"ป.อาวุโส แม่สอด " เปิดงาน อนุรักษ์ประเพณีจัดงานผูกข้อมือยิ่งใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ปี 2565

"ป.อาวุโส แม่สอด " เปิดงาน อนุรักษ์ประเพณีจัดงานผูกข้อมือยิ่งใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง

"ป.อาวุโส แม่สอด " เปิดงาน อนุรักษ์ประเพณีจัดงานผูกข้อมือยิ่งใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ปี 2565





ad1

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565  นายสัญญา เพชรเศษ ปลัดอาวุโสอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  เดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดงานอนุรักษ์ประเพณีจัดงานผูกข้อมือยิ่งใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ประจำปี 2565. ที่สำนักสงฆ์รอยพุทธบาท หมู่ที่ 8 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมีนายปรีชา สอนแวว "ผู้ใหญ่หมี แม่สอด" ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวหมู่ 7.ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก และฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ   โดยพระใบฎิกา ปัญญาสุวณุโน เจ้าสำนักสงฆ์รอยพระพุทธบาท เป็นเจ้าภาพจัดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพิธีผูกข้อมือชนเผ่ากะเหรี่ยง  ซึ่งมีชาวกะเหรี่ยงที่หลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สอดและอำเภอใกล้เคียง เข้าร่วมงานนับ กว่า 2,000 คน ซึ่งแต่ละคนแต่งกายอยู่ในชุดชนเผ่ากะเหรี่ยง “ปกาเกอะญอ” 

ทั้งนี้ งานประเพณีผูกข้อมือเดือนเก้าเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ชนชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จากความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงในอดีตว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีขวัญของตนเอง การผูกข้อมือรับขวัญจึงเป็นงานประเพณีที่สำคัญที่จะจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง เพื่อเรียกขวัญลูกหลานของตนให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวซักครั้งหนึ่ง มักจัดขึ้นในช่วงเดือนเก้าโดยในงานจะมีการขอขมาลาโทษต่อผู้เฒ่าผู้แก่ และรับศีลรับพรรับขวัญจากผู้เฒ่าผู้แก่ด้วยเช่นกัน จึงได้เรียกว่า “งานผูกข้อมือเดือนเก้า” ในการผูกข้อมือมีสิ่งที่สำคัญคือ บายศรีสู่ขวัญ ประกอบด้วย ข้าวเหนียว ข้าวต้ม ขนม ผลไม้ และด้ายผูกข้อมือ

จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะมารวมกัน (มักจัดกันที่วัดในหมู่บ้าน) เด็ก เยาวชน และประชาชนในหมู่บ้านก็จะมาร่วมงานผูกข้อมือ ภายในงานจะมีการสวดมนต์ไหว้พระ รับศีลรับพรจากพระสงฆ์ การผูกข้อมือเรียกรับขวัญ การให้โอวาทต่อคนรุ่นหลัง การร้องรำทำเพลง และการละเล่นต่างๆ จากนั้นก็จะมีการรับประทานร่วมกัน เกิดการพบปะพูดคุยกัน สร้างความรักความสามัคคีในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง และ ความมุ่งหวังจากการผูกข้อมือเดือนเก้านั้นก็เพื่อสร้างนิสัยในการกตัญญูกตเวที รู้จักเคารพและรู้คุณของ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นการให้ความสำคัญของคนรุ่นเก่า สร้างนิสัยที่ดีของคนรุ่นใหม่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวและชุมชน และอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้ได้รับการปฏิบัติสืบทอดต่อไป