ผลักดัน“พัทลุงฮับเกษตรภาคใต้”ป้อนสินค้าสู่ตลาดฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน


หอการค้าไทย จับมือร่วมกับ หอการค้าจังหวัดพัทลุง ชูธง “พัทลุงฮับเกษตรภาคใต้” ทั้งอ่าวไทย อันดามัน 7-8 ตัว สินค้าเกษตรตัวหลักมูลค่าสูง ปลาดุกร้า ข่าวสังข์หยด สละ กล้วยหอม ฯลฯ นำร่อง จะขยายตัวเพิ่มเติมอีก 10 %
นายกิตติพิชญ์ กลับคุณ ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2567 คณะกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรหอการค้าไทย ฯลฯ ได้ลงพื้นที่จ.พัทลุง ในโครงการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงระดับพื้นที่ (Area-Based) ของ จ.พัทลุง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัดพัทลุง และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้ทางหอการค้าจังหวัดพัทลุง ได้นำคณะลงพื้นที่จริงยังแปลงเกษตรต้นแบบ ณ สวนสะละลุงถัน อ.ป่าบอน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการโดย Young Smart Farmer ตามหลักการ BCG Model และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกกล้วยหอมและผลไม้ปลอดภัยอำเภอบางแก้ว ซึ่งเป็นต้นแบบที่เกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้แทนยางพารา มีการบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง ยึดหลักตลาดนำการผลิตสินค้าเกษตร 7-8 ตัวหลัก เช่น สวนสะละลุงถัน อ.ป่าบอน และสวนกล้วยหอมทอง อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ฯลฯ ล้วนต่างสร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูงเข้า จ.พัทลุง และประเทศ
ด้านนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานต้อนรับและเปิดการประชุมหารือเพื่อแนวทางในการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงในพื้นที่ จ.พัทลุง ร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการ เครือข่ายภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่ วิบูลย์พันธุ์ออแกนิคฟาร์ม
นายกิตติพิชญ์ กล่าวอีกว่า จ.พัทลุง ทางด้านส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงมีความพร้อมและศักยภาพทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง มีสินค้าเกษตร 7 ตัวหลัก ซึ่งที่มีความหลากหลายและคุณภาพและมาตรฐาน และสินค้าเกษตร Product Champion ข้าวสังข์หยด กล้วยหอม สละ โคเนื้อ สุกรชีวภาพ กุ้งสามน้ำ ปลาดุกร้า กระจูด เป็นต้น
“สินค้าการเกษตรที่จะสามารถกระจายสินค้าไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จึงได้ตั้งเป้าหมายผลักดันให้ จ.พัทลุง เป็น Hub สินค้าเกษตรภาคใต้ จ.พัทลุง จะเป็นเซ็นต์เตอร์กระจายสินค้าไปยังภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน”
นายกิตติพิชญ์ กล่าวอีกว่า แต่เกษตรกรในจังหวัดพัทลุง ยังประสบปัญหา คือส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกษตรรายย่อย ขาดความรู้ในการบริหารจัดการเชิงธุรกิจ ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรสินค้าเกษตร และปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร และต้นทุนการขนส่งและ Logistic
นายกิตติพิชญ์ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไป คือมีเห็นชอบตั้งคณะทำงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยให้มีหน้าที่ขับเคลื่อน 1. ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้า Product Champion 2. ส่งเสริมและยกระดับเทคโนโลยีการเกษตร การแปรรูป และนวัตกรรม 3. ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยเน้นการรักษาธรรมชาติและความยั่งยืน 4. ส่งเสริมการปลูกพืชผัก พืชสวนแบบผสมผสาน การปลูกกล้วยหอม โดยการปรับเปลี่ยนการปลูกควบคู่กับยางพารา ระหว่างรอยางพาราถึงเวลาการเก็บจำหน่าย และ 5. ผลักดัน Food Valley จ.พัทลุง
“นอกจากจากสินค้าหลัก 7-8 ตัว ของ จ.พัทลุง ไปก่อนแล้วยังมีการขยายตัวไปยังสินค้าเกษตรตัวอื่น ๆ อีกประมาณ 10 % ทั้งนี้ทางหอการค้าไทย จะลงพื้นที่มาทำการประเมินอีกครั้ง ทั้งนี้สินค้าเกษตร ต่างเป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น” นายกิตติพิชญ์ กล่าว และว่า
สำหรับภาคการเกษตร จ.พัทลุง ข้อมูลของสำนักเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 เป็นข้อมูลปี 2565 มีรายได้ประมาณ 14,597 ล้านบาท ภาคปศุสัตว์ มีสุกรกว่า 9,000 ล้านบาท ไก่เนื้อกว่า 5,000 ล้านบาท ไก่ไข่ กว่า 1,000 ล้านบาท ภาคประมง ปลากะพงขาว ประมาณ 150 ล้านบาท กุ้งขาวประมาณ 135 ล้านบาท ภาคพืช ยางกว่า 9,000 ล้านบาท ปาล์มน้ำมันกว่า 1,500 ล้านบาท ข้าวกว่า 500 ล้านบาท ทุเรียนประมาณ 349 สละ ประมาณ 218 ล้านบาท ซึ่งภาคเกษตรจะขยายตัวประมาณ กว่า 4 % / ปี.