รพ. พญาไท 1 ยกระดับ Excellence Neuroscience Center ตอกย้ำการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท แห่งอนาคตครอบคลุมทุกมิติ

รพ. พญาไท 1 ยกระดับ Excellence Neuroscience Center ตอกย้ำการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท แห่งอนาคตครอบคลุมทุกมิติ





ad1

เมื่อวันที 20 มิถุนายน 2567 โรงพยาบาลพญาไท 1 ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ชูศักยภาพ ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท (Excellence Neuroscience Center) ที่มาพร้อมทีมแพทย์และนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยครอบคลุมทุกมิติการรักษา

นพ. อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวว่า “จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบว่า ผู้ป่วยที่เป็น ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ในประเทศไทยสูงถึง 349,126 ราย และยังพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกกว่า 30% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอยู่ที่ 2.5% นอกจากนี้ ยังมีโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เนื้องอกในสมอง โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน เป็นต้น โรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูงในการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะทุกวินาที คือ ‘วินาทีชีวิต’ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลต่อชีวิตได้”

“โรงพยาบาลพญาไท 1 เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับการบริการและการป้องกันโรคทางสมองและระบบประสาท รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงโรค เพื่อรับมือกับผู้ป่วยด้วยโรคทางสมองและระบบประสาท พร้อมเสริมศักยภาพการดูแลผู้ป่วยให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้นตามคาดหวัง โดยคำนึงถึง 'Value - Based Healthcare' คุณค่าการรักษาที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ในระดับมาตรฐานสากล” นพ. อภิรักษ์ กล่าวเพิ่มเติม

นพ. อภิรักษ์ อธิบายต่อว่า “ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท (Excellence Neuroscience Center) เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท 1 แพทย์ชำนาญการของเราสามารถรักษาผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาทที่มีอาการซับซ้อนรวมถึงภาวะวิกฤต ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งของทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

พญ. นภาศรี ชัยสินอนันตกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมอง และระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวเสริมว่า “ระบบประสาทเป็นระบบที่ซับซ้อน ความผิดปกติของระบบประสาท และข้อบกพร่องของโครงสร้าง ถือเป็นภัยเงียบที่นำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงลงได้ หากได้รับการประเมินและรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงทีและถูกต้องโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง” 4 มิติหลักการรักษาโรคด้านสมองและระบบประสาท ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย

พญ. นภาศรี อธิบายเพิ่มเติมว่า Excellence Neuroscience Center ของโรงพยาบาลพญาไท 1 มีความพร้อมด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญขั้นสูงในการดูแลรักษาสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีระบบไร้รอยต่อ ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในทุกภาวะวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง และเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ศูนย์ Excellence Neuroscience Center ให้บริการดูแลรักษาโรคด้านสมองและระบบประสาทครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่

⦁ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) – การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่าเป็นภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต ด้วยการทำอัลตราซาวน์หลอดเลือดคอ (CDUS – Carotid Doppler Ultrasound) เพื่อตรวจหาภาวการณ์อุดตันของหลอดเลือดบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมอง

⦁ พาร์กินสัน - โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ทำให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว ให้การรักษาด้วยยาและเทคโนโลยีการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก 
(Deep Brain Stimulation: DBS)

⦁ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ – สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วย PET scan (ตรวจระดับโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในน้ำไขสันหลัง) 

⦁ เทคโนโลยีรังสีร่วมรักษาสมองและระบบประสาท ( Interventional Neuroradiology ) – เป็นการตรวจ และรักษาโรคทางสมอง และประสาทไขสันหลังด้วยเครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ Biplane Digital Subtraction Angiography ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับตรวจรักษาทางการแพทย์ สามารถสร้างภาพ 3 มิติของหลอดเลือดและแผนที่หลอดเลือด ช่วยให้รักษาได้อย่างตรงจุด แม่นยำ ซอฟต์แวร์นี้ช่วยเปรียบเทียบการไหลเวียนของเลือดในสมองก่อนและหลังการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดตีบ เช่น หลอดเลือดสมองหรือหัวใจตีบ แพทย์สามารถใส่สายสวนเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด และถ้าจำเป็นสามารถใส่สเต็นท์เพื่อป้องกันการตีบซ้ำได้ ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นไม่กี่วันก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติได้มากขึ้นฃ