บช.น.ถูกสั่งให้เปิดตัวเลข 'แก๊สน้ำตา-กระสุนยาง' ที่ใช้คุมม็อบ ตั้งแต่ปี 2563 แก่สื่อมวลชน

บช.น.ถูกสั่งให้เปิดตัวเลข 'แก๊สน้ำตา-กระสุนยาง' ที่ใช้คุมม็อบ ตั้งแต่ปี 2563

บช.น.ถูกสั่งให้เปิดตัวเลข 'แก๊สน้ำตา-กระสุนยาง' ที่ใช้คุมม็อบ ตั้งแต่ปี 2563 แก่สื่อมวลชน





ad1


ข่าวนี้ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐที่ซื้อโดยเงินภาษีประชาชน และการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐว่าทำเกินกว่าเหตุหรือไม่
.
อย่างที่รู้กันว่า ตั้งแต่ปี 2563 – ปัจจุบัน มีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง ซึ่ง ‘เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ’ เป็นสิ่งที่ถูกรับรองทั้งในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ม.44 กติการะหว่างประเทศที่ไทยไปลงนาม รวมถึงอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ใช้มาหลายสิบปี
.
แต่การใช้กำลังเข้าควบคุมการชุมนุมใน กทม. ของตำรวจไทย โดยเฉพาะจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) หลายครั้งหลายคนก็ถูกวิจารณ์ว่า เกินกว่าเหตุไปหรือไม่
.
อย่างเรื่องการใช้ ‘กระสุนยาง’ ที่ปรากฎทั้งภาพถ่ายและคลิปวีดิโอหลายครั้งว่า มีผู้ไม่เกี่ยวข้องถูกยิงได้รับบาดเจ็บ กระทั่งสื่อมวลชนเองก็ตาม ทั้งๆ ที่ในคู่มือของตำรวจเองระบุว่า “..การยิงกระสุนยาง ให้ยิงต่อเป้าหมายที่กระทำการหรือมีท่าทีคุกคามต่อชีวิตบุคคลอื่น รวมทั้งต้องกำหนดเป้าหมายโดยชัดเจน ไม่ยิงโดยไม่แยกแยะหรือไม่เลือกเป้าหมาย ไม่ใช้การยิงอัตโนมัติจะต้องเล็งยิงให้กระสุนยางกระทบ #ส่วนล่างของร่างกาย ของผู้ที่เป็นเป้าหมาย..” ซึ่งส่วนทางกับตำรวจยศสูงบางคนก็อ้างว่า ให้ยิง ‘ส่วนหนา’ ของร่างกายได้ 
.
คำถามคือ เราจะเชื่อคู่มือที่เป็นเอกสาร หรือเชื่อคำพูดของคนบางคนดี?
.
ผู้สื่อข่าว นับแต่ที่ตำรวจเริ่มใช้กำลังและเครื่องมือ โดยเฉพาะกระสุนยางและแก๊สน้ำตา เข้าคุมม็อบ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีการใช้กำลังพล กระสุนยาง และแก๊สน้ำตา ไปมากน้อยเพียงใด โดยให้แยกเป็นรายเหตุการณ์ จึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ม.41(1) และ ม.59 รวมถึง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ยื่นขอข้อมูลดังกล่าว ครั้งแรกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน (สตช.) แต่ทาง สตช.บอกว่า ไม่เกี่ยวข้อง ต้องไปยื่นขอกับทาง บช.น. จึงยื่นขอกับทาง บช.น.อีกที 
.
ทาง บช.น. ปฏิเสธจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว อ้างว่าจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ เราจึงยื่นอุทธรณ์ไปตามระบบ
.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 มีข่าวดี เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย คณะที่ 3 มีคำวินิจฉัยสั่งให้ บช.น. ต้องเปิดเผยข้อมูลตัวเลขกำลังพล จำนวนกระสุนยางและแก๊สน้ำตา ที่ใช้คุมม็อบ ตั้งแต่ปี 2563 แก่ผู้ยื่นขอข้อมูล โดยระบุว่า “การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ไม่ทำให้การบังใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ ..รวมถึงจะเป็นการแสดงถึงความโปร่งใสและตำรวจสอบได้ในการปฏิบัติหน้าที่”
.
อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ทาง กวฉ.ให้เปิดเผยเป็น ‘ยอดรวม’ ทั้งตัวเลขกำลังพล และจำนวนกระสุนยางกับแก๊สน้ำตาที่เบิกมา ใช้ไป และส่งคืน โดยไม่มีการแยกรายเหตุการณ์ 
.
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ม.37 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ กวฉ. “ให้เป็นที่สุด” หากผู้เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ก็อาจมีบทลงโทษทางวินัยได้
.
เหตุผลที่เราต้องขอข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการคุมม็อบของตำรวจ ก็เนื่องมาจากทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ไป มาจากเงินภาษีของประชาชนทุกคน ไม่รวมถึงว่าคาดหวังให้การทำงานของตำรวจมีมาตรฐาน จำเป็น และได้สัดส่วน ไม่ว่าจะกับการชุมนุมในประเด็นใด เพราะอย่างที่ว่าไว้ตอนต้น ‘เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ’ เป็นสิ่งที่ถูกรับรองทั้งกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ
.
ทั้งนี้ เราจะรอหนังสือคำวินิจฉัยของ กวฉ.อย่างเป็นทางการ ก่อนจะทำเรื่องยื่นขอข้อมูลจาก บช.น.ต่อไป