ปลาทำเงิน “ป้าเบญ” ราชาปลากุเลาตากใบของดีเมืองนรา “คนซื้อไม่ได้กิน”

ปลาทำเงิน “ป้าเบญ” ราชาปลากุเลาตากใบของดีเมืองนรา “คนซื้อไม่ได้กิน”





Image
ad1

เชื่อว่านักชิมหลายๆคน ที่ได้ลิ้มรสปลาเค็ม “ปลากุเลา” กับข้าวต้มกุ๊ย หนึ่งเมนูที่พลาดไม่ได้ คือปลากุเลาเค็ม จากอ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่ขึ้นชื่อของแดนใต้ ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของการแปรรูปปลากุเลาที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ และปัจจุบันกุเลาตากใบ ยังเป็นถูกเลือกใช้เป็นอีกเมนูหนึ่งที่จัดเลี้ยงบุคคลสำคัญๆมาเยือนประเทศ จนทำให้เป็นปลาเค็มที่มีราคาค่อนข้างสูง 
   
เพราะว่า “ปลากุเลาตากใบ” ถือว่าเป็นของดีจังหวัดชายแดนใต้ ที่ผลิตในท้องถิ่น จนกลายเป็นปลาสายพันธุ์ท้องถิ่น ของอ.ตากใบ ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์( Gi) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อปี 2559 จนวันนี้ได้รับขนานนามว่า “ ราชาแห่งปลาเค็ม”

ด้วยความที่เป็นปลาเค็มเนื้อดี ที่มีความเป็นเอกลักษณ์พิเศษคือ เนื้อปลาเมื่อถูกนำมาหมักจากดอกเกลือ จะไม่ทำให้รสชาติเค็มจัด เนื้อปลาออกฟู ส่งกลิ่นหอมชวนชิม จนน้ำลายไหล เพราะว่าปลาที่พ่อค้าแต่ละรายที่ผลิตเป็นปลาเค็ม ถูกคัดเลือกแต่ปลาที่มีคุณภาพ ไม่ผ่านการแช่แข็งจนเสียรสชาติ และต้องมาจากแหล่งผลิตทะเลอ่าวไทย ที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาสเท่านั้น
    
หลายๆคนถามว่า ตั้งแต่ชายทะเลอ่าวไทยจากนราธิวาสทอดยาวไปถึงจ.สมุทรสาคร ในทะเลจะมีปลาทุเลาเหมือนกัน แต่ทำไมไม่อร่อยเท่า ปลากุเลามาจากแหล่งอ.ตากใบ บอกเลยว่า เรื่องแหล่งอาหารปลามาจากรากไม้ หญ้า วัชพืชที่ปลากินเข้าไปนั้นจะมีความสมบูรณ์ต่างกันแหล่งอื่นๆ

ด้วยความทะเลติดกับแม่น้ำตากใบและสุไหงโกลก ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เกิดห่วงโซ่ทางอาหาร และมีแพลงตอนจำนวนมาก เมื่อชายฝั่งมีความสมบูรณ์ แหล่งอาหารทางธรรมชาติปลากุเลามากินตามชายฝั่ง ซึ่งจะไม่มีการเลี้ยงในกะชังหรือบ่อปลา ส่วนนี้คือความต่างจากแหล่งทะเลอื่นๆ 
   
รวมทั้ง ภูมิปัญญาขบวนการทำปลาเค็มจะต่างกัน นับตั้งการขอดเกล็ด ควักไส้ การตากปลา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนานจากบรรพบุรุษตกทอดมาสู่ลูกหลานนับ 100 ปี  จนวันนี้กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นมากมาย ส่งผลมีพ่อค้า แม่ค้าหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย จนทำให้ปลากุเลาตากใบวันนี้ มักจะพูดเสียงเดียวกันว่า “คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน” เนื่องจากว่าเป็นปลาที่หลายๆคนนิยมซื้อกันเป็นของฝาก

หนึ่งในผู้ผลิตปลากุเลา เจ้าเก่าแก่แห่งเมืองนรา “พิชญา เพชรแก้ว” หลานสาวของป้าเบญที่คลุกคลี ทำปลากุเลาขายในประเทศมายาวนานร่วม 40 ปี เล่าว่า ตนเพิ่งมารับไม้ต่อจากคุณแม่แค่ 4 ปีกว่า แต่ชื่อเสียงป้าเบญ แม่ค้าขายปลาเค็มกุเลา เจ้าเก่าแก่ใครที่เคยไปเที่ยวตากใบมักรู้จักกันดี ปัจจุบันที่บ้านทำร้านสะดวกซื้อ “วี ช้อป มาร์เก็ต” แต่ครอบครัวทำธุรกิจปลากุเลาควบคู่ไปด้วย ซึ่งความต้องการตลาดปลากุเลายังมีต่อเนื่อง เพราะปลากุเลาตากใบค่อนข้างที่มีชื่อเสียง และรสชาติอร่อยต่างจากแหล่งอื่นๆ
    
“ปัจจุบันแม่ค้าเจ้าเก่าแก่ในตากใบมีหลายราย แต่บางช่วงปลาอาจไม่เพียงพอความต้องการในตลาด เนื่องจากว่าชาวประมงในท้องที่จับปลามาได้น้อย ซึ่งเขานิยมจับปลามาขายกันช่วงเดือนมกราฯถึงเดือนมีนาคม พอถึงช่วงฤดูปลาวางไข่ ในท้องถิ่นเขาจะร่วมกันอนุรักษ์ไม่ไปจับปลาในทะเลกัน” พิชญากล่าว

ความอร่อยของปลากุเลามาจากแหล่งอ.ตากใบ   ทั้งเรื่องรสชาติและเนื้อปลาแตกต่างจากแหล่งปลาจังหวัดอื่นๆ รวมทั้ง ขั้นตอนในการหมักปลา ใช้ดอกเกลือนำจากแหล่งทะเลปัตตานี จะมีรสไม่เค็มมาก เมื่อนำมาทานกับข้าว ผู้บริโภคจะมีความอร่อย เนื้อปลาหอม ชวนรับประทาน แต่ราคาค่อนข้างสูงนิด กิโลกว่าตกประมาณ 1,700 บาทต่อตัว แต่ยังมีปลาจัดแบ่งหั่นเป็นชิ้นขายในราคาหลักร้อยด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่ยากซื้อเป็นตัวกลับบ้าน สามารถเลือกซื้อรับประทานได้
   
นอกจากนี้ ยังมีการแปรรูปเป็น น้ำพริกปลากุเลาขายเป็นซองราคา 99 บาท โดยได้รับการร่วมมือวิทยาลัยชุมชนนราธิวาสมาสนับสนุนให้องค์ความรู้กับผู้ผลิตปลา เพื่อต่อยอดสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น ส่วนตลาดต่างประเทศ แถบตะวันออกกลางนิยมซื้อไปรับประทานกันบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ขายในประเทศเป็นหลัก เพราะว่าตลาดยังมีความต้องการสูง แต่ส่วนใหญ่นิยมซื้อเป็นของฝากผู้หลัก ผู้ใหญ่และญาติๆกัน