ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ระดับโลกเปลี่ยนหลักสูตรกี่ครั้ง เด็กไทยก็ยังคิดไม่ได้


“ทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล เราเปลี่ยนหลักสูตรเหมือนเปลี่ยนหน้าปกหนังสือ แต่เนื้อหาในห้องเรียนยังเต็มไปด้วยการสอนแบบเดิม ๆ เด็กก็ยังคิดไม่ได้เหมือนเดิม”---นี่คือคำกล่าวของ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ อดีตกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา ที่เปรียบการศึกษาไทยเป็นกับดักวนซ้ำซาก ซ่อมภายนอกแต่ไม่เคยซ่อมแก่นกลาง
ดร.ศักดิ์สิน ระบุว่า “เรากำลังผลิตเด็กไทยให้เก่งจำ แต่ไม่เก่งคิด เก่งสอบ แต่ใช้ชีวิตไม่เป็น ส่งผลให้คะแนน PISA ยังต่ำตลอด20 ปีส่วนคะแนน O-NET ก็ยิ่งต่ำตลอด 22 ปี อย่างต่อเนื่อง นี่คือผลของระบบที่ไม่แตะกระบวนการเรียนรู้ แต่เอาเวลาไปเปลี่ยนแค่ชื่อหลักสูตร”
ท่ามกลางความล้มเหลวซ้ำซากนั้น ครูปฐมวัยจาก 12 โรงเรียนคาทอลิก ได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ผ่านการอบรมแนวคิด มอนเตสซอรี่ผสาน Active Learning กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ที่เน้นให้ครูเป็น “ผู้อำนวยการเรียนรู้” มากกว่าผู้สอนแบบเดิม ๆ
ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณาราชบุรี ให้ความเห็นว่า “เราสร้างระบบที่ให้ครูยืนพูดอยู่หน้าห้อง แล้วให้เด็กนั่งเงียบเป็นแถวยาวเหมือนโรงงาน ทั้งที่เด็กแต่ละคนมีศักยภาพต่างกัน ตามหลักการพหุปัญญา คนหนึ่งอาจเป็นนักคิด อีกคนเป็นนักประดิษฐ์ แต่เรากลับจับพวกเขามาเรียนในกรอบเดียวกัน แล้ววัดด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน นี่ไม่ใช่การเรียนรู้ แต่มันคือการผลิตซ้ำทางความคิด”
ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณาราชบุรี ย้ำว่า ห้องเรียนในวันนี้ต้องเปลี่ยนจากพื้นที่ของการสั่งสอน เป็นพื้นที่ของการค้นพบ ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพราะมือคือเครื่องมือของจิตใจผ่านประสาทสัมผัส ผ่านความสนใจเฉพาะตัว และครูต้องเปลี่ยนจาก “คนสอน” เป็น “คนเข้าใจเด็ก”
ดังนั้นการเปลี่ยนอนาคตของการศึกษาไทย ไม่ได้เริ่มที่โต๊ะนักวิชาการ หรือกระดาษ หลักสูตรแต่ต้องเริ่มจาก "การเปลี่ยนหัวใจของครู" และ "การเปิดพื้นที่ให้เด็กได้คิด ได้ลงมือ ได้ผิดพลาด และได้เติบโต"
ขณะที่บาทหลวงเดชา อาภรณ์รัตน์ หัวหน้าเขตการศึกษาที่ 6 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กล่าวขอบคุณและชื่นชม ดร.ศักดิ์สิน ประธานบริหารสถาบัน พว. ที่เป็นเจ้าของเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษาให้กับการศึกษาเครือคาทอลิก ซึ่งวันนี้ดีใจที่ได้มาวางรากฐานการศึกษาร่วมกัน เพราะถ้าหากรากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา
ดร.ศักดิ์สิน ได้เปิดมุมมองว่ารากฐานของการศึกษาต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย ก็คือจะเอากระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่ Active Learning ซึ่งโรงเรียนดารุณาราชบุรี ก็ผ่านการทำนวัตกรรม โดยอาศัยนวัตกรได้ประสบผลสำเร็จก็เลยจะเป็นการเชื่อมโยงกัน เมื่อโลกมันเปลี่ยนเราไม่ปรับการจัดการศึกษาก็อยู่ไม่รอ การศึกษาที่คาทอลิกดูแลอยู่กว่า 350 ปี เรามีนักเรียนของเรา 375 โรง ซึ่งถ้าเรานำร่อง และเป็นตัวอย่างที่ดีเดี๋ยววันหนึ่งก็จะขยายผลในสังฆมณฑลทั้งหมด และก็จะขยายในส่วนกลางของสังฆมณฑลกรุงเทพ
เพราะฉะนั้นที่เคยบอกว่าถ้าไปคนเดียวจะไปได้เร็ว แต่ถ้าไปด้วยกันเราไปได้ไกล นี่แหละคือหัวใจของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาคน ไม่ใช่เพียงความรู้ แต่ให้มีคุณธรรม เพราะว่าอันนี้คือสิ่งที่จำเป็นว่าเด็กของเราต้องเป็นคนที่มีความรู้ และคุณธรรม และไม่มีใครสอน นอกจะคาทอลิกของเราที่ได้เน้นย้ำเรื่องนี้
ต้องบอกว่าภาคพื้นฐานของการศึกษาอบรม เด็กๆ นั้นป้อนง่าย ให้การศึกษาเค้าง่าย เพราะว่าเด็กมัธยมทุกวันนี้ รวมถึงประถมปลายด้วย เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมทุกวันนี้เราประสบกับการล่อลวงเยอะ เหมือนกับว่าทุกวันนี้เราต้องมาเสียเวลากับการรณรงค์ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่เอา หลักสูตรปีที่แล้วยาเสพติดอะไรอย่างนี้มันทำให้เด็กของเราไขว้เขวเยอะ แล้วก็สมาธิของเค้าก็จะหมดไปกับการใช้สื่อเยอะ เพราะฉะนั้น เราต้องค่อยๆ สอนเด็กของเราให้มีภูมิคุ้มกันเรื่องเหล่านี้