หอการค้าโคราชผนึกหน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูปส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กว่า 53,000ราย

ผู้เลี้ยงโคเนื้อ

หอการค้าโคราชผนึกหน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูปส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กว่า 53,000ราย





ad1

เมื่อเร็วๆนี้ นายสุดที่รัก พันธุ์สายเชื้อ รักษาการกรรมการที่ปรึกษา,นายอัฐพล สัมพันธ์วงศ์ รักษาการรองประธานฝ่ายปฏิบัติการและเศรษฐกิจ 1 และนายฐานพัทธ์ ชาติปฎิมาพงษ์ รักษาการผู้บริหารฝ่ายเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมประชุมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจังหวัดนครราชสีมา 
ณ ห้องประชุมอินทนากรวิวัฒน์ ชั้น 4 หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา 

...โดยหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาให้การต้อนรับดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย ประธานคณะกรรมการธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูป พร้อมด้วยคุณปราโมทย์ มนูพิบูลย์ ที่ปรึกษา คุณสิทธิพร บุรณนัฎ คุณณัฐกานต์ พันธ์ชัย รองประธานฯ ผศ.ดร.ฉัตรตระกูล สมบัติธีระ น.สพ.ผศ.ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง ลงพื้นที่จ.นครราชสีมา คุณกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา คุณพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา คุณมังกร บุญคำ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ และคุณเกษียร ดิฐประยูร  ผู้จัดการศูนย์ธุรกิจฯ ธกส. สาขานครราชสีมา 
.
โดยคณะได้หารือแนวทางดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยภาพรวมโคเนื้อจังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 53,982 ราย เลี้ยงโคเนื้อกว่า 5.3 แสนตัว จำนวนฟาร์ม GFM 109  ฟาร์ม GAP 6 ฟาร์ม จากสภาพปัญหาคือ จำนวนฟาร์มมาตรฐานมีน้อย เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน มีโรงเชือดมาตรฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในพื้นที่แล้ว แต่ยังไม่เปิดดำเนินการ เกษตรกรไม่มีองค์ความรู้ในการขุนโคคุณภาพสูง และยังไม่มีการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง มีตลาดโคคุณภาพสูงจำนวนมาก แต่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอ
.


✨ข้อสรุปจากที่ประชุม 1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน GFM โดยที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่าช่วยลดอัตราการติดเชื้อ และการสูญเสียจากโรคลัมปีสกิน
2. กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อลำตะคอง ได้สร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มเป็น "โคดำลำตะคอง" มีคุณอัครวัฒน์ วิริยะขจรเกียรติ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อลำตะคอง และเจ้าของ nvk farm เป็นประธานกลุ่มฯ และมีเครือข่ายวิสาหกิจอื่นอีก 6 วิสาหกิจ สมาชิกรวมกัน 205 ราย มีโครวมกัน 2,000 ตัว ตัว  กลุ่มมีการเลี้ยงโคขุนคุณภาพสูงแบบครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมไปจนถึงการแปรรูปเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ขายในร้าน NVK Beef และส่งโคมีชีวิตให้แม็คบีฟ ทุกเดือน ฯ ละ 9 ตัว ได้รับการสนับสนุนจาก ธกส. และทุกวิสาหกิจได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงโคขุนคุณภาพสูง เรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือมีวิสาหกิจอื่นอยากเข้ามาเป็นเครือข่าย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการอบรมจาก รศ.ดร.วิศิษฐิพร สุขสมบัติ ที่ปรึกษาของวิสาหกิจฯ ก่อน จึงขอให้ทางสำนักงานปศุจังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพเขียนโครงการของงบจังหวัดมาใช้ดำเนินการฝึกอบรมดังกล่าว
3. โคดำลำตะคอง มีเอกลักษณ์เฉพาะ  คือ เป็น "โคหนุ่ม เนื้อนุ่ม ชุ่มมัน"  แต่ข้อจำกัดเนื้อไทยคือความคงที่ของรสชาติ หากเลี้ยงหลายพื้นที่ ให้อาหาร หรือวิธีการเลี้ยงแตกต่างกัน จึงต้อง ส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรกรให้เข้าใจในขั้นตอนการเลี้ยงระยะต่างๆ  โดยเฉพาะการบริหารรายได้ของฟาร์ม ว่าต้องมีตัวทำกำไร ตัวเฉลี่ย และตัวขาดทุน หากจะเลี้ยงแค่ 1-2 ตัว จะเสี่ยงขาดทุนสูง
4. โคดำลำตะคอง คือโคที่มีเลือด 4 สายพันธุ์ ได้แก่เลือด angus 50%  ไทย-บราห์มัน 37.5 % และวากิว 12.5% ซึ่งพัฒนามาจากข้อจำกัดอย่างหนึ่งของวากิวโคราช คืออัตราแลกเนื้อน้อย (0.75 kg/วัน) ขณะที่แองกัสมีอัตราแลกเนื้อ (1.25 kg/วัน มากสุดที่ 1.7 kg/วัน ) เพื่อให้เติบโตดี ได้เนื้อนุ่มและมีไขมันแทรก (โคกินอาหารเฉลี่ยวันละ 70 บาท ขายโคมีชีวิต 100 บาท/กก.) โคดำลำตะคองแองกัส ใช้เวลาเลี้ยงสั้นกว่าวากิว กำไรต่อตัวกว่า 30% - 40%)  5. เรื่องแหล่งเงินทุน ธกส ขอให้คณะทำงานติดตามอย่างต่อเนื่อง ว่าจะมีโครงการใหม่ๆหรือไม่ ทั้งนี้กลุ่มโคดำลำตะคอง เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง และประธานเครือข่ายมีวิสัยทัศน์และประสบการณ์อยู่ในเงื่อนไขของธกส. อยู่แล้ว แต่ในส่วนที่จะช่วยกันผลักดันเพิ่มเติมคือเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจาก กองทุน FTA  6. ขอให้เซียนบีฟ ประสานให้เครือข่ายของสหกิจใช้ application เซียนบีฟ บันทึกข้อมูลการเลี้ยงเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้  7. กลุ่มฯ มีปัญหาเรื่องการขนส่งโคมีชีวิตไปเชือดนอกพื้นที่ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา จะร่วมกับหอหารค้าจังหวัดนครราชสีมาปศุสัตว์จังหวัดนครนราสีมา หาแนวทาง ให้สามารถเข้ามาใช้บริการจากโรงเชือดของ มทส. ต่อไป

เผยแพร่ : วิชชุดา ดวงพรหม