รพ.ศรีสะเกษ คิกออฟ โครงการแคร์ ดีพลัส ทีม นโยบายเร่งด่วน

รพ.ศรีสะเกษ คิกออฟ โครงการแคร์ ดีพลัส ทีม นโยบายเร่งด่วน





ad1

ศรีสะเกษ - รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ kick off one provider one patient โครงการแคร์ ดีพลัส ทีม นโยบายเร่งด่วน(Quick Win)

เมื่อเร็วๆนี้  ณ อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 1 โรงพยาบาลศรีสะเกษ นพ.นพพล บัวสี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ  เป็นประธาน kick off one provider one patient โครงการแคร์ ดีพลัส ทีม นโยบายเร่งด่วน(Quick Win) โดยมี ร.ต.ท.หญิงกัลยาณี วรรณภาสนี รอง ผอ.ด้านกิจกรรมพิเศษ คณะนายแพทย์ พยาบาล และประชาชนร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

 นพ.นพพล บัวสี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ในโอกาสนี้ นพ.นพพล บัวสี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ  ได้มอบเสื้อ เข็ม สมุด Care D+ ให้แก่รอง ผอ.ด้านกิจกรรมพิเศษ คณะนายแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการอบรมโครงการ Care D+ รุ่นที่1  ด้วย

ร.ต.ท.หญิงกัลยาณี วรรณภาสณี รอง.ผอ.ด้านกิจการพิเศษ

นพ.นพพล บัวสี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ  กล่าวว่า นโยบายกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีโครงการแคร์ ดีพลัส ทีม เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) ที่ สธ.ได้เสนอต่อรัฐบาลว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายใน 100 วัน ฉะนั้น การที่ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล (รพ.) ตรวจรักษา ได้ยา และได้กลับบ้าน แต่สิ่งที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้นคือ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ที่มีความเปราะบางทางอารมณ์ วิตกกังวล หวาดกลัว กลัวท้อแท้และสิ้นหวัง ซึ่งหากบุคคลเหล่านั้นได้รับการสื่อสารและเอาใจใส่ที่ดี หรือมีวิธีการขั้นตอนต่างๆ ที่สร้างความเห็นอกเห็นใจ ก็จะทำให้เขามีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่า คนที่จะดูแลรักษาเขา ช่วยเอาใจใส่ดูแลเขาได้ 

อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่าความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ ทำให้เกิดการฟ้องร้องกว่าร้อยละ 90 ผู้ให้การบริการเองก็เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง หลายคนออกจากระบบราชการเพราะอยู่ไม่ได้ ดังนั้น จะต้องเสริมสร้างและแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เพื่อให้คนทำงานยังอยู่ในระบบได้ แคร์ ดีพลัส ทีม เป็น 1 ใน 13 นโยบาย ที่ สธ. จะต้องทำ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่บุคลากรในเชิงโครงสร้างและระบบ เช่น การลดความแออัด การจัดบริการที่ดี การใช้บัตรประชาชนใบเดียวที่จะเริ่มนำร่องในวันที่ 1 มกราคม 2567 ใน 4 จังหวัดนำร่อง

 ส่วนวันที่ 2 เมษายน 2567 จะขยายการนำร่องเป็น 4 เขตสุขภาพ ทั้งนี้ สธ.จะทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ ป้องกันแก้ไขภัยร้ายต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างเต็มความสามารถ เชื่อว่าวิชาชีพนี้มีจิตใจที่บริสุทธิ์มาก เห็นเพื่อนมนุษย์ที่ลำบากตกทุกข์ได้ยากก็ทุ่มเทเสียสละช่วยเหลือ “นี่คือพื้นฐานจิตใจของพวกเราที่ดีอยู่แล้ว แคร์ ดีพลัส ทีม เปรียบเสมือนญาติเฉพาะกิจ มิตรถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ ตรงนี้เป็นภาพที่พวกเราสร้างขึ้นให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจว่ามี ซึ่งเมื่อมีแล้วก็จะเกิดความคาดหวัง ดังนั้นเราต้องดำเนินการตรงนี้ โดยจะมีตัวแทนเสมือนทีมต่างหน้า โดยเฉพาะห้องฉุกเฉินคอยดูตลอดเวลา จึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะไม่มีปัญหาเลย”  

เสนาะ วรรักษ์./รายงาน