อย่าหวั่น!!!แอบมองตึกสูงระฟ้าเมืองไทย เจอแผ่นดินไหวถล่มแค่ตึกเดียว


ปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร มีตึกสร้างใหม่ ตึกเก่า และกำลังก่อสร้างมากมายร่วมหมื่นๆตึก บางตึกก่อสร้างมายาวนานจนกลายเป็นตึกเก่าอยู่คู่กรุงเทพมายาวนาน แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนๆยังเป็นห่วงว่า ตึกเหล่ามีความแข็งแรงของอาคาร ทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะถ้าได้ติดตามข่าวในต่างประเทศ บางแห่งเกิดแผ่นดินไหวกันบ่อยครั้ง เขาได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ทำไมเขามีมาตรการป้องกันให้ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เกิดความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการในตึกนั้นๆได้อย่างดี กล่าวสรุปสั้นๆ คือ จะต้องมีมาตรการป้องกันงานก่อสร้างเข็มงวด การก่อสร้างที่ทนแรงสั่นของแผ่นดินไหวให้ได้ ทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด คนเสียชีวิตน้อย และบาดเจ็บน้อย
ถ้าย้อนดูกฎหมายควบคุมการก่อสร้างตึกสูงและตึกทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จะต้องทนแรงสั่นสะเทือนได้ 7-7.5 ริกเตอร์ สมมุติว่าถ้าเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ริกเตอร์ สามารถทนแรงสั่นได้ ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้เมืองไทยเจอแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ความลึก 10 กม. ศูนย์กลางประเทศมียนมา ยังทนต่อแรงสั่นได้ปลอดภัย เกิดตึกถล่มแค่ตึกเดียว ที่ย่านจัตุจักร
ถ้าเกิดความวิบัติของอาคาร เกิดร้อยราว เกิดการเสื่อมโทรมของอาคารเก่าแก่ที่ก่อสร้างมานาน วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรงสเปคตามที่เขียนแบบไว้ในรายการประกอบแบบ หรือถูกผู้รับเหมาลดสเปกลง เพื่อให้มีผลต่อมูลค่าก่อสร้างได้ผลประโยชน์ เป็นกอบเป็นกำ ลืมหายนะที่เกิดขึ้นกับอาคาร ชีวิตเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้ทางวิศวกรผู้ควบคุมและเจ้าของงานก่อสร้าง ผู้รับเหมา และผู้เซ็นงานก่อสร้าง จะต้องมีความรับผิดชอบ
ช่วงที่ผ่านมาอาคารสูงเมืองไทย ไม่ค่อยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 7 ริกเตอร์เห็นบ่อยครั้ว เลวร้ายสุดๆแค่ 6 ริกเตอร์ แต่ข้อบังคับทางกฎหมายยังมีเรื่องการควบคุมอาคารอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับงานก่อสร้าง อย่างประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ทราบกันว่า เรื่องแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่กฎหมายค่อนข้างที่มีความเข็มงวด ถูกควบคุมสูง และความรับผิดชอบผู้เกี่ยวข้อง มีความซื่อตรง และได้ทำงานก่อสร้างถูกต้องตามระเบียบ เพื่อป้องกันภัยที่เกิดขึ้นกับอาคารและตึกสูง
ถึงแม้ว่า วันนี้ทุกคนยึดหลักทางกฎหมาย แต่การก่อสร้างอาคาร ตึกสูง เมื่อมีการลดสเปค วัสดุก่อสร้างที่เลือกใช้ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างบางคน ขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อหวังแค่ผลประโยชน์ที่ได้ อย่าแค่ 6 ริกเตอร์ตึกยังถล่มได้ ยิ่งยุคนี้คอนโด ตึกสูงเกิดขึ้นราวดอกเห็ด หน่วยงานรับผิดชอบ ต้องเอาจริง เอาจัง ตรวจสอบ กวดขันกันเข็มงวดขึ้น ประเภทต่อเติมอาคารยังมีเยอะและดัดแปลงอาคารมากมาย เพื่อหวังประโยชน์ทางธุรกิจ
ยิ่งกรุงเทพมหานครวันนี้ มีความเจริญรุ่งเรือง การเติบโตสังคมเมือง อาคารที่พักอาศัย ตึกสำนักงาน ที่ออกแบบขึ้นมาสวยงามขึ้นกันเต็มบ้าน เต็มเมือง ในย่านธุรกิจชื่อดัง แต่บางตึก เจ้าของเป็นมหาเศรษฐี ต่างมีความตั้งใจที่ก่อสร้างอาคารขึ้นมา รองรับความเจริญของสังคมเมือง
เขาเอาใจใส่ดูแล ควบคุมงานถูกต้อง ตามกฎระเบียบการก่อสร้างอาคารตั้งแต่งานออกแบบ งานวิศวกรรมก่อสร้าง งานดิน ความแข็งแรงวัสดุที่ใช้ ได้ตามสเปกในรายการออกแบบ เพื่อไม่เกิดปัญหาสร้างชื่อเสียให้กับโครงการตนเอง
บทเรียน แผ่นดินไหว เมื่อบ่ายวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา น่าจะเป็นบทสะท้อน อาคารสูงเมืองไทย ที่ขึ้นระฟ้า ทุกมุมเมือง ยังมีความแข็งแรง ตั้งโดดเด่นกลางเมืองหลวง เพราะว่าแต่ละโครงการเขามีความรับผิดชอบต่อสังคม การเลือกซื้ออาคารชุด เช่าพื้นที่สำนักงาน ห้างสรรพสินค้าก็ดี ทุกค่ายๆเขาให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างสำนักงานโยธา ที่รับผิดชอบในแต่ะเขต พร้อมพิสูจน์ความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยได้ และพร้อมที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าตรวจสอบ
ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทย พร้อมเปิดศูนย์รับคำร้องจากประชาชน เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบอาคารทุกแห่งที่มีความเสี่ยง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
อย่าลืมว่า ตึกที่พังลงมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ที่ตกเป็นข่าวใหญ่แค่ตึกเดียว และเป็นตึกที่มีหลายปัจจัยทำให้เกิดการถล่ม ต้องตรวจสอบให้ละเอียด อย่าลืมว่าประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมอาคาร ที่มีข้อกำหนดเรื่องแผ่นดินไหวอยู่แล้ว
ทุกคนร่วมแรง ร่วมใจ และตั้งสติให้ดี เชื่อมั่นเจ้าของโครงการได้ เป็นคำตอบสุดท้าย