รวบคอลเซนเตอร์ปลอม แค่คนเดียวหลอกไป 150 ล้านบาท

รวบคอลเซนเตอร์ปลอม แค่คนเดียวหลอกไป 150 ล้านบาท

รวบคอลเซนเตอร์ปลอม แค่คนเดียวหลอกไป 150 ล้านบาท





ad1

รวบคอลเซนเตอร์ปลอม แค่คนเดียวหลอกไป 150 ล้านบาท

รวบมิจฉาชีพหนุ่มลูกจ้างแก๊งคอลเซนเตอร์ปลอม อ้างตัวเป็นผู้กำกับ สภ.เชียงราย หลอกเงินมาแล้วมากกว่า 150 ล้านบาท รวมเคสแพทย์หญิงที่ชุมพรเมื่อช่วงต้นเดือน ที่เสียเงินสูงถึง 100 ล้านด้วย
.
วันที่ 29 ต.ค. 65 ตำรวจศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับกุมตัวนายชลวิชา หรือเบียร์ อายุ 32 ปี ชาว จ.สมุทรสาคร ได้ที่บริเวณลานจอดรถ ร้านเค้กบ้านสวน(ขาเข้าสระบุรี) ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. เวลา 18.00 น. โดยนายชลวิชาเป็นส่วนหนึงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เถื่อน ชื่อตำแหน่งที่เรียกกันคือ ‘สาย 3’ เป็นคนที่คอยแอบอ้างตัวเป็นตำรวจยศ พ.ต.อ. ผู้กำกับการ สภ.เชียงราย ที่จะคุยกับเหยื่อเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อโอนเงินเข้าไปยังบัญชีของแก๊ง
.
นายชลวิชาให้การรับสารภาพว่าในตอนแรกได้ลักลอบข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติไปทำงานเป็นแอดมินเว็บพนันที่ปอยเปต ช่วงเดือน พ.ย. 64 ก่อนที่ช่วงเดือน ก.ย. 65 ได้ย้ายไปทำงานคอลเซนเตอร์ โดยรับบทเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์สาย 2 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเชียงราย ยศร้อยตำรวจโท แต่เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่ง หัวหน้าชาวไต้หวัน ได้เห็นถึงความสามารถในการหลอกลวงจึงได้เลื่อนขั้นเป็นเจ้าหน้าที่สาย 3 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ยศพันตำรวจเอก โดยหลอกลวงผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจับกุมคดีของนายจักรพงศ์ รือเสาะ
.
สำหรับการหลอกลวง 1 ครั้ง จะมีคนของแก๊งด้วยกัน 3 คน รับบทเป็นพนักงานบริษัทขนส่ง หรือเรียกว่าเป็นสาย 1 ที่จะโทรหาเหยื่อ และอ้างว่าพัสดุที่เหยื่อส่งหรือมีการส่งในนามเหยื่อมีสิ่งผิดกฎหมาย จากนั้นจะโอนให้ สาย 2 ที่อ้างเป็นร้อยเวรเจ้าของคดี สุดท้ายจะถูกโอนอีกครั้งเพื่อคุยกับสาย 3 ที่อ้างตัวเป็นผู้กำกับ สภ.เชียงราย เพื่อปิดยอด พูดเกลี้ยกล่อมให้เหยื่อโอนเงินให้
.
นายชลวิชาเล่าอีกว่าทางหัวหน้างานจะทำสคริปต์มาให้ หากใครทำยอดได้ 1 ล้านบาทขึ้นไปจะมีการให้รางวัลเป็นการเลี้ยงหมูกระทะ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารมื้อพิเศษ เพราะในทีมงานที่ทำคอลเซนเตอร์ด้วยกัน ไม่มีใครสามารถออกไปนอกตึกที่ทำงานได้ 
.
ส่วนของนายชลวิชาตั้งแต่ทำงานคอลเซนเตอร์มาหลอกคนได้เดือนละ 7-8 ล้านบาท ยอดที่เยอะที่สุด 3 ยอดที่เคยหลอกได้คือ 1. นางอำภาข้าราชการครูเกษียณอายุ โทรไปหลอกช่วง เม.ย. 65 ได้เงินไปประมาณ 11 ล้านบาท 2. นายชาญชัย นักลงทุนหุ้น โทรไปหลอก ก.ค. 65 ได้เงินไปประมาณ 41 ล้านบาท และ 3. นางรัชนี เป็นแพทย์ที่ชุมพร ที่เป็นข่าวใหญ่เมื่อต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ได้เงินไปประมาณ 101 ล้านบาท โดยเคสสุดท้ายนี้นายชลวิชาเป็นตัวหลักในการหลอกลวง
.
แก็งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าวมีพนักงานเป็นคนไทยประมาณ 50-60 คน ช่วง 1-3 เดือนแรก จะได้เงินเดือนประมาณ 20,000 บาท แต่หลังจากนั้นจะได้ปรับเงินเดือนเพิ่มเป็น 30,000 บาท และได้ค่าคอมมิชชั่นจากการหลอกลวง 3% ซึ่งกรณีของนายชลวิชานั้นได้เงินมาทั้งหมดประมาณ 4,000,000 บาท
.
นายชลวิชาฝากเตือนประชาชนว่าหากมีสายแปลกก็ควรจะตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์จากอินเตอร์เน็ตก่อน หรือตัดสายทิ้งและบล็อกเบอร์โทรศัพท์ไปเลย ส่วนคนที่อยากจะมาทำงานแบบนี้ถึงแม้ได้เงินเยอะแต่ไม่ได้ใช้ และถูกจับกุมด้วย
.
สำหรับประชาชนที่มีเบาะแสหรือถูกหลอกลวงจากแก๊งคอลเซนเตอร์ สามารถติดต่อเพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ PCT ได้ที่ สายด่วน 1441 ตำรวจไซเบอร์ หรือ ศูนย์ ศปอส.ตร. 081-8663000 ผู้เสียหายสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.com นอกจากนี้ยังได้จัดทำรูปแบบแผนประทุษกรรมของคนร้าย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ โดยสามารถเข้าไปติดตามได้ที่ www.pctpr.police.go.th