ชาวสวนใต้เร่งฟื้นฟูสวนโกโก้รกร้างรับราคาพุ่งสวนทางยาง-ปาล์มผันผวน


โกโก้ใต้ ตั้งลานสุราษฎร์ ตรัง พัทลุง ยะลา สตูล สงขลา กระบี่ ส่ง “ชลบุรี” ตั้ง รง.ผลิตช๊อคโกเลตพร้อมเป็นฐานส่งออกประเทศจีน เกษตรกรได้อานิสงส์ดึงราคา เกษตรกรเร่งยกเครื่องฟื้นฟูสวนโกโก้ร้างรองรับ ราคาขั้นต่ำ 8 และ 12-13 บาท / กก. ยาง ปาล์ม ผันผวน จะได้โกโก้มาทดแทน
นายนัน ชูเอียด ศูนย์เรียนรู้นันทประภา จุดรับซื้อโกโก้ในกอย ต. อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จุดรับซื้อโกโก้ในกอย จะเปิดรับซื้อโกโก้ทุก 15 วัน วันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน โดยรับซื้อราคาผลสด 8 บาท / กก. ซึ่งขณะนี้ปริมาณได้จำนวนหนึ่งซึ่งยังไม่พอต่อความต้องการ แต่ถึงอย่างไรแนวโน้มในการรับซื้อจะกระเต้องขึ้นเพราะโกโก้เริ่มมีการนับหนึ่งใหม่ ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาโกโก้มีการลงทุนปลูกไว้จำนวนมากเนื่องจากมีการส่งเสริมปลูกจากหลายบริษัท แต่มาภายหลังไม่มีตลาดรองรับ ผู้ปลูกจึงปล่อยให้ทิ้งร่างไม่มีการดูแล และบางส่วนก็โค่นทิ้ง
“ส่วนที่ปล่อยทิ้งร้างที่ยังไม่โค่นทิ้งซึ่งตอนนี้เริ่มมีการฟื้นฟูบำรุงน้ำใส่ปุ๋ยปรับปรุงต้นตัดแต่งกิ่ง อีกสักระยะหนึ่งจะมีผลผลิตที่ออกมา และก็เป็นโอกาสของเกษตรกรด้วย เมื่อราคายางและปาล์มน้ำมันผันผวนก็ยังมีได้ราคาจากโกโก้เข้ามาเสริมจึงเป็นโอกาสที่ดี เพราะโกโก้จะปลูกเป็นสวนผสมร่วมกับยางพารา จะมีไม่ต่ำกว่า 100,000 ต้น ทั้ง 11 อำเภอ ของ จ.พัทลุง และยังไม่รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง”
นายนัน กล่าวอีกว่า สำหรับโกโก้ผลผลิตทุกชิ้นส่วนจะได้คุณค่าทั้งหมด โดยในจุดรับซื้อจะเอาทุกชิ้นส่วน เช่น เปลือกแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ไก่ ปลา ส่วนน้ำหมักโก้โก้ จะเป็นผลิตภัณฑ์ โดยน้ำ 1 แปรรูปเป็นน้ำดื่ม น้ำ 2 และ 3 แปรรูปเป้นไวน์โกโก้
“ผลโกโก้จะเป็นปลือกถึง 70 % เป็นน้ำเกือบ 20 % และเป็นเมล็ดที่นำไปแปรรูปเป็นสารประมาณ 10-11 %” นายนัน กล่าว และว่า
เกษตรกรที่ได้ลงทุนปลูกโกโก้มาก่อนที่ปล่อยทิ้งร้างให้ทำการปรับปรุงต้น สร้างแหล่งน้ำอ ใส่ปุ๋ยตกแต่งกิ่ง เมื่อมีผลผลิตสามารถรวบรวมเป็นเครือข่ายเพื่อได้ผลผลิตเป็นล๊อตเริ่มต้นประมาณ 300 กก. โดยทุก 15 วัน จะเข้าไปรับซื้อถึงพื้นที่” นายนัน กล่าว.
โกโก้ ทางกลุ่มบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้ลงทุนร่วมระหว่างไทย จีน จะทำการเปิดจุดรับซื้อและตั้งโรงงานหมัก ที่ อ.ปาบอน จ.พัทลุง พร้อมตั้งจุดรับซื้อในเครือข่าย จ.พัทลุง จ.สตูล และ จ.กระบี่
“จุดรับซื้อจะพร้อมกับตั้งจุดบ่มคู่ขนานกันในพื้นที่ โดยไม่ต้องขนส่งผลโกโก้สดส่งถึงโรงงานแปรรูปเป็นสารโกโก้ ยังโรงงาน จ.ชลบุรี ทั้งนี้เพื่อบริหารจัดการให้โกโก้ได้คุณภาพได้ทั้งเปลือกโกโก้ น้ำบ่มหมักโกโก้ สำหรับเปลือกจะได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ส่วนน้ำหมักโกโก้ จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ฯลฯ”
โดยจุดรับในเครือข่าย จ.พัทลุง จ.สตูล และ จ.กระบี่ ราคาโกโกสดขนาดไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม / ลูก ราคาประมาณ 8 บาท ผลขนาดเกินครึ่งกิโลกรัมประมาณ 12-13 บาท / กก.
“สำหรับโกโก้สดประมาณ 10 กก. จะได้โกโก้แห้ง 8 กรัม- 1 กก. สำหรับโกโก้แห้งราคาประมาณ 200 บาท / กก. ถ้าเป็นสารโกโก้ที่บดแล้วราคาหลักพันบาท / กก.”
สำหรับผลโกโก้ที่กำลังรวมอย่างเป็นทางการยังไม่ปรากฎว่ามีจำนวนเท่าใด เพราะที่ผ่านมา 4-5 ปีมีกลุ่มเพาะพันธุ์โกโก้ส่งเสริมการปลูกประมาณ 2-3 กลุ่มใหญ่แต่มาเมื่อโกโก้ได้ผลผลิตกลับไม่มีการตลาดรับซื้อขายเกษตรกรจึงปล่อยทิ้งร้างไม่มีการบำรุงรักษาและบางส่วนโค่นทิ้ง โกโก้เป็นการปลูกผสมร่วมพืชอื่น เช่น สวนยางและสวนผลไม้
แต่ทางกลุ่มผู้รับได้มีการตั้งจุดรับและจุดบ่มหมักได้มีการคาดการณ์แล้วจะไปได้ว่าจะมีโกโก้ในภาคใต้โดยเฉพาะตอนล่างไม่ต่ำกว่า 1 ล้านต้น จึงมีการตั้งจุดรับซื้อและจุดบ่มขึ้นที่ จ.ตรัง เป็นแห่งแรก และขณะจะตั้งจุดรับซื้อตั้งแต่ จ.พัทลุง ตรัง กระบี่ ยะลา สงขลา สตูล และ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีเทรลเลอร์เป็นศูนย์รวม 3 จุด คือ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จ.ยะลา และ จ.สุราษฎร์ธานี โดยทั้งหมดจะส่งไปยังโรงงานแปรรูปผลิตโกโก้ จ.ชลบุรี
“และภายในเดือนกันยายน 2568 จะมีการตั้งฐานผลิตช๊อกโกเลต ที่ จ.ชลบรี โดยจะตั้งฐานการแปรรูปเป็นส่งออตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน”
ทั้งนี้ โกโก้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มีนโยบายปลูกยางร่วมพืชอื่น โดยเฉพาะใน 4 จังหวัด จ.พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และ จ.สตูล โดยประมาณกว่า 1 ล้านต้น และเมื่อดูอายุโกโก้จะให้ผลผลิต
“ตลาดโกโก้มีทิศทางที่ดีเพราะ บริษัท ชิโนทัย ชิงกวาง จำกัด ได้เข้ามาตั้งบริษัทเป็นจุดรับซื้อ ที่ จ.ตรัง และอีกบริษัทจะตั้งที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ในเดือนพฤษภาคม 2568 นี้ ก็เป็นทางเลือกของเกษตรกรที่จะขาย แต่ที่ จ.ตรัง จะเน้นสร้างเครือข่ายกับกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน”
จ.พัทลุง โกโก้ที่ปลูกมาก 4 อำเภอ อ.ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ อ.ควนขนุน และรอยต่อ จ.พัทลุง ที่ อ.ชะอว จ.นครศรีธรรมราช รวมแล้วไม่ต่ำกว่าหลักแสนต้น.