เปิดเอกสาร กรมปศุสัตว์ คุมโรค ASF ตั้งแต่ปี 2562  ผงะ! พบหมูมีความเสี่ยงกว่า 7แสนตัว

เปิดเอกสารกรมปศุสัตว์ ตั้งแต่ปี 62 พบหมูเสี่ยงโรคระบาดกว่า 7 แสนตัว

เปิดเอกสาร กรมปศุสัตว์ คุมโรค ASF ตั้งแต่ปี 2562  ผงะ! พบหมูมีความเสี่ยงกว่า 7แสนตัว





ad1

21 ม.ค. 2565 โรคระบาดในฟาร์มหมูที่เกิดขึ้น จนทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อหมูแพง  วิกฤตนี้ ผ่านมาเกินครึ่งเดือน แต่จนถึงตอนนี้ความชัดเจนของโรคระบาดนั้น ก็ยังคลุมเครือ พอๆกับการค้นหาว่าแท้จริงแล้ว มีหมูหายไปจากระบบเท่าไร ถ้าหากยึดคำสัมภาษณ์ น.สพ. สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  ยืนยันว่า โรคระบาด ASF ไม่ได้ระบาดมาตั้งแต่ปี 2562  แต่เพิ่งพบเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้งเป็นวาระแห่งชาติ และทำมาตรการควบคุมการระบาดเป็นอย่างดี  มีทั้งมาตรการเข้มงวดชายแดน การเก็บตัวอย่าง และเฝ้าระวังในฟาร์มมาโดยตลอด  การันตีจากรางวัลในฐานะป้องกันโรค ASF ได้อย่างยอดเยี่ยม ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมปศุสัตว์ ให้เมื่อปีปลาย 2563  เป็นหลักฐานที่ชี้ว่า ยังไม่มีการระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกัน หรือ ASF อย่างแน่นอน และขอความเป็นธรรมให้กับรัฐบาล 
.
แต่ข้อมูลนี้สวนทางกับหนังสือจากสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี ทำถึงกรรมาธิการการเกษตร ขอความช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงหมู จ.ราชบุรี 1,200 ราย ที่เผชิญกับโรค ASF ตั้งแต่ปี 2563-2564 ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้รับผลกระทบแล้ว 40%  (ไฟล์ 191581) ในเรื่องนี้ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้สอบถามไปยังคณะกรรมาธิการการเกษตร รัฐสภา  โดยอ้างอิงจากบันทึกการประชุม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่มี  รองอธิบดีกรมปศุสัตว์และ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์มาชี้แจงเรื่องโรคระบาดในหมู 
.
นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกกรรมาธิการการเกษตร  ยืนยันว่า ตนเองได้รับหนังสือร้องเรียนจากเกษตรกรว่าหมุที่ตายเกิดจากโรค ASF จึงได้สอบถามตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ว่าสรุปแล้ว หมูเป็น โรค ASF ใช่หรือไม่  
 นายคำพอง เล่าว่า  “วันนั้นกรมปศุสัตว์ ก็ อ้อมแอ้ม ว่าเป็น แต่บอกไม่ได้ เปิดเผยไม่ได้ ประกาศไม่ได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อสุกรเป็นแสนล้าน  แล้วเมื่อถามว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน  เขาบอก เขาไม่มีตัวเลข เพราะเปิดเผยผลแล็ปไม่ได้ ปะรกาสไม่ได้  การที่จะนับนำไปสู่การชดเชยเยียวยา  ทำไม่ได้ เพราจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก  แต่ได้เฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกา สามารถรักษามูลค่าายได้ปีละ 22 ซึ่งผมยังสงสัยว่าสิ่งที่คุณบอกว่าเฝ้าระวังได้ เป็นการเฝ้าระวังหรือการปกปิดโรค  ซึ่งกรมปศุสัตว์ยอมรับแบบไม่เต็มปากเต็มคำ”
.
ในวันดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้นำเอกสาร มา ชี้แจงระบุว่าหมูป่วยเป็นโรค PRRS อ้างผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นผลลบต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยมีรายการแสดงทำลายสุกรโรค PRRS ระหว่าง ปี2563-2565 ไป 108,379 ตัว มูลค่ากว่า 408ล้านบาท
.
****แต่ในหนังสือฉบับเดียวกัน ระบุว่า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรค ASF ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562- 22 มีนาคม2564 ใน 39 จังหวัด ลดความเสี่ยงในสุกรไปแล้ว 142,079 ตัว เป็นเงินกว่า 559 ล้านบาท และวันที่ 23 มีนาคม 2564- 15 ตุลาคม 2564 ดำเนินการลดความเสี่ยงหมู 159,453 ตัว ใน  56 จังหวัด มูลค่ากว่า582 ล้านบาท  ซึ่งเกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชย 
.
ส่วนปีงบประมาณ 2565 มีแผนดำเนินการลดความเสี่ยงโรค ASF  เนื่องจาก ปี 2564 พบฟาร์มสุกรที่มีระดับความเสี่ยงสูง-สูงมาก 33,333 ราย  , หมู 770,276 ตัว  ทางกรมไปดำเนินการแล้ว 9,796 ราย หมู 301,532 ตัว ยังเหลือหมู 468,744 ตัว โดยมีเป้าหมายทำลาย15 %  ต้องใช้งบเพิ่มเติมอีก 409 ล้านบาท 
.
จากรายละเอียดข้างต้น มีข้อสังเกตว่า เมื่อมีการควบคุมการระบาด ASF ทำไมในแต่ละปี จึงพบหมูและจังหวัดที่มีความเสี่ยงโรค ASF เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2564 พบหมูมีความเสี่ยงแบบก้าวกระโดด 
.
หากรวมตัวเลขตามรายงาน พบว่าหมูที่พบความเสี่ยง 1,071,808 ตัว  ถูกดำเนินการลดความเสี่ยงไปแล้ว 311,328 ตัว   ส่วนการงบประมาณที่ต้องใช้ในการลดความเสี่ยงนั้น รวมกว่า 1,550 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณในการจัดการโรค PRRS  กว่าเท่าตัว
.
ขณะที่ นักวิชาการภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร  คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์  คำนวนตัวเลขคร่าวๆจากฐานข้อมูล พบว่า ปี 2564 ปริมาณหมูที่หายไปจากระบบ กว่า 8 ล้านตัว หากคำนวนราคาหมู ตัวละ 8,000 บาท มูลค่าประมาณ 64 ล้านบาท  แต่หากดูเม็ดเงินที่เคยหมุนเวียนจากกลุ่ม เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูที่เคยขายหมูได้ หายไปจากระบบ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมงบประมาณที่อาจจะต้องนำเข้าหมู 27,000ตันต่อเดือน  นั้นคือมูลค่าที่หายไปกับโรคระบาด ขณะที่กรมปศุสัตว์ระบุว่าสามารถรักษามูลค่าการส่งออกสุกรปีละ 22,000 ล้านบาท