิพัฒน์ ขันธะแพทย์ รอง ผอสพป. เขต 3 ผอ.กลุ่ม แบะบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมโครงการตรวจเยี่ยมโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระชดำริเศรษฐกิจพอเพียง “โครง หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” อารยเกษตรตาเนาะแมเราะ สร้างนวัตกรรม ร้อยรัดวัฒนธรรมชายแดนใต้ โดยมี พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ เป็นประธาน

โดยมีพันจ่าโท อนันต์ บุญสำราญ ปลัดจังหวัดยะลา ในนามของจังหวัดยะลา ดร.วิวัมฯ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ดร.พัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา นองนายกเทศมนตรีเมืองเบตง นายกอบต.ตาเนาะแมเราะ ผู้นำชุมชน คณะผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูนักเรียน และผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

นอกจากนี้ โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” มีวัตถุประสงค์ให้เป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญและได้น้อมนำโครงการมาปฏิบัติ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถานศึกษานำร่อง ส่งผลให้สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางที่ชัดเจน สำหรับนำมาพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอน ตามหลักการ 5 เปลี่ยน และหลักการ 5 ประเมิน โดยสามารถปรับให้เข้ากับภูมิสังคมและบริบทของแต่ละท้องถิ่น อันจะนำพานักเรียนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของชุมชนต่อไป

เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา  รายงาน