คนเลี้ยงหมู “ชงเงินกู้”รัฐบาล 10,000 ล้านฟื้นฟูฟาร์มหมูพังดันราคาแพง

คนเลี้ยงหมู “ชงเงินกู้”รัฐบาล 10,000 ล้านฟื้นฟูฟาร์มหมูพังดันราคาแพง





ad1

พัทลุง-คนเลี้ยงหมู  “ชงเงินกู้” รัฐบาล 10,000 ล้านบาทดอกเบี้ยต่ำ ฟื้นฟูหมูเสียหายจากโรคระบาดหลายหมื่นล้านบาท คน “เลี้ยงหมู” พัทลุง เฮ ราคา 100 บาท / กก. ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ พอได้ฟื้นตัวหลังจากซบมา 3-4 ปี   

วันที่ 5 ธันวาคม 2565 นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้  เปิดเผยว่า วันนี้ทางกรมปศุสัตว์ กับนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจากทุกภาคทั่วประเทศ ได้ประชุมหารือร่วมกันที่กรมปศุสัตว์  ทั้งนี้จากการหารือได้หัวข้อสรุปที่สำคัญที่สุด คือผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศจะทำการขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อนำมาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรฟื้นฟูพัฒนาในการเลี้ยงสุกรใหม่ 

ภายหลังจากที่ผู้เลี้ยงสุกรได้รับความเสียหายสุกรเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทั่วประเทศจากสถานการณ์โรคระบาดเพิร์สเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท 

“ข้อเสนอนี้เพื่อนำเงินมาปรับปรุงระบบการเลี้ยง การป้องกัน ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากโรคระบาดเพิร์สจะกลับมาเลี้ยงกันใหม่ นอกจากนั้นยังมีการหารือในหลายประเด็น” 

นายปรีชา กล่าวอีกว่า ประการสำคัญต้องขอแสดงความยินดีต่อเกษตรกรเลี้ยงสุกรรายย่อย จ.พัทลุง ที่ขายสุกรมีชีวิตได้ราคาโดยเฉลี่ย 100 บาท / กก. ซึ่งราคาขยับขึ้นประมาณอาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งเป็นราคาที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ของการเลี้ยงสุกร  

แต่ว่าแม้ราคาจะขึ้นกำไรก็ยังไม่ค่อยดี เพราะว่าต้นทุนการผลิตสูงมากโดยสุกร 1 ตัว ราคาอาหารหมู 70 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาราคาลูกสุกร รองลงมาค่าวัคซีน ค่ายารักษาโรค  เฉพาะพ่นยาจะมีถึง 3 ด่าน ก่อนออกและเข้าฟาร์มสุกร 

นายปรีชา กล่าวอีกว่า สำหรับ จ.พัทลุง เป็นแหล่งเลี้ยงสุกรรายใหญ่ของภาคใต้  เป็นสุกรของเกษตรกรรายย่อยประมาณ 20,000 แม่พันธุ์จากตัวเลขเดิม  นอกนั้นจะเป็นของรายใหญ่ โดยภาพรวมทั่วภาคใต้ มีประมาณ 100,000 แม่พันธุ์ซึ่งเป็นตัวเลขเดิม 

“โดยเฉพาะ จ.พัทลุง ผู้เลี้ยงรายย่อยตอนนี้ขวัญกำลังใจดีขึ้น เป็นโอกาสลืมตาอ้าปากได้ จาก 3-4 ปีที่ประสบปัญหามาตลอดที่ราคาไม่เคยเสถียร” 

นายปรีชา กล่าวอีกว่า เมื่อมีสภาพเช่นนี้อย่าใช้วิธีควบคุมโดยนำเอาสุกรจากต่างประเทศนำเข้ามา เพราะคนเลี้ยงที่เจอโรคเพิร์สระบาดที่ผ่านมาจะกลับมาเลี้ยงกันอีกระลอกก็จะลังเลไม่กล้าตัดสินใจจะเลี้ยงหรือไม่  และเมื่อรายเก่าที่ได้รับความเสียหายมาก่อนกลับเข้ามาเลี้ยงสุกรใหม่อีก 

“ไม่นานก็จะเกิดภาวะสมดุลก็จะเกิดภาวะสมดุล ประมาณ 6 เดือน หรือ 1 ปี ราคาจะเข้าสู่ภาวะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี  ทั้งนี้แต่ถ้าไม่เกิดโรคระบาดเกิดขึ้นมาอีกระลอก”  

นายปรีชา กล่าวว่า และสำหรับเทศาลตรุษจีน ที่จะถึงเร็ว ๆ นี้  สุกรราคาประมาณว่าจะบวกขยับไม่มากถ้าสูงมาก ผู้บริโภคก็จะกระทบ”.