ชง...ถึงนายกรัฐมนตรี “อ่างเก็บน้ำเขาแก้ว” อุปโภคบริโภค ป้องกันน้ำท่วมภัยแล้ง 3 อำเภอ จ.พัทลุง

ชง...ถึงนายกรัฐมนตรี “อ่างเก็บน้ำเขาแก้ว”  อุปโภคบริโภค ป้องกันน้ำท่วมภัยแล้ง  3 อำเภอ จ.พัทลุง





Image
ad1

ชง...ถึงนายกรัฐมนตรี “อ่างเก็บน้ำเขาแก้ว”  อุปโภคบริโภค ป้องกันน้ำท่วมภัยแล้ง  3 อำเภอ จ.พัทลุง ระบุ กว่า 40 มาแล้วดำริ   แต่อุปสรรคเป็นพื้นที่ฐานที่มั่นและเขตเคลื่อนไหวอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ 

ดต.เสวียง แสงขาว วุฒิอาสาธนาคารสมองสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชา (สภาพัฒนฯ)  จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ ได้เข้ายื่นหนังสือถึง ฯพณฯ นส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2568 จ.พัทลุง การประชุมนอกสถานที่เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนในวาระการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.สงขลา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 
ทั้งนี้ เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาแก้ว บ้านเขาแก้ว หมู่ 3 ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ร.9 โดยโครงการมีแนวทางขึ้นเมื่อปี พศ. 2520  ให้เป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภค  ป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.ศรีบรรพต อ.ควนขนุน และ อ.เมืองพัทลุงบางส่วน 

แต่ในสมัยนั้นพื้นที่เขาแก้ว เป็นฐานที่มั่นและเขตการเคลื่อนไหวสู้รบระหว่างการไทยกับอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)  จึงได้ชะลอโครงการ โดยทางกรมชลประทานไว้ ทางกรมชลประทานจึงได้หันไปพัฒนาและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่ อ.ป่าบอน และอ่างเก็บน้ำที่ อ.พะยอม จ.พัทลุง 

พอมาในปี 2564 ได้มีการดำเนินการโครงการต่อ แต่ปรากฏว่าได้รับการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์ ฯลฯ ให้เป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และอนุรักษ์ค่ายคอมมิวนิสต์ ไว้อนุสรณ์เป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และโบราณสถาน
“สำหรับพื้นที่เหมาะสมที่จะทำเป็นอ่างเก็บน้ำ เพราะเป็นหุบเขาลึก อ่างเก็บน้ำเขาแก้ว ก็ได้มีความพยายามผลักดันมาจนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลา 48 ปี”

ดต.เสวียง กล่าวว่า สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำเขาแก้ว เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีศักยภาพ ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม เมื่อปี 2549 และบรรจุเข้าในแผนระยะปานกลาง เมื่อปี 2561-2569  พร้อมเสนอของบประมาณเตรียมโครงการในปีงบประมาณ 2564  แต่แผนงานก่อสร้างก็ต้องชะลออีก เพราะถูกคัดค้าน

และทางกรมชลประเทาน ก็ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อน  ทางกรมชลประทาน จึงยังมีความพร้อมในการดำเนินการ โดยโครงการอ่างเก็บน้ำเขาแก้ว รูปแบบโครงการ พื้นที่รองรับน้ำลงอ่าง 4 ตารางกิโลเมตร โดยมีปริมารฝนเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 2,041 มิลิเมตร  โดยน้ำจะไหลลงอ่าง เฉลี่ยเป็นรายปี 5.51 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยความจุอ่างที่ระดับเก็บกักน้ำ  5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง

ดต.เสวียง กล่าวอีกว่า  แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปจากสภาพภูมิอากาศปริมาณน้ำฝนที่มีปริมาณมากเพิ่มขึ้นทุกปี จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรองรับกับสถานการณ์ใหม่ จึงมีแนวโน้มว่าจะต้องลงทุนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาแก้ว เป็นอ่างขนาดใหญ่ เพราะจะต้องบริหารจัดการถึง 3 อำเภอ ซึ่งอยู่หระหว่างการดำเนินการของสำนักงานชลประเทศเขต 16 กรมชลประทาน.