เงินเฟ้อ..วายร้ายเศรษฐกิจโลก!!

เศรษฐกิจโลก

เงินเฟ้อ..วายร้ายเศรษฐกิจโลก!!





ad1

 เข้าใกล้จะหมดปี 2565 กันแล้ว แต่ภาวะมรสุมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ โดยตั้งแต่ต้นปี2565 เป็นปีที่โลกของเรานั้น ประสบพบเจอเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจ ทั้งใน มหาภาค และ จุลภาค ต่างๆนาๆ แต่ขอย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นมรสุมทางเศรษฐกิจ เมื่อ เดือน ธันวาคม 2562 หรือ ปี 2019 นั้น ผู้คนต่างเพิ่งรู้จัก โควิด19 เป็นโรคใหม่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมายหลายล้านคน นอกจากวิกฤตทางด้านโรคระบาดแล้ว ก็ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น เริ่มที่ประเทศไทยก่อนตั้งแต่ วันที่ 13 มกราคม 2563 ตลาดหุ้นไทย หรือ SET index นั้น ได้ปรับตัวเป็นทิศทางขาลง ตั้งแต่ 1600 จุด จนกระทั่ง 23 มีนาคม 2563 นั้น ตลาดหุ้นไทย เราอยู่ที่ 1099.76 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลง มากกว่า 600 จุด โดยระยะเวลาเพียงแค่ 2เดือนเท่านั้น และ ได้เกิดเหตุการณ์ช็อกสุดสะเทือนต่อนักลงทุนชาวไทยเป็นจำนวนมาก คือ การเกิด circuit breaker ต่อตลาดหุ้นไทย บ้านเรา ในวันที่ 12-13มีนาคม 2563 ถึง2ครั้ง เป็นการหยุดพักการซื้อ-ขาย ชั่วคราว เป็นเวลา 30 นาที เพื่อลดความตื่นตระหนกในการเทขายหุ้น ในช่วงวิกฤตโควิด19 โดยในวันนั้นมีการปรับตัวลงของตลาดหุ้นมากกว่า -20% อีกด้วย

 นอกจากนี้สภาวะในตลาดแรงงาน รวมถึงsupply chain ทั่วโลก นั้นก็เกิดอาการ shock ขึ้นมา เพราะ ในแต่ละประเทศเกิดการ lock down ปิดประเทศ ทำให้เงินรายได้ที่มาจาก ท่องเที่ยว รวมถึง ภาคการส่งออก เกิดงบขาดทุน และ ส่งผลให้ภาคประชาชนนั้น ไม่มีกำลังซื้อ ใช้จ่าย และ บริโภคกันมาก สืบเนื่องมาจาก ตกงาน จากสภาวะโรคระบาดที่มีชื่อว่า “โควิด19” ทำให้ในแต่ละประเทศนั้นได้พยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบให้มีการจับจ่าย ใช้สอย จากภาคประชาชนให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุค ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมพ์ มีการแจกจ่ายเงินถึง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 38,400 บาท ณ ตอนนั้น ค่าเงินอยู่ที่ 30.45 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้เงินนั้นไหลเวียนอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนชาวอเมริกันนั้น ไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายในการบริโภค อย่างเช่น ไปซื้อของใช้ตามห้างสรรพสินค้า รวมถึงการจ่ายค่าน้ำ และ ค่าไฟฟ้า เพื่อให้เงินนั้นไหลหมุนเวียนให้กับภาครัฐ แต่กลับกัน ประชาชนกลับเอาเงินที่ได้จากภาครัฐบาลนั้น ไปใช้ในการลงทุนไม่ว่าจะเป็น ตลาดคริปโต ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา โดยตลาดหุ้น ดาวน์โจนส์ (Dow Jones) นั้น ได้มีการปรับตัวขึ้น จากจุดต่ำสุด 19173.98 จุด ในวันที่ 16 มีนาคม 2020 ไปเป็น 36327.96 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021 และ ดัชนี แนสแด็ก (Nasdaq) ที่เป็นการรวมหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำ ของ สหรัฐอเมริกา ก็มีการปรับตัวอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกับ ดาวน์โจนส์ ซึ่งอยู่ที่จุดต่ำสุด 6994.29 จุด ในวันที่ 16 มีนาคม 2020  และ ไปอยู่ที่จุดสูงสุด 16573.34 จุด ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2021 ซึ่งถ้าคิดเป็นอัตราการเติบโตมากกว่า 300% ด้วยกัน 

 แต่นี่คือ สัญญาณอันเล็กๆของพายุทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน กับ โลกของเรา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2022 ได้เกิดสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ทำให้นานาประเทศนั้น ร่วมกันประนามความรุนแรงต่อรัสเซีย รวมถึงบอยคอต ไม่ทำการค้ากับรัสเซีย และ รวมถึงลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย อย่างเช่น ก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมัน เป็นต้น แต่หารู้ไม่ว่าทางฝั่งยุโรปนั้นพึ่งพา ก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมันจากรัสเซียเป็นอย่างมาก  รวมถึงนโยบายของรัสเซีย จาก ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน นั้นได้ออกคำสั่ง ชะลอการส่งออกก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมันไปยังสหภาพยุโรป และ รวมถึง

อเมริกาด้วย ทำให้ดัชนีน้ำมันของ USOIL นั้นได้ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 84.763 ออนซ์ ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 120.337 ออนซ์ ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นการปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่รุนแรงที่สุด นอกเหนือจากพลังงานแล้ว ยังชะลอการส่งออก ข้าวสาลี โลหะ เป็นต้น

 จากปัญหาเศรษฐกิจในช่วงยุคโควิด19 จนกระทั่ง ปัญหาสงครามการเมืองระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เกิดการก่อตัวของพายุทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า เงินเฟ้อ แล้ว เงินเฟ้อ หรือ Recession นั้นคืออะไร เงินเฟ้อ เป็นการวัดว่าราคาของสิ้นค้า จำพวก อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และ รวมถึงการบริการต่างๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล เพิ่มขึ้นเท่าไหร่เมื่อเวลาผ่านไป ยกตัวอย่างเช่น เราซื้อข้าวผัดกระเพราในปีที่แล้วอยู่ที่ 35 บาท แต่เจ้ากรรม ปีนี้ เราซื้อข้าวกระเพราได้ที่ราคา 40 บาท นี่ละ คือ อัตราเงินเฟ้อ ต่อมาในแต่ละประเทศได้หาทาง และ วางแผนที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลง โดยการขึ้นดอกเบี้ย เริ่มที่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Federal Reserve System ที่เรารู้จักกันในชื่อ เฟด (Fed) โดยมีประธาน นาย เจอโรม พาวเวล ได้ประกาศว่า เขาจะทำทุกวิถีทาง เพื่อหยุดเงินเฟ้อให้ได้  โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเริ่มที่ 0.25% ในวันที่ 15-16 มีนาคม 2565 จนกระทั่ง ล่าสุด เฟดได้ทำการขึ้นดอกเบี้ย อีก 0.75 % ทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นขึ้นไปแตะอยู่ที่ระดับ 3 – 3.25 % สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018

 หลังจากที่ เฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง โดยเริ่มที่ สหรัฐอเมริกา กดดันให้หุ้นดัชนีดาวน์โจนส์ (Dow jones) นั้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง จาก 36327.96 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021 ลดลงจนเหลือ 28725.52 จุด ในวันที่ 26 กันยายน 2022 รวมถึง ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐ อย่าง แนสแด็ก (Nasdaq) 16573.34 จุด 

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2021 เหลือ 10692.06 จุด ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 และรวมถึงหุ้นรายตัวใหญ่ๆของอเมริกาอย่าง หุ้นเทสล่า (TSLA) รถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง ที่มีเจ้าของที่รวยที่สุดในโลก อย่าง อีลอน มักส์ หุ้นเคยทำจุดสูงสุดอยู่ที่ 407.41 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น แต่ ณ ปัจจุบัน หุ้นเทสล่า เหลือเพียงแค่ 177.59 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น แต่หุ้นที่มีการปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด คงจะไม่เป็นใครที่ไหน หุ้นชื่อดังอย่าง เฟสบุ๊ค ที่เราใช้กันพูดคุย หรือ โทรหาคนที่รู้จัก ที่มีเจ้าของ คือ มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก แล้วได้ทำการรีแบรนด์บริษัทตัวเองใหม่ ใช้ชื่อว่า Meta platforms แล้วชูแบรนด์ว่า อนาคตทุกคนจะเข้าสู่ metaverse กันทุกคน ไม่ว่าจะเป็น การประชุมงาน พูดคุยกับเพื่อน เป็นต้น แต่หารู้ไม่ว่า นี่คือ ความโชคร้ายที่ มารค์ ซักเกอร์เบริ์ก จะต้องพบเจอ หุ้น Meta เคยทำจุดสูงสุดอยู่ที่ 377.69 ดอลลาร์​สหรัฐต่อหุ้น เป็นการทำ all new high ของหุ้นตั้งแต่เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ในปี 2012  หลังจากนั้นหุ้น meta ได้ทำการปรับตัวลงจากนโยบายขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อยู่ที่ 101.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น รวมถึงหุ้นเทคโนโลยีหลายๆตัวได้ปรับตัวลงพร้อมกัน อย่างมิได้นัดหมาย เริ่มตั้งแต่ อะเมซอน (Amazon) กูเกิ้ล (Googl) และ รวมถึง หุ้นแอปเปิล (AAPL) เช่นกัน

 แต่จากที่หุ้นเทคโนโลยีดังๆได้ปรับตัวลงนั้น ก็ได้เกิดมหกรรมการเลิกจ้างงานในหลายบริษัท เริ่มต้นที่ เทล่า ได้เลิกจ้างคน 200 คน ทันที ต่อมาเป็นตาของ กูเกิล เลิกจ้างงานทันที 100 คน และในล่าสุด 9พฤศจิกายน 2565 เมต้า (Meta) ได้ทำการส่งอีเมลล์ เพื่อเลิกจ้างพนักงานถึง 11,000 คน จากการขาดทุนไตรมาส 3 ที่มาจากการลงทุน ในการพัฒนา เมต้าเวลิ์ส รวมถึงมาจากการจ้างพนักงานที่มากจนเกินไปในช่วงโควิด มาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก นั้นคิดว่า บริษัทของเขานั้น ได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นการประเมิน และ คาดการณ์ที่ผิดพลาด ของตัว มาร์ค ซักเกอร์เบริ์กเอง 

รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมาย ที่ทยอยลดการจ้างงาน และ เลิกจ้างพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และ ต้นทุนของบริษัทตัวเอง

 นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา แล้ว ตัดภาพมาที่ ประเทศจีนนั้น ก็เกิดสภาพทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างกับสหรัฐเท่าไหร่ ซึ่งมาจาก นโยบาย Zero Covid ของ ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ทำให้ดัชนีหุ้นหางเส็ง (Hang Seng index) ก็ได้ปรับตัวลงจาก 30644.74 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2021 ณ ปัจจุบัน เหลือเพียงแค่ 16081.05 จุด รวมถึง IMF นั้นได้คาดการณ์ GDP โลกเหลือเพียงแค่ 2.7% จากระดับ 3.2 % เพราะ เป็นห่วงเรื่อเงินเฟ้อที่อาจจะแตะ 8.8% ในปลายปีนี้ 

แล้วประเทศไทยบ้านของเราละ ได้รับผลกระทบยังไงบ้างกับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น เริ่มจาก ข้าวของที่แพงขึ้น และ รวมถึง บาทอ่อนค่า (ณ ล่าสุด เงินบาทอยู่ที่ 36.912บาท ลดลงจาก 38.14 บาท) ทำให้บริษัทที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศมา จะต้องจ่ายหนี้เพิ่มขึ้น อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ที่ 5.89% โดยอ้างอิงจาก ธปท. หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เกินขอบเขต 1-3% ที่ ธปท. ได้กำหนดไว้ รวมถึงก็ยังกดดันตลาดหุ้นไทยบ้านเราต่อไป

ในความคิดเห็นของผู้เขียนนั้น เงินเฟ้อนั้น น่าจะยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ อีกทั้งสงครามยูเครน-รัสเซีย ก็ยังเกิดขึ้น และ อีกทั้งเฟดก็ยังขึ้นดอกเบี้ย เพื่อกดเงินเฟ้อให้ลดลงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่า จะลดลง รวมถึงเงินเฟ้อจะลดลงได้นั้น ราคาของใช้ รวมถึงพลังงานต้องลดลง แล้วรวมถึงทิศทางสงครามยูเครน-รัสเซีย ทำท่าทีจะสงบลงแล้ว เพราะ ประธานาธิบดี ซิเลนสกี้ ของ ยูเครน 

จะเดินหน้าเจรจาอย่างสันติ กับ ทางรัสเซียแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด สงครามการค้าที่กำลังจะปะทุ ระหว่าง สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน กับ จีน รวมถึงวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน ทีอาจจะเกิดฟองสบู่แตกขึ้นในปีหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียเป็นได้ในปีหน้า

แล้วสถานการณ์เงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรในอนาคต จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก ในแต่ละประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรไม่มีใครล่วงรู้ล่วงหน้าได้ แต่ได้มีนักวิเคราะห์ และ ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจมากมายหลายที่นั้น ได้วิเคราะห์ว่า สถานการณ์เงินเฟ้อนั้นยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ ซึ่งในปีหน้านั้น เศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจในแต่ละประเทศนั้น จะเจอรับศึกหนักอย่างแน่นอน รวมถึงท่าทีของเฟดนั้น มีท่าทีว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อต่อไปจนกระทั่ง กลางปีหน้าคือเร็วที่สุด และ ช้าที่สุดคือปลายปีหน้า การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดนั้น ก็จะกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อไป เช่น หุ้น และ คริปโต ในตลาดต่อไป แล้วเงินเฟ้อนั้นจะไปจบเมื่อไหร่ ทุกคนต้องติดตามข่าวเศรษฐกิจกันต่อไป พอถึงตอนที่เงินเฟ้อจบลงแล้ว ผมจะมาเขียน EP2 ต่อ คือ เหตุการณ์ก่อนจบเงินเฟ้อในตอนต่อไป

      ที่มา :นวะวัฒน์ เจริญสุข (กาย)                                               นักเขียน และ นักลงทุนอิสระ                        เผยแพร่ :วิชชุดา ทองสุทธิ์